ปีช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อามุลฟีล (อาหรับ: عام الفيل, ปีช้าง) เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์อิสลามที่อยู่ในช่วงค.ศ.570 มีรายงานว่า เป็นปีที่ศาสดามุฮัมมัด (อาหรับ: مُـحَـمَّـد) ถือกำเนิด[1] ชื่อนี้มีที่าจากเหตุการณ์ที่อับรอฮะ กษัตริย์ชาวเยเมนที่อยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอักซุม เตรียมช้างมาทำลายกะอ์บะฮ์ที่มักกะฮ์[2][3]

นักโบราณคดีได้ค้นพบที่อาระเบียตอยใต้ สันนิษฐานว่าปีช้างน่าจะเกิดขึ้นในปีค.ศ. 569 หรือ 568 เป็นช่วงที่จักรวรรดิแซสซานิด โค่นล้มผู้นำของอาณาจักรอักซุม ในช่วงปีค.ศ.570.[4]

ปีนี้เป็นปีที่อัมมัร อิบน์ ยาซิรถือกำเนิดอีกด้วย[5]

เหตุการณ์[แก้]

รายงานจากนักประวัติศาสตร์อิสลาม เช่นอิบน์ อิสฮาก เนกุสอับรอฮะได้สร้างโบสถ์ขนาดใหญ่ที่ซานา มีชื่อว่า อัล-กุลัยส์ ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษากรีก (กรีก: εκκλησία "โบสถ์")

ในสมัยก่อน ชาวอาหรับที่นับถือลัทธินอกศาสนา มาแสวงบุญกันที่มักกะฮ์[1] อับรอฮะได้พยายามที่จะนำพวกเขามาแสวงบุญที่โบสถ์แห่งนี้แทน และเรียกมุฮัมมัด อิบน์ คุซาลี ไปที่มักกะฮ์ กับติฮามะฮ์ให้เรียกร้องให้พวกเขามาที่อัล-กุลัยส์แทนเพราะที่นั่นคือสถานที่ที่ดีกว่าและบริสุทธิ์กว่าบ้านหลังอื่น[1]

อิบน์ อิสฮาก กล่าวต่อว่า มีชายคนหนึ่งจากเผ่ากุเรชโมโห เพราะการกระทำเช่นนี้ จึงไปที่ซานาในตอนกลางคืน แล้วสร้างมลทินที่โบสถ์

เมื่ออับรอฮะรู้เรื่องนี้แล้ว จึงรู้สึกโมโหมาก แล้วนำทหาร 4,000 นาย ไปที่มักกะฮ์ โดยมีช้างขางที่ชื่อว่า"มะฮ์มูด"เป็นตัวนำทาง[6] (และช้างอีกหลายตัว - บางรายงานกล่าวว่ามีช้างอยูประมาณ 8 เชือก[1][4]) เพื่อที่จะทำลายกะอ์บะฮ์ เผ่าอาหรับบางเผ่าได้ต่อสู้กับเขา แต่กลับพ่ายแพ้ไป

เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะฮ์ กองทัพของอับรอฮะได้ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัดไป 200 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะฮ์ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า เรามาเพื่อถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอฮะเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอฮะ เขาก็ขอร้องให้อับรอฮะคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอฮะจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอ์บะฮ์ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอ์บะฮ์เป็นของอัลลอฮ์ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอฮะรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ

เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะฮ์หลบหนีออกจากเมืองแล้วไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอฮะทำร้าย เมื่อกองทัพของอับรอฮะเข้ามาถึงมักกะฮ์ ก็ปรากฏว่ามีฝูงนกบินว่อนเหนือเมืองจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอฮะล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวอาหรับเริ่มเกรงกลัวอัลลอฮ์อยู่ในใจ[7]

ชีอะฮ์[แก้]

รายงานจากฮะดีษ อัลกาฟี เล่ม 1 อิหม่ามอะลีเกิดในปีที่ 30 ของปีช้าง[8] และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.40[9]

ข้อมูลอื่น[แก้]

เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 105 มีชื่อว่า อัล-ฟีล (อาหรับ: الـفِـيـل, "ช้าง")

นักวิชาการบงท่านได้กล่าวว่าปีช้างน่าจะเกิดก่อนปี ค.ศ.570 อยู่ประมาณหนึ่งหรือสองทศวรรษ[10] โดยมีหลักฐานจากอิบน์ ชิฮาบ อัล-ซุฮรีว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่พ่อของมุฮัมมัดจะถือกำเนิด[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Hajjah Adil, Amina, "Prophet Muhammad", ISCA, Jun 1, 2002, ISBN 1-930409-11-7
  2. "Abraha." เก็บถาวร 2016-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Dictionary of African Christian Biographies. 2007. (last accessed 11 April 2007)
  3. Walter W. Müller, "Outline of the History of Ancient Southern Arabia," in Werner Daum (ed.), Yemen: 3000 Years of Art and Civilisation in Arabia Felix. 1987. เก็บถาวร 2014-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 William Montgomery Watt (1961). Muhammad: Prophet and Statesman, Oxford: Oxford University Press, p. 7.
  5. Azmayesh, Seyed Mostafa (2015). New Researchers on the Quran: Why and how two versions of Islam entered the history of mankind. United Kingdom: Mehraby Publishing House. p. 262. ISBN 9780955811760.
  6. Kistler, John M. ; foreword by Richard Lair (2007). "The Year of The Elephant". War elephants. Lincoln: University of Nebraska Press. p. 177. ISBN 0803260040. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-09. The lead elephant, named Mahmud, stopped and knelt down, refusing to go further.
  7. ประวัติศาสตร์อิสลาม เล่ม 1 หน้า 97 - 98
  8. "The birth of El Imam Ali related to the year of the elephant". balaghah.net. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  9. Al-Islam, Thiqatu (2015). Al-Kafi (Second ed.). New York: Islamic Seminary Inc. p. 457. ISBN 978-0-9914308-6-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27.
  10. Esposito, John L. (1995). The Oxford Encyclopedia of the Modern Islamic World: Libe-Sare. Oxford University Press. p. 154. ISBN 978-0195096149.
  11. ibn Rashid, Mamar. The Expeditions: An Early Biography of Muhammad. แปลโดย Sean W. Anthony. NYU Press. p. 3-5. ISBN 978-0814769638.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]