เพเทอร์ กรืนแบร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปีเตอร์ กรุนแบร์ก)
เพเทอร์ กรืนแบร์ค
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2482
เปิลเซ็ญ รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย (ปัจจุบันคือเช็กเกีย)
เสียชีวิต7 เมษายน พ.ศ. 2561 (78 ปี)
ยือลิช เยอรมนี
สัญชาติธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคนิคดาร์มชตัท
มีชื่อเสียงจากปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ (giant magnetoresistive effect)
รางวัล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (2550)

รางวัลญี่ปุ่น ปี 2550
รางวัลวุล์ฟสาขาฟิสิกส์ 2549/2550
รางวัลระหว่างประเทศสำหรับวัสดุใหม่ ของสมาคมฟิสิกส์อเมริกัน
รางวัลสภาพแม่เหล็ก จากสหภาพฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ระหว่างประเทศ
รางวัลอนาคตเยอรมัน ปี 2541 สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรม

รางวัลฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขานักฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน
ศูนย์วิจัยยือลิช
มหาวิทยาลัยโคโลญ
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกชเต็ฟฟัน ฮึฟเนอร์

เพเทอร์ อันเดรอัส กรืนแบร์ค (เยอรมัน: Peter Andreas Grünberg) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ซึ่งเป็นที่มาของการทะลวงฝ่าอุปสรรคในการสร้างฮาร์ดดิสก์ความจุระดับจิกะไบต์ [1]

กรืนแบร์คได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับอาลแบร์ แฟร์ นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ของพวกเขา

ชีวิตในช่วงต้นและครอบครัว[แก้]

กรืนแบร์คเกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ที่เมืองเปิลเซ็ญ (ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเช็กเกีย) เป็นบุตรของวิศวกร หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาได้ย้ายไปยังเมืองเลาเทอร์บัคในรัฐเฮ็สเซิน และเพเทอร์ก็ได้เข้ารับการศึกษาในยิมเนเซียมในเมืองนั้น

กรืนแบร์คได้รับประกาศนียบัตรระดับกลางใน พ.ศ. 2505 จากมหาวิทยาลัยเกอเทอแห่งแฟรงก์เฟิร์ต จากนั้นเขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเทคนิคดาร์มชตัทในเยอรมนี ที๋ซึ่งเขาได้รับประกาศนียบัตรทางฟิสิกส์ ใน พ.ศ. 2509 และปริญญาดุษฎีบัณฑิตใน พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นเขาได้เข้าทำงานที่สถาบันสำหรับฟิสิกส์สถานะของแข็งที่ศูนย์วิจัยยือลิช ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้เขาได้เป็นผู้วิจัยนำในสาขาสภาพแม่เหล็กจนกระทั่งเกษียณใน พ.ศ. 2547

งานวิจัยที่สำคัญ[แก้]

ใน พ.ศ. 2529 เขาได้ค้นพบชั้นแม่เหล็กอย่างแรง (ferromagnetic layers) ที่มีการเข้าคู่แลกเปลี่ยน (exchange coupling) ของสภาพต่อต้านเชิงขนาน (antiparallel) และใน พ.ศ. 2531 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ (giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ในชั้นแม่เหล็กหลายชั้นที่เข้าคู่กันในลักษณะนั้น [2] ปรากฏการณ์นี้ได้ถูกค้นพบขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยอาลแบร์ แฟร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส-ซูด (Université de Paris Sud) งานของกรืนแบร์คทำให้เขาได้รับรางวัลร่วมหลายรางวัล ได้แก่ รางวัลระหว่างประเทศสำหรับวัสดุใหม่ของสมาคมฟิสิกส์อเมริกัน, รางวัลสภาพแม่เหล็กจากสหภาพฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ระหว่างประเทศ, รางวัลฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์, รางวัลวุล์ฟ สาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2549/2550 และรางวัลญี่ปุ่น พ.ศ. 2550 ก่อนจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปีเดียวกัน นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติของเยอรมนี คือ รางวัลอนาคตเยอรมัน พ.ศ. 2541 สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกด้วย

ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์[แก้]

  • สิทธิบัตร หมายเลข 3820475 (เยอรมนี) "Magnetfeldsensor mit ferromagnetischer, dünner Schicht" filed on 16.06.1988
  • สิทธิบัตร หมายเลข 4949039 (สหรัฐ) "Magnetic field sensor with ferromagnetic thin layers having magnetically antiparallel polarized components"
  • Grünberg, Peter, Y. Suzuki, T. Katayama, K. Takanashi, R. Schreiber, K. Tanaka. 1997. "The magneto-optical effect of Cr(001) wedged ultrathin films grown on Fe(001)". JMMM . 165, 134.
  • P. Grünberg, J.A. Wolf, R.Schäfer. 1996. "Long Range Exchange Interactions in Epitaxial Layered Magnetic Structures". Physica B 221, 357.
  • M. Schäfer, Q. Leng, R. Schreiber, K. Takanashi, P. Grünberg, W. Zinn. 1995. "Experiments on Interlayer Exchange Coupling" (invited at 5th NEC Symp., Karuizawa, Japan). J. of Mat. Sci. and Eng. . B31, 17.
  • A. Fert, P. Grünberg, A. Barthelemy, F. Petroff, W. Zinn (invited at ICM in Warsaw, 1994). 1995. "Layered magnetic structures: interlayer exchange coupling and giant magnetoresistance". JMMM. 140-144, 1.
  • P. Grünberg, A. Fuß, Q. Leng, R. Schreiber, J.A. Wolf. 1993. "Interlayer Coupling and its Relation to Growth and Structure". Proc. of NATO workshop on "Magnetism and Structure in Systems of Reduced Dimension", ed. by R.F.C. Farrow et al., NATO ASI Series B: Physics Vol. 309, p. 87, Plenum Press, N.Y. 1993.
  • A. Fuß, S. Demokritov, P. Grünberg, W. Zinn. 1992. "Short- and long period oscillations in the exchange coupling of Fe across epitaxially grown Al- and Au-interlayers". JMMM. 103, L211.
  • G. Binasch, P. Grünberg, F. Saurenbach, W. Zinn. 1989. "Enhanced magnetoresistance in Fe-Cr layered structures with antiferromagnetic interlayer exchange". Physical Review B39. 4282.
  • P. Grünberg, R. Schreiber, Y. Pang, M.B. Brodsky, H. Sowers. 1986. "Layered Magnetic Structures: Evidence for antiferromagnetic coupling of Fe-layers across Cr-interlayers". Physical Review Letters. 57, 2442.

อ้างอิง[แก้]

  1. "รางวัลโนเบล ปี 2550". มูลนิธิโนเบล. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  2. G. Binasch, P. Grünberg, F. Saurenbach, and W. Zinn (1989). "Enhanced magnetoresistance in layered magnetic structures with antiferromagnetic interlayer exchange". Phys. Rev. B. 39 (7): 4828–4830. doi:10.1103/PhysRevB.39.4828.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม[แก้]