ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Scaphognathops
สปีชีส์: S.  bandanensis
ชื่อทวินาม
Scaphognathops bandanensis
Boonyaratpalin & Srirungroj, 1971
ชื่อพ้อง[1]
  • Scaphognathus mekongensis Taki, 1974

ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน (อังกฤษ: Bandan sharp-mouth barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scaphognathops bandanensis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลําตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ส่วนหัวเล็กมีขนาดเล็ก ปากจะอยู่ตําแหน่งลงมาด้านล่าง จะงอยปากแหลมริมฝีปากล่างมนกลมมีขอบแข็ง บริเวณขากรรไกรล่างมีลักษณะคล้ายปลอกเขาสัตว์ ไม่มีหนวด ครีบหลังสีคล้ำ ปลายขอบของก้านครีบอันแรกเป็นหยักแข็ง ถัดจากส่วนนี้ไปจะมีลักษณะเรียวแหลม ครีบหางเว้าลึก ครีบอกและครีบท้องเล็ก ครีบหางสีเหลืองจาง ๆ เกล็ดลำตัวสีเงินอมเทามีแต้มประสีคล้ำ

มีขนาดใหญ่เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร

เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอุปนิสัยชอบกัดกินเกล็ดปลาชนิดอื่น พบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น โดยพบตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา เป็นปลาที่มีฤดูกาลอพยพ โดยจะอพยพย้ายขึ้นมาจากประเทศลาวโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พร้อม ๆ กับปลาในกลุ่มปลาหมูและปลาสร้อย

เป็นปลาที่พื้นถิ่นนิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยบริโภคกันทั้งสด และรมควันหรือทำเป็นปลาร้า รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN
  2. หน้า 53, ปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พ.ศ. 2544) ISBN 974-472-655-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scaphognathops bandanensis ที่วิกิสปีชีส์