ปุยฝ้าย (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปุยฝ้าย
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป
ช่วงปีพ.ศ. 2526 - 2530
ค่ายเพลงเมโทร, อาร์เอส ซาวด์
สมาชิกอัจฉรพรรณี หาญณรงค์ (โอ)
จุฑามาศ อิสสรานุกฤต (บุ๋ม)
อาริดา ปัจฉิมาภิรมย์ (แป๊ก)

ปุยฝ้าย เป็นวงดนตรีหญิงล้วนวงแรกของค่ายเพลง อาร์เอส ซาวด์ ประกอบไปด้วยสมาชิก 3 คนคือ โอ อัจฉรพรรณี หาญณรงค์, บุ๋ม จุฑามาศ อิสสรานุกฤต และ แป๊ก อาริดา ปัจฉิมาภิรมย์

ประวัติ[แก้]

วงปุยฝ้ายเกิดจากการรวมตัวกันของเด็กนักเรียนมัธยมหญิง 3 คนของ โรงเรียนสตรีวิทยา เพื่อเข้าร่วมการประกวดวงดนตรีโฟล์คซองสมัครเล่นในงานประกวดของ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ในขณะนั้นใช้ชื่อวงว่า "นกฮู" และประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คนต่อมาค่ายเมโทรแผ่นเสียงและเทปค่ายเพลงในสมัยนั้นได้ตัดสินใจทำเพลงให้กับ 5 สาวในชื่ออัลบั้มว่า นกฮู จนกระทั่งทั้ง 5 คนเรียนจบระดับมัธยมและเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยค่ายเมโทรแผ่นเสียงและเทปจึงเรียกตัวทั้ง 5 คนให้กลับมาทำเพลงกับทางค่ายแต่สมาชิกของวง 2 คนไม่ได้กลับมาร่วมทำงานเพลงจึงเหลือสมาชิกเพียง 3 คนคือ โอ , บุ๋ม และแป๊กพร้อมกับได้มีการเปลี่ยนชื่อวงมาเป็นปุยฝ้ายและออกอัลบั้มแรกคืออัลบั้ม "สองหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2527 จากนั้นไม่นานวงปุยฝ้ายได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ตามออกมาในชื่อชุดว่า พรหมลิขิต

ในปีเดียวกันค่ายเมโทรแผ่นเสียงและเทปได้รับการติดต่อจากค่าย อาร์เอส ซาวด์ หรือค่าย อาร์เอส ในปัจจุบันเพื่อขอยืมตัววงปุยฝ้ายให้เข้าร่วมโปรเจ็กต์ รวมดาว เพราะในขณะนั้นอาร์เอส ซาวด์ยังไม่มีนักร้องหญิงในสังกัดโดยอัลบั้มชุดนี้พวกเธอต้องร้องเพลงคู่กับนักร้องชายชื่อดังของทางอาร์เอส ซาวด์ เช่น แซม ประวิตร เปรื่องอักษร จากวงซิกเซนส์, ชมพู สุทธิพงษ์ วัฒนจัง จากวง ฟรุตตี้, อ๊อด โอภาส ทศพร จากวง บรั่นดี , อ๊อด รณชัย ถมยาปริวัฒน์ จากวง คีรีบูน เป็นต้นซึ่งผลตอบรับจากอัลบั้มชุดนี้ดีเกินคาดทำให้พวกเธอได้ย้ายมาเซ็นสัญญาและออกอัลบั้มกับทางอาร์เอส ซาวด์แทนโดยอัลบั้มแรกของพวกเธอกับอาร์เอส ซาวด์ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2528 ใช้ชื่อว่า "สายธารรัก" ในอัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเพลงจากวงนกฮูมาร้องและทำดนตรีใหม่ซึ่งประสบความสำเร็จพอประมาณ

หลังจากนั้น โอ อัจฉรพรรณี หนึ่งในสมาชิกต้องไปเป็นครูฝึกสอนเนื่องจากเธอเรียนที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้ในอัลบั้มชุดที่ 2 ของวงปุยฝ้าย คืออัลบั้ม "สองเรา" ซึ่งออกวางแผงในปี พ.ศ. 2529 จึงเหลือสมาชิกเพียง 2 คนคือบุ๋มและแป๊กโดยอัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จพอประมาณอีกเช่นเคยต่อมาหลังจากโอเรียนจบจึงได้กลับเข้าร่วมวงอีกครั้งจึงได้มีการทำอัลบั้มชุดที่ 3 ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงโดยอัลบั้มชุดนี้ได้ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2530 ใช้ชื่อว่า "เก็บรัก...มาฝากฝัน" ซึ่งประสบความสำเร็จพอประมาณอีกเช่นกัน หลังจากนั้นปุยฝ้ายก็แยกวง ในที่สุดมีเพียงโอและบุ๋มเท่านั้นที่ทำงานเพลงกับต้นสังกัด ส่วนแป๊กไม่ได้ทำงานเพลงต่อ เหมือนเพื่อนร่วมวง

