ปลาลิ้นแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาลิ้นแมว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Siluridae
สกุล: Silurichthys
สปีชีส์: S.  scheneideri
ชื่อทวินาม
Silurichthys schneideri
Volz, 1904

ปลาลิ้นแมว หรือ ปลาชะโอนหิน[1] ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Silurichthys schneideri ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีลำตัวแบนข้างและเรียวยาว ตามีขนาดเล็กมาก หัวและปากเล็ก ปากล่างสั้นกว่า มีหนวด 2 คู่ ลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมม่วง ลำตัวและครีบมีลายประหรือลายหินอ่อน ครีบหลังอันเล็กมี 2-3 ก้าน ครีบหางและครีบก้นต่อเนื่องกัน ปลายครีบหางด้านบนยาวเรียว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร การแยกเพศยังไม่สามารถทำได้ชัดเจน จะสังเกตได้เฉพาะฤดูผสมพันธุ์ คือ ปลาเพศผู้จะมีส่วนของลำตัวยาวและขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ส่วนเพศจะสังเกตได้จากบริเวณส่วนท้องจะบวมเป่งและผนังท้องจะบางและนิ่มกว่าเพศผู้

พฤติกรรมมักซ่อนตัวอยู่ใต้วัสดุลอยน้ำเช่น ใบไม้ร่วง หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารได้แก่ แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกในป่า เช่น น้ำตกลำนารายณ์ และน้ำตกกระทิง จังหวัดจันทบุรี, น้ำตกลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช, อุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2547 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสระแก้วได้ออกสำรวจปลาลิ้นแมวอย่างจริงจังที่อุยานแห่งชาติปางสีดา พบว่ามีอาศัยอยู่ที่กิโลเมตรที่ 23 บริเวณห้วยน้ำเย็น ซึ่งอยู่ในเขตป่าลึกที่มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นและมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-300 เมตร และได้มีการนำมาศึกษาและทำการเพาะขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จโดยการผสมเทียม[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]