ปาโซโดเบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวะดนตรีปาโซโดเบล มีที่มาจากการสู้วัวกระทิง

ปาโซโดเบล (สเปน: Paso Doble หรือ Pasodoble) เป็นประเภทของดนตรีที่มีจังหวะ 2/4 คล้ายกับเพลงมาร์ชของสเปน และยังหมายถึงรูปแบบการเต้นรำ ทั้งการเต้นคู่และการเต้นบอลรูม ประกอบดนตรีที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน

จังหวะดนตรีปาโซโดเบล แต่เดิมใช้เล่นในประเทศสเปนในการสู้วัวกระทิง ในช่วงพิธีกรรมที่นักสู้วัวกระทิงกำลังเดินลงสู่สนาม และขณะกำลังจะฆ่ากระทิง และได้พัฒนามาเป็นรูปแบบการเต้นรำ โดยเริ่มต้นจากประเทศฝรั่งเศส[1] นักเต้นชายจะยึดร่างของคู่เต้น และแกว่งไปมาในลักษณะเดียวกับที่นักสู้วัวกระทิงแกว่งผ้าสีแดงยั่วกระทิง นักเต้นจะเต้นโดยการย้ำส้นเท้านำเป็นจังหวะอย่างเร็ว และไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของสะโพก นักเต้นชายจะเคลื่อนไหวเป็นวงกลม เน้นความสง่างามเหมือนนักสู้ และเปรียบนักเต้นหญิงเสมือนผ้าที่แกว่งไกว [2]

การเต้นแบบปาโซโดเบลได้รับความนิยมในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1930 และได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในห้าการเต้นมาตรฐานในการแข่งขันเต้นบอลรูมจังหวะละติน (ประกอบด้วยรุมบา แซมบา ชะ-ชะ-ช่า ปาโซโดเบล และไจฟ์) [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Paso Doble Styling". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  2. ประวัติกีฬาลีลาศ 10 จังหวะ เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สิทธิชัย ปรียาดารา และกวี วิโรจน์สายลี
  3. http://www.mjonet.de/referate/latinamerican.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]