ปรีดา ทัศนประดิษฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปรีดา ทัศนประดิษฐ์)
ปรีดา ทัศนประดิษฐ
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 มกราคม พ.ศ. 2540 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์
ถัดไปศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม พ.ศ. 2481 (86 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ

ประวัติ[แก้]

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีดา ทัศนประดิษฐ เกิด เมื่อวันที่ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2481 รศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ เป็นผู้อุทิศตนช่วยเหลือในด้านทักษะการเรียนรู้ของนิสิตแพทย์ จุฬาฯ มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

การศึกษา[แก้]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ Certifited Obstetrician and Gynecologist of The American Board of Obstetricians and Gynecologists University of Chicago Hospitals and Clinics และ Master of Science In Clinical Epidemiology จาก Mc Master University Hamilton, Canada

ประสบการณ์การทำงาน[แก้]

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน[แก้]

  • อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก คณะกรรมการบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานอนุกรรมการสอบสวนจริยธรรม ชุดที่ 3 ของแพทยสภา

ครูแพทย์แห่งชาติ[แก้]

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยประกาศมอบรางวัลครูแพทย์แห่งชาติ ประจำปี 2559 ให้แก่ รศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล “ครูแพทย์แห่งชาติ” ประจำปี 2559 โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นในการประชุมวิชาการแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 ประจำปี 2559 ภายใต้หัวข้อ “ความหลากหลายทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษา” ระหว่างวันที่ 19-21ตุลาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สำหรับความหมายของคำว่า “ครูแพทย์” หมายถึง ครูในฐานะผู้เป็น coach หรือพี่เลี้ยงนักศึกษาแพทย์ที่คอยช่วยเหลือดูแล แนะนำ และให้ feedback ที่เหมาะสม ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ทุกด้าน โดยเฉพาะการฝึกทักษะเวชปฏิบัติ คณะกรรมการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลพิจารณาเห็นว่า รศ.นพ.ปรีดา เป็นผู้ที่อุทิศตนทำงานในหน้าที่และมุ่งมั่นในการสร้างความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนช่วยเหลือในการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ด้วยตนเอง โดยเฉพาะด้านทักษะ ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมากล้น รวมทั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ มีประสบการณ์อันทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ผลงานและเกียรติประวัติ[แก้]

  • รางวัลครแพทย์แห่งชาติ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
  • รางวัลมูลนิธิหม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร อาจารย์ระดับอุดมศึกษา มีผลงานดีเด่น ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิต นักศึกษา ปี พ.ศ. 2544
  • โล่ห์เกียรติคุณของแพทยสภา อาจารย์ที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2543
  • รางวัลแพทย์จุฬาฯดีเด่น ครบรอบ 60 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เครื่องมือช่วยทำหมันหญิงหลังคลอด (จุฬาสโคป) ร่วมกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์นิกร ดุสิตสิน ได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2528
  • โครงการทำหมันหญิงทันทีหลังคลอดในห้องคลอด เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันเป็นวิธีการที่ใช้อยู่ในห้องคลอดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]