ปราสาทเคมบริดจ์

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปราสาทเคมบริดจ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Castle Mound ตั้งอยู่ที่ เคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร ประเทศอังกฤษ ก่อสร้างขึ้นครั้งแรกหลังจาก การรุกรานของชาวนอร์มัน เพื่อควบคุมเส้นทางเดินทางสำคัญที่มุ่งสู่ทางเหนือของอังกฤษ และมีส่วนสำคัญในความขัดแย้งของระบอบ อนาธิปไตย ในสงครามบารอนใน ครั้งแรก และ ครั้งที่สอง หลังจากการขยายราชอาณาจักรของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ปราสาทก็ไม่ได้ถูกใช้งานและทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วในปลายยุคกลาง สิ่งก่อสร้างจากหินถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาคารของสถาบันการศึกษาโดยรอบ ปราสาทเคมบริดจ์ได้รับการบูรณะในระหว่างสงครามกลางเมืองของอังกฤษ แต่ก็ได้ทรุดโทรมลงอีกครั้ง ทั้งยังถูกใช้เป็นที่คุมขัง ในช่วงแรก ที่คุมขังในปราสาทได้ถูกรื้อถอนในปี 1842 และได้สร้างที่คุมขังใหม่ในกำแพงชั้นนอกของปราสาท ต่อมาที่คุมขังดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนไปในปี 1932 และแทนที่ด้วยศาลากลางมณฑลสมัยใหม่ และคงเหลือ เนินดิน และกำแพงดินบางส่วน สถานที่ดังกล่าวเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันและยังได้ชมทัศนียภาพของอาคารทางประวัติศาสตร์ของเมือง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ศตวรรษที่ 11[แก้]

ปราสาทเคมบริดจ์เป็นหนึ่งในสามปราสาทที่สร้างข้ามผ่านทิศตะวันออกของอังกฤษในปลาย 1068 โดย กษัตริย์วิลเลี่ยม หลังจากการนำทัพขึ้นเหนือเพื่อยึดครอง ยอร์ค[1][nb 1] เคมบริดจ์ หรือที่ทราบกันภายหลังว่า Grantabridge เป็นเส้นทางเดินรบเก่าในสมัยโรมันจากลอนดอนถึงยอร์ค ซึ่งเป็นทั้งจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นจุดเสี่ยงในการก่อกบฏ[3] การก่อสร้างในเริ่มแรกวบคุมการก่อสร้างโดยผู้ว่าการPicot ผู้ซึ่งต่อมาได้สร้าง ศาสนสถาน ใกล้กับปราสาท[4] ปราสาทถูกสร้างบนรูปแบบ เนินดินล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอก และยังคงเมืองเดิมไว้ ซึ่งทำให้ต้องรื้อบ้านเรือนรวม 27 หลังในการสร้างปราสาท[4]

ศตวรรษที่ 12 -13[แก้]

ปราสาทหลังนี้ได้ถูกก่อสร้างโดยกษัตริย์นอร์มันและคงอยู่จนถึงช่วงสงครามกลางเมือง โดยประเทศได้ถูกปกครองโดย ระบอบอนาธิปไตย ในปี ค.ศ. 1139 .[5] ปราสาทหลังนี้เป็นฉนวนอันสำคัญที่เป็นข้อพิพาทระหว่างจักรพรรดินีมาทิลดา กับ กษัตริย์สตีเฟน ในขณะนั้น  ภายหลังในปี 1143  จีออฟฟรีย์ เอด แมนเดอวิลล์ ผู้สนับสนุนจักรพรรดินีได้บุกโจมตีเมืองเคมบริดจ์ และปราสาทหลังนี้ได้ถูกยึดครองชั่วคราวในครั้งนั้นด้วย.[5]  กษัตริย์สตีเฟนบุกโจมตีกลับ และบังคับให้ จีออฟฟรีย์ถอยร่นไปใน Fens และยึดครองปราสาทเคมบริดจ์กลับคืน [6]   ยังคงไม่มีเกราะปราการเพื่อป้องกันตัวปราสาทไว้ แต่อย่างไรก็ตามกษัตริย์สตีเฟนได้สร้างป้อมปราการขึ้นที่เบอร์เวล เพื่อให้เป็นการป้องกันเพิ่มเติม [7] จีออฟฟรีย์ได้เสียชีวิตในขณะที่พยายามโจมตีปราสาทเบอร์เวลในปีต่อมาส่งผลให้ปราสาทเคมบริดจ์ได้คงอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่นั้นมา[7]  

