ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
  ประเทศที่เคยเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด หรือ ประเทศด้อยพัฒนา [1] (อังกฤษ: Least developed country; LDC) เป็นชื่อที่กำหนดโดยสหประชาชาติซึ่งแสดงถึงการที่มีค่าดัชนีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำ เมื่อจัดลำดับเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แนวคิดของการจัดกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2512 - 2513 รายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุดกลุ่มแรกถูกกำหนดโดยสหประชาชาติในข้อมติที่ 2768 (XXVI) เมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[2] ประเทศที่จะถูกจัดว่าเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะต้องมีลักษณะสามประการนี้ ได้แก่[3][4]

  • มีรายได้ต่ำ โดยใน พ.ศ. 2561 ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะมีรายได้มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยสามปีน้อยกว่า 1,025 ดอลลาร์สหรัฐ และต้องมากกว่า 1,230 ดอลลาร์สหรัฐ จึงจะพ้นจากกลุ่มนี้
  • ทรัพยากรมนุษย์อ่อนแอ โดยดูจากตัวชี้วัดทางด้านโภชนาการ สุขภาพ การศึกษาและการรู้หนังสือของผู้ใหญ่
  • ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจโดยดูจากความไม่แน่นอนของการผลิตทางการเกษตร ความไม่แน่นอนของการส่งออกสินค้าและบริการ ความสำคัญทางเศรษฐกิจของกิจกรรมที่เป็นของต่างชาติ ความเข้มของการส่งออกสินค้า อุปสรรคของเศรษฐกิจขนาดเล็ก และร้อยละของประชากรที่ต้องพลัดถิ่นเพราะภัยธรรมชาติ

จะมีการตรวจสอบประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทุก ๆ 3 ปี โดยคณะกรรมการสำหรับนโยบายพัฒนาของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ประเทศที่ผ่านเกณฑ์ของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเมื่อทำได้มากกว่าระดับที่กำหนดไว้ สำนักงานสหประชาชาติของตัวแทนระดับสูงสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกทะเลและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (UN OHRLLS) จะเป็นศูนย์กลางสำหรับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติต่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด การจัดจำแนกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 มี 48 ประเทศ[5][6]

ตั้งแต่มีการกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดขึ้นมา มีเพียง 3 ประเทศที่ผ่านขึ้นไปสู่ระดับประเทศกำลังพัฒนา ประเทศแรกคือบอตสวานาใน พ.ศ. 2537 ประเทศที่สองคือกาบูเวร์ดีใน พ.ศ. 2550[7] มัลดีฟส์เป็นประเทศที่สามที่ผ่านเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[8] ในปีเดียวกันนี้ สหประชาชาติได้ให้คำแนะนำแก่อิเควทอเรียลกินี ซามัว ตูวาลู และวานูอาตูว่าเกือบจะผ่านจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด[9] ในการประชุมครั้งที่ 4 ของสหประชาชาติเกี่ยวกับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 มีเป้าหมายที่จะผลักดันประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในรายชื่อขณะนี้ให้พ้นสภาวะการพัฒนาน้อยที่สุดภายในสิบปี[10]

การใช้และคำย่อ[แก้]

ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดสามารถแยกออกจากประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาน้อย ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรืออาจใช้คำว่าโลกที่สาม ถึงแม้นักวิชาการบางคนบอกว่าคำว่า “โลกที่สาม” นั้นล้าสมัย บางคนใช้คำว่าโลกที่สี่ (แม้ว่าคำว่าโลกที่สี่จะใช้หมายถึงกลุ่มชนไร้รัฐด้วย) คำว่าประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยมีใช้ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มีความสับสนระหว่างประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) กับประเทศพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อย (LEDC) ซึ่งบางครั้งใช้คำย่อเหมือนกัน และต้องระวังความสับสนกับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกทะเล (LLDC) คำว่าประเทศกำลังพัฒนาจึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่าคำว่าประเทศพัฒนาน้อย

ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งภายในสูง เช่นสงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ การเมืองที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม การจัดตั้งรัฐบาลมักขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคม เอดส์เป็นปัญหาสำคัญภายในประเทศ ส่วนใหญ่ประเทศด้อยพัฒนาจะอยู่ในภูมิภาคสะฮาราในทวีปแอฟริกา