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้มเพลง วง นกฮู (พ.ศ. 2526)

  1. ดวงใจที่ไร้พ่อ
  2. นกนางนวล
  3. ต่อแต่นี้
  4. ยังคอย
  5. จริงใจ
  6. ดาวประจำทาง
  7. รุ่นน้อง
  8. ตบแผละ
  9. ทัวร์สุดหล่อ (ภายหลัง ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ในชุด "สายธารรัก" ก็ได้ใช้ชื่อเพลง "ทัวร์ฉิ่งฉับ)
  10. นกฮู
  11. สัตว์สาวผู้น่ารัก
  12. ดอกไม้กับเกสร

สองหัวใจ (พ.ศ. 2527) ค่ายเมโทร

  1. สองหัวใจ
  2. คำขานวันรัก
  3. ฝัน
  4. รักร้างกลางเหมันต์
  5. รักเธอ ดิ๊บ ดิ๊บ ดิ๊บ
  6. รอรัก-รอเธอ
  7. ผู้ชายมักเป็นเช่นนี้
  8. ความรัก-ความหลัง
  9. บันทึกดวงใจ
  10. คงมีสักวัน
  11. สุดแสนช้ำ
  12. จำจาก

พรหมลิขิต (พ.ศ. 2527) ค่ายเมโทร

  1. พรหมลิขิต
  2. สายเกินไป
  3. อย่ารักฉันเลย
  4. รักรวนเร
  5. สมิหราอาลัย
  6. รักฟุ่มเฟือย
  7. ด้วยใจรัก
  8. ขอแค่เศษรัก
  9. ภาพฝัน
  10. อยู่อย่างผู้ชนะ
  11. หลีกไม่พ้น
  12. รักนั้นมีกันทุกคน

สายธารรัก (พ.ศ. 2528) ค่ายอาร์เอส

  1. เอไมเนอร์เพ้อรัก
  2. สายธารรัก
  3. รอวัน...พบเธอ
  4. อาญาช้ำ
  5. ใจไม่จำ
  6. รักก็บอก
  7. ตบแผละ
  8. ทัวร์ฉิ่งฉับ
  9. ดวงใจที่ไร้พ่อ
  10. ความหลัง
  11. หัวใจทราย
  12. วัยรัก
  13. รักป่า

สองเรา (พ.ศ. 2529) ค่ายอาร์เอส

  1. สองเรา
  2. เพียงพบเธอ
  3. ฝากรัก
  4. เคยไหม
  5. สายนที
  6. ภาพแห่งความหลัง
  7. สักวันหนึ่ง
  8. ยิ้มเก้อ
  9. บางที
  10. เก็บฝัน
  11. กลัวรัก
  12. เช้าวันใหม่

เก็บรัก...มาฝากฝัน (พ.ศ. 2530) ค่ายอาร์เอส

  1. ไม่รู้จะเอ่ยถ้อยความใด
  2. รู้ก็รัก
  3. ซึ้งค่ารัก
  4. รู้สึกแปลก...แปลก
  5. เพียงมีเธอ
  6. นั่นแหละรัก
  7. ลืมสัญญา
  8. ขอถามอีกที
  9. ครั้งหนึ่งเคยรัก
  10. แก้วกลางดง
  11. รักคืออะไร
  12. แอบฝัน

อัลบั้มรวมศิลปิน[แก้]

รวมดาว (พ.ศ. 2527) รวมดาว 2 (พ.ศ. 2528) นพเก้า (พ.ศ. 2528) นพเก้า 2 (พ.ศ. 2529) นพเก้า 3 (พ.ศ. 2530) มรดกไทย (พ.ศ. 2530)

ผลงานหลังจากแยกวง[แก้]

เพลงประกอบละคร แผลเก่า (อ๊อด & โอ) (พ.ศ. 2530) อ๊อด รณชัย & โอ อัจฉรพรรณี รักหวาน...หวาน (พ.ศ. 2531) บุ๋ม จุฑามาศ กับ...วันที่มาถึง (พ.ศ. 2531)

  1. รอสัญญา
  2. ใจดวงเดียว
  3. รักจริงไม่เจอ
  4. อย่าหวั่นใจ
  5. กว่าจะรัก
  6. ละครเศร้า
  7. บอกตรงตรง
  8. คนเดียวกัน
  9. ยังคอย
  10. จำได้ไหม