Cambridge Castle, engraved in 1575

ภายใต้การปกครองของ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ท่านได้ทรงรักษาปราสาทแห่งนี้เป็นอย่างดี โดยได้มีการซ่อมแซมปราสาทนี้เล็กน้อยเพื่อให้ปราสาทได้คงสภาพเดิม.[8] จากนั้นได้มีการก่อตั้งระบบรักษาความปลอดภัย ขึ้น ซึ่งการป้องกันนี้จะเกิดขึ้นจากเนื้อที่รอบๆ ปราสาทที่ได้ยกให้ผู้ปกครองมณฑลท้องถิ่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์  ในเงื่อนไขที่ว่าพวกเขาจะต้องเป็นผู้ปกป้องและคุ้มครองปราสาทด้วย โดยแรกเริ่มพื้นที่ปราสาทแห่งนี้เป็นศาลและเป็นที่เก็บเอกสารของผู้ปกครองมณฑล[9] กษัตริย์ จอน์ห ได้ทำการขยายพื้นที่ปราสาทแห่งนี้อีกในปีถัดมา ก่อน สงครามบารอนครั้งที่ 1 ได้เริ่มขึ้นในช่วงค.ศ. 1215 ถึง 1217 เพียงแต่การก่อสร้างครั้งนี้ได้เน้นเพิ่มเติมห้องโถงใหม่ และพระที่นั่งในงบประมาณ 200 ปอนด์ [10][nb 2] ในช่วงสงคราม กลุ่มขุนนางที่ต่อต้านซึ่งได้รับการสนันสนุนจาก เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส ได้ครอบครองพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษ จึงเป็นเหตุให้ปราสาทเคมบริดจ์ได้ถูกเปลี่ยนมือไปในปีค.ศ. 1216 [12]   ปราสาทแห่งนี้ได้กลับคืนสู่การครอบครองโดยราชวงศ์หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม  พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 ได้ทำการซ่อมบำรุงป้อมปราการแบบปกติเท่านั้น เมืองเคมบริดจ์ได้ถูกโจมตีอีกครั้งในช่วง ส่งครามบารอนครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1266 [13] ในครั้งนี้เมืองและปราสาทแห่งนี้ได้ตรึงกำลังได้นานพอสมควรด้วยกองกำลังของพระเจ้าเฮนรี่่ และกษัตริย์ได้เสริมหน้าเมืองด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ จนกระทั่งภายหลังได้รู้จักท่านในนามของกษัตริย์คูน้ำ[13]

ปราสาทเคมบริดจ์ยังคงเหลือเพียงแต่ป้อมปราการพื้นฐานจนกระทั่งปี ค.ศ. 1284 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ได้ตัดสินใจเป็นผู้รับอาสาในการปฏิบัติงานในการสร้างและขยายปราสาทแห่งนี้ [14] ใช้ระยะเวลา 14 ปี  และได้ใช้งบประมาณไปอย่างน้อย 2,630 ปอนด์ในการสร้างปราสาทขึ้นมาซึ่งได้ใช้หินในการจัดสร้าง.[14][nb 3] ปราสาทของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด สร้างโดยถูกแยกเป็น 4 ด้าน พร้อมกับหอคอยรูปวงกลมอยู่ในแต่ละมุมพร้อม ประตูทางเข้า-ออก และ ประตูปราสาท.[15] หินก้อนเหลี่ยมที่ สร้าง ปราสาทตั้งอยู่บนก้อนดินแข็ง [15] ผลลัพธ์คือได้"ป้อมปราการหลักที่ทันสมัยที่สุด" ถึงแม้ว่าดูแล้วว่าปราสาทได้สร้างเสร็จเรียบร้อยทีเดียว [15] แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้พักอยู่ที่ปราสาทเพียง 2 คืนในปีค.ศ. 1294.[13]

