ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาตะโกกหน้าสั้น (Albulichthys albuloides) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นลุ่มแม่น้ำหลักของประเทศในภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขง[1] แต่ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำแห่งนี้เป็นชนิดเดียวกันกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงถึงร้อยละ 50

แม่น้ำเจ้าพระยา[แก้]

ดูบทความหลักที่ แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยมีจุดกำเนิดที่ทิวเขาอินทนนท์ในภาคเหนือและอีกหลายทิวเขา ซึ่งเป็นลำธารและน้ำตกบนภูเขา ก่อนจะไหลลงที่ราบเป็นแม่น้ำปิง, แม่น้ำยม, แม่น้ำวัง, แม่น้ำน่าน ก่อนที่จะไหลมารวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และไหลออกทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ

แม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวประมาณ 372 กิโลเมตร ก่อให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มและแควน้ำสาขารวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำมากมาย อาทิ แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำป่าสัก, แม่น้ำลพบุรี, แม่น้ำท่าจีน, กว๊านพะเยา, บึงบอระเพ็ด เป็นต้น ทำให้หลายชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่น และหลายชนิดก็เป็นปลาที่พบได้เฉพาะบริเวณนั้นหรือปลาท้องถิ่นเท่านั้น

ชนิดของปลา[แก้]

(อาทิ) [1][2]

ปลากระดูกอ่อน[แก้]

ปลากระดูกแข็ง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม พ.ศ. 2553
  2. หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]