ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Istiophoridae
สกุล: Istiophorus
สปีชีส์: I.  platyterus
ชื่อทวินาม
Istiophorus platypterus
(Shaw, 1792)
ชื่อพ้อง[1]
  • Histiophorus dubius Bleeker, 1872 (สะกดผิด)
  • Histiophorus gladius (Bloch, 1793)
  • Histiophorus immaculatus Rüppell, 1830
  • Histiophorus indicus Cuvier, 1832
  • Histiophorus orientalis Temminck & Schlegel, 1844
  • Istiophorus amarui Curtiss, 1944
  • Istiophorus brookei Fowler, 1933
  • Istiophorus dubius Bleeker, 1872
  • Istiophorus eriquius Jordan & Ball, 1926
  • Istiophorus gladifer Lacepède, 1801
  • Istiophorus gladius (Bloch, 1793)
  • Istiophorus gladius greyi Jordan & Evermann, 1926
  • Istiophorus gladus (Bloch, 1793) (สะกดผิด)
  • Istiophorus greyi Jordan & Evermann, 1926
  • Istiophorus greyii Jordan & Evermann, 1926
  • Istiophorus immaculatus (Rüppell, 1830)
  • Istiophorus japonicus Jordan & Thompson, 1914
  • Istiophorus ludibundus Whitley, 1933
  • Istiophorus orientalis (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Istiophorus triactis Klunzinger, 1871
  • Scomber gladius Bloch, 1793
  • Xiphias platypterus Shaw, 1792
  • Xiphias velifer Bloch & Schneider, 1801

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย[2] (อังกฤษ: Banana sailfish, Indo-Pacific sailfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Istiophorus platypterus)

เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นปลากระโทงร่มชนิดหนึ่ง

มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีครีบท้องเป็นเส้นยาวชัดเจน [3]

มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม

กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนของทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ

ลูกปลาขนาดเล็ก
ปลาที่ถูกตกได้ที่คอสตาริกา

ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน [4]

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Istiophorus platypterus (Shaw, 1792)". WoRMS. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  2. ปลากระโทงแทงกล้วย จากสนุกดอตคอม
  3. "คูมือการจาแนกปลากระโทงแทงในภาคสนาม" (PDF). กรมประมง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-31. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  4. "อัศจรรย์โลกใต้น้ำตอนที่ 5". ช่อง 7. 9 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-19. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  5. จารุจินต์ นภีตะภัฏ, ปลากระโทงร่ม[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Istiophorus platypterus ที่วิกิสปีชีส์