ศตวรรษที่ 14-17[แก้]

The 17th-century bastions of the castle, shown in an 1837 plan

ในระหว่างศตวรรษที่ 14ปราสาทได้เริ่มเข้าสู่สภาวะเสื่อมโทรม [13] ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เป็นต้นมา เงินจำนวนน้อยนิดถูกใช้ไปในการดูแลรักษาทรัพย์สิน [15] และโดยในศตวรรษที่ 15 ปราสาทก็อยู่ในสภาพที่เป็นเหมือนซากปรักหักพัง ห้องโถงและห้องประชุมในปราสาทไม่มีหลังคา และในสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการรื้อทำลายปราสาทและใช้หินที่เหลือในการก่อสร้างมหาวิทยาลัย King's College ในปีคริสต์ศักราชที่1441 ทั้งยังได้นำเอาบางส่วนของปราสาทมาช่วยในการสร้างอาคารของโบถส์ Trinity College [16] นอกเหนือจากนี้ในศตวรรษที่ 16 พระราชินีแมรี่ที่ 1 ยังได้นำหินของปราสาทบางส่วนไปสร้างคฤหาสน์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ Scawston ในเฟน (Fens) และหินส่วนที่เหลือได้นำไปให้กับมหาวิทยาลัย Emmanuel college และ Magdalene college[17] ในปีคริสต์ศักราชที่1604 มีเพียงประตูรั้วใหญ่ (gatehouse) ซึ่งถูกใช้เป็นที่คุมขังและยังคงสภาพเหมือนเดิมซึ่งแวดล้อมไปด้วยผนังร่วมสมัยที่ถูกทำลายโดยไม่เหลือชิ้นดี [15]

ในปีคริสต์ศักราชที่ 1642 ได้เกิดสงครามกลางเมือง ขึ้นในอังกฤษระหว่างกลุ่มที่ภักดีกับกษัตริย์ ์และกลุ่มที่สนับสนุนระบบรัฐสภา. ปราสาทเคมบริดจ์ถูกยึดครองโดยอำนาจของรัฐสภาในปีแรกของสงครามกลางเมือง[18] Oliver Cromwell มีคำสั่งให้ดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายอย่างเร่งด่วน และในการนี้ส่งผลให้มีการสร้างปราการดินใหม่ 2 แห่งและ ค่ายทหาร ก่อด้วยอิฐบนพื้นที่กำแพงเดิม[19] ในปีคริสต์ศักราชที่ 1643 ผู้ว่าราชการแห่งเคมบริดจ์ได้แถลง ว่า “ตอนนี้เมืองและปราสาทของเรามีความแข็งแรงมาก...เนื่องจากมีป้อมปราการดินซึ่งสามารถป้องกันข้าศึกได้เป็นอย่างดี”  ซึ่งต่อมาในปีคริสต์ศักราชที่ 1647[20] ในระหว่างสงครามนั้นไม่น่าจะเกิดการต่อสู้แล้วรัฐสภาก็ยังได้มีคำสั่งให้คงรักษาป้อมปราการไว้เหมือนเดิมไม่ให้ทำลายโดยให้เกิดความเสียหายไปเองจากการใช้งาน[15]

ศตวรรษที่ 18-19[แก้]

An engraving of Cambridge Castle in 1730, including the motte (l) and the gatehouse gaol (r)

ปราสาทเริ่มทรุดโทรมอย่างรวดเร็วหลังจากแนวกำแพงที่ยังเหลืออยู่และป้อมปราการได้ถูกทำลาย   เมื่อปี ค.ศ. 1785   ทำให้เหลือแต่  Gatehouse  และ เนินดิน  (earth motte)[19] Gatehouse  ได้ถูกใช้เป็นห้องขังของเทศมณฑลเมื่อศตวรรษที่ 19 โดยมีการจัดการเพื่อใช้เป็นหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ  เช่นเดียวกับ ห้องขังอื่นๆ[21] ผู้ดูแลห้องขังแคสเซิลได้รับเงิน  จำนวน  200 ปอนด์ต่อปี  จากเทศมณฑล  ในปี ค.ศ. 1807  (หรือประมาณ 13,100 ปอนด์ในปี ค.ศ. 2009)

