ประเทือง ปานลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทือง ปานลักษณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 ตุลาคม พ.ศ. 2490
เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (56 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2539–2547)
คู่สมรสชวนพิศ กันทาสวัสดิ์

นายประเทือง ปานลักษณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 3 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529

ประวัติ[แก้]

ประเทือง ปานลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่เขตลาดกระบัง กรุเทพมหานคร เป็นบุตรของนายสุดจิตต์ กับนางถวิล ปานลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2512[1][2] ประกาศนียบัตรพัฒนาผู้จัดการระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การทำงาน[แก้]

ประเทือง ปานลักษณ์ เป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ระหว่างปี 2513 - 2526 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ (อยู่ในกลุ่มภาคเหนือ ร่วมกับนายบุญชู ตรีทอง นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายมนตรี ด่านไพบูลย์) และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 นายประเทือง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย

ประเทือง ปานลักษณ์ เคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535[3] และมีผลงานสำคัญอาทิ การผลักดันโครงการระบบส่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาในจังหวัดลำพูน การก่อสร้างโกดังเก็บสินค้า และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. โดยสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัด (งบ ส.ส.) ในสมัยนั้น

ประเทือง ปานลักษณ์ เป็นนักการเมืองที่ริเริ่มในการตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการสร้างถนนคู่ขนานกับทางรถไฟจากเชียงใหม่ ไฟยังลำพูน[4] จนเป็นที่มาของถนนเลียบทางรถไฟในปัจจุบัน

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

นายประเทือง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ประวัติย่อ นายประเทือง ปานลักษณ์
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/137/11997.PDF
  4. กระทู้ถามที่ ๐๖๖ ร. เรื่อง การแก้ปัญหาจราจรแออัดในเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ - จังหวัดลำพูน ของ นายประเทือง ปานลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