อย่างไรก็ตาม ลักษณะดังกล่าว ไม่ได้สอดคล้องกับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในโอเชียเนีย คิริบาส ซามัว ตูวาลู และวานูอาตู ซึ่งมีระบอบประชาธิปไตยที่เสถียร และไม่มีความขัดแย้งภายใน เรื่องเอดส์ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่เพราะว่าสภาพเศรษฐกิจขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ขึ้นกับวัฒนธรรมเดียว หมู่เกาะโซโลมอนเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเพียงประเทศเดียวในโอเชียเนียที่มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ใน พ.ศ. 2549 สหประชาชาติได้ให้ความเห็นว่าซามัวอาจจะพ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐบาลซามัวไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2550 สภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้คำแนะนำว่าซามัวควรจะพ้นสถานะในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 แต่หลังจากเกิดสึนามิโจมตีซามัวใน พ.ศ. 2552 จึงเลื่อนให้ซามัวพร้อมสำหรับการเลื่อนสถานะใน พ.ศ. 2557

จากการตรวจสอบของสหประชาชาติใน พ.ศ. 2552 สหประชาชาติกำหนดให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเป็นประเทศที่มีลักษณะสามประการ อย่างหนึ่งคือมี GNI น้อยกว่า 905 ดอลลาร์สหรัฐ ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 75 ล้านคนจะถูกตัดออกไป

รายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในปัจจุบัน[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของสหประชาชาติ บางประเทศจัดอยู่ในประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล [11] และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก [12]

แอฟริกา (32 ประเทศ)[แก้]

อเมริกา (1 ประเทศ)[แก้]

เอเชีย (8 ประเทศ)[แก้]

โอเชียเนีย (3 ประเทศ)[แก้]

ประเทศที่เคยเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด[แก้]

  •  รัฐสิกขิม (กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2518) [14][15]
  •  บอตสวานา (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2537)
  •  กาบูเวร์ดี (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2550)
  •  มัลดีฟส์ (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ มกราคม พ.ศ. 2554) [16][17]
  •  ซามัว (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ มกราคม พ.ศ. 2557)
  •  อิเควทอเรียลกินี (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2560)[18]
  •  วานูวาตู (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2563)
  •  ภูฏาน (พ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2566)[19]
  •  บังกลาเทศ (กำลังพ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีผลทางการ พ.ศ. 2569)
  •  เนปาล (กำลังพ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีผลทางการ พ.ศ. 2569)
  •  ลาว (กำลังพ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีผลทางการ พ.ศ. 2569)
  •  กัมพูชา (กำลังพ้นจากกลุ่มนี้เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีผลทางการ พ.ศ. 2570)

อ้างอิง[แก้]

  1. ศัพท์รัฐศาสตร์ เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชบัณฑิตยสถาน
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-09. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
  3. "Criteria For Identification Of LDCs". United Nations Department of Economic and Social Affairs, Development Policy and Analysis Division. สืบค้นเมื่อ 2018-03-02.
  4. UN-OHRLLS Criteria for Identification and Graduation of LDCs เก็บถาวร 2019-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  5. "About LDCs". Least Developed Countries. UN-OHRLLS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-17. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
  6. "Country Profiles". Least Developed Countries. UN-OHRLLS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-17. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
  7. "UN advocate salutes Cape Verde’s graduation from category of poorest States", UN News Centre, 14 June 2007.
  8. "Maldives identifies challenges in graduating to a developing country" เก็บถาวร 2010-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UN-OHRLLS Website, 23 December 2010
  9. "UNCTAD - LDCs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
  10. "Goal to halve number of LDCs in next 10 years". The Guardian. 2011-05-06. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 11.14 11.15 เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
  13. United Nations (PDF). United Nations https://www.un.org/development/desa/dpad/wp-content/uploads/sites/45/publication/ldc_list.pdf. สืบค้นเมื่อ 9 February 2023. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  14. UN Handbook on the LDC Category
  15. ""About Sikkim" from the Government of Sikkim's website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
  16. "Delegates in Preparatory Meeting Express Concern about Shortage of Countries 'Graduating' from Least-Developed Status over Last Decade". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
  17. Istanbul forum offers chance to recommit to helping world’s poorest nations
  18. "Equatorial Guinea Graduates from the LDC Category". United Nations. 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
  19. "Bhutan graduation status". United Nations. สืบค้นเมื่อ 13 December 2023.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]