ปลาหนามหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหนามหลัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Mystacoleucus
สปีชีส์: M.  marginatus
ชื่อทวินาม
Mystacoleucus marginatus
Valenciennes, 1842

ปลาหนามหลัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus marginatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างมากกว่า ครีบหลังสูงปานกลาง ก้านครีบหลังมีหยักที่ขอบด้านท้าย ที่โคนครีบหลังด้านหน้าสุดมีหนามแหลมสั้นยื่นออกมาทางข้างหน้า ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาสกุลนี้ และเป็นที่มาของชื่อ มีเกล็ดใหญ่คลุมตัว ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเงินอมเหลืองอ่อน ขอบเกล็ดด้านบนมีสีคล้ำ บางเกล็ดบนลำตัวจึงดูเหมือนเป็นขีดสั้น ๆ ประที่ด้านข้าง ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม และขอบครีบด้านท้ายมีสีคล้ำ เมื่อติดอวนหรือตาข่ายจะปลดออกได้ยาก เพราะหนามแหลมที่ครีบหลัง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 15 เซนติเมตร

พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศ โดยอาศัยอยู่ทุกระดับของน้ำเป็น จัดเป็นปลาที่มีราคาถูก นำมาทำปลาร้าหรือปรุงสด และถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ปลาหนามหลังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาขี้ยอก" หรือ "ปลาหนามบี้" ในภาคอีสาน "ปลาหญ้า" ในภาคใต้ ที่เขตแม่น้ำน่านเรียก "ปลาหนามไผ่" หรือ "ปลาหนามแต๊บ" เป็นต้น[1][2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]