เมื่อห้องขังใหม่ของเทศมณฑลถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นที่ภายนอกกำแพงเมืองแคสเซิล จึงเป็นจุดสิ้นสุดห้องขัง Castle[22] โดยห้องขังใหม่นี้ถูกสร้างโดย จี บายฟิลด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1807 – 1811 ตามแบบสถาปัตยกรรมทันสมัยอาคารทรง 8 เหลี่ยม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนักปฏิรูปห้องขัง จอห์น ฮาเวิร์ด ต่อมา Gatehouse แคสเซิล ได้ถูกรื้อทำลาย   เพื่อสร้างเป็นถนนมุ่งหน้าไปอาคารศาลยุติธรรมแห่งใหม่ประจำมณฑล[23]

ปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันยังคงเหลือเพียงบางส่วนของปราสาทจากยุคกลางเพียง10 เมตร (33ฟุต) บนเนินสูง ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเมือง และเหลือเศษซากบางส่วนของกำแพงดินโดยรอบ[24] เปิดให้สาธารณชนเข้าชมฟรีและยังได้ชมทัศนียภาพของอาคารทางประวัติศาสตร์ของเมือง ทั้งเนินดินและกำแพงดินยังเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีอนุเสาวรีย์ทางประวัติศาสตร[25] ส่วนนึงของกำแพงชั้นนอกและคุกในศตวรรษที่ 19 ถูกใช้งานเป็นสำนักงานใหญ่ Cambridgeshire County Councilของจังหวัดเคมบริดจ์เชอร์ ที่ Shire Hall ที่ถูกสร้างขึ้นในปี1932[24]

Shire Hall viewed from the mound with the steps leading up the mound
Cambridge skyline viewed from the mound. The church in the foreground is St Giles Church, the spire on the left is part of All Saints Church, the tower on the centre is part of St John's College chapel, and the long roofline on the right is King's College Chapel.
Spectators atop the mound await the St John's College May Ball 2014 fireworks.

See also[แก้]

Notes[แก้]

  1. The other two eastern castles built that year were Lincoln and Huntingdon Castle.[2]
  2. It is notoriously difficult to accurately convert medieval financial figures into modern equivalents. For comparison, £200 is around two-thirds of the annual income of a "well-to-do" baron of the period.[11]
  3. It is notoriously difficult to accurately convert medieval financial figures into modern equivalents. For comparison, £2,620 is around nine times the annual income of a "well-to-do" baron of the period.[11]

References[แก้]

  1. Mackenzie, p.310, Pounds, p.7.
  2. Pounds, p.7.
  3. Pounds, p.57.
  4. 4.0 4.1 Pounds, p.58.
  5. 5.0 5.1 Bradbury, p.144.
  6. Bradbury, p.145.
  7. 7.0 7.1 Bradbury, p.146.
  8. Brown, p.171.
  9. Pounds, pp.46, 98; Brown, p.71.
  10. Mackenzie, p.310; Brown, p.71.
  11. 11.0 11.1 Pounds, p.139.
  12. Pounds, p.116.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Mackenzie, p.310.
  14. 14.0 14.1 Brown, p.71.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Brown, p.73.
  16. Brown, p.73; Mackenzie, p.310.
  17. Mackenzie p.310; Brown, p.73.
  18. Wedgwood, p.106.
  19. 19.0 19.1 Mackenzie, p.311; Brown, p.73.
  20. Thompson, p.139.
  21. Finn, p.135; 2009 equivalent prices using the Measuring Worth เก็บถาวร 2009-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน website, accessed 29 January 2011.
  22. Pounds, p.100; The Cambridge Guide, p.212.
  23. Mackenzie, p.311; Cambridge Castle, Heritage Gateway, accessed 28 January 2011.
  24. 24.0 24.1 Cambridge Castle เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cambridgeshire Country Council, accessed 29 January 2011.
  25. Cambridge Castle mound, Ancient Monuments, accessed 13 July 2011; 'Civil War earthworks at the Castle', Ancient Monuments, accessed 13 July 2011.

Bibliography[แก้]