ประธานาธิบดีโซมาเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานาธิบดี
แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย
Madaxaweynaha Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliyeed
ตราประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ฮัสซัน ชีค โมฮามุด

ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022[1]
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลโซมาเลีย
จวนวิลลาโซมาเลีย
ที่ว่าการโมกาดิชู
ผู้แต่งตั้งรัฐสภากลางโซมาเลีย
วาระ4 ปี,
ดำรงตำแหน่งซ้ำครั้งเดียว
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญโซมาเลีย
สถาปนา1 กรกฎาคม ค.ศ. 1960
คนแรกเอเดน อับดุลลาห์ ออสมัน ดาร์
เงินตอบแทน120,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[2]
เว็บไซต์villasomalia.gov.so

ประธานาธิบดีโซมาเลีย (โซมาลี: Madaxaweynaha Soomaaliya) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย หน้าที่ดำเนินงานทั่วไป ป้องกันและรักษาความมั่งคงของชาติ รักษาอธิปไตยของประเทศ และรักษาความสงบภายในประเทศ

ประวัติ[แก้]

การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2503 หลังโซมาเลียได้รับเอกราชจากอิตาลีและรวมตัวกับบริติชโซมาลีแลนด์[3] โดยมีการเลือกตั้งมาจนถึงสมัยประธานาธิบดีอับดิราชิด อาลี เชอมาร์กีถูกลอบสังหาร และมีการรัฐประหารเกิดขึ้นไซอัด บาร์รีใชัระบอบสังคมนิยมในการปกครองประเทศ[4][5] แต่ต่อมาก็ถูกปลดโดยคองเกรสสหโซมาลี และเกิดสงครามกลางเมืองโซมาเลีย ประธานาธิบดีในสมัยนั้นจึงมาจากการแต่งตั้งและไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างกลุ่มต่าง ๆ อำนาจของประธานาธิบดีมีเพียงพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงโมกาดิชูเท่านั้น[6][7] ต่อมามีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดสันติภาพในประเทศโซมาเลีย จึงได้จัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติขึ้น รัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติได้แต่งตั้งประธานาธิบดีแต่ก็ยังคงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศ เนื่องจากรัฐบาลมิได้ตั้งอยู่ในประเทศ ประเทศโซมาเลียในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพศาลอิสลาม,[8] จากนั้นจึงได้มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน ในยุคนี้ประธานาธิบดีจะมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภากลางโซมาเลียและเริ่มมีอำนาจในการปกครองเพราะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพสหภาพแอฟริกา[9] และรัฐบาลได้กลับมาตั้งที่ทำการที่กรุงโมกาดิชูอีกครั้ง ปัจจุบันหลังจากยุบรัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน และจัดตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย ประเทศก็เริ่มมีประธานาธิบดีและรัฐบาลถาวรเข้ามาบริหารประเทศ[10]

อำนาจหน้าที่[แก้]

ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ ข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โดยได้รับการยินยอมจากรัฐสภากลางโซมาเลีย[11][12] และประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพโซมาเลีย[13]

การเลือกตั้ง[แก้]

ปัจจุบันประธานาธิบดีโซมาเลียจะมาจากการเลือกตั้งในรัฐสภากลางโซมาเลียซึ่งมาจากการแต่งตั้ง[14] เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเลือกตั้งได้ โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากสมาชิกรัฐสภากลางโซมาเลียจะได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งมีวาระ 4 ปี[15] การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่ยุคการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ของไซอัด บาร์รี โซมาเลียก็ไม่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชนมาอย่างยาวนานเนื่องจากสถานการณ์การสู้รบอย่างหนักและขาดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพในการปกครองประเทศ[16] ประธานาธิบดีส่วนใหญ่จึงมาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภาที่มาจากการแต่งตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปในโซมาเลียครั้งสุดท้ายจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยพรรคสังคมนิยมปฏิวัติโซมาลีชนะการเลือกตั้งและสถาปนาระบอบสังคมนิยมในการปกครองประเทศ จากนั้นประเทศโซมาเลียจึงไม่มีการเลือกตั้งจากประชาชนอีก[17]

ที่พำนัก[แก้]

ประธานาธิบดีจะทำงานและพำนักที่วิลลาโซมาเลียซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโมกาดิชู[18] เป็นสถานที่ที่ได้รับการคุ้มกันโดยกำลังทหารอย่างแน่นหนาและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดในโซมาเลีย[19]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mohamud, Ali (15 May 2022). "Somalia's new president elected by 327 people". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2022. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
  2. "Salaries for sitting African presidents". Daily Monitor. 27 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2020. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  3. "Somali leaders back new constitution". BBC. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  4. "Somalia adopts a constitution, amidst insecurity". Garowe Online. 1 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
  5. "Somalia's newly-endorsed constitution widely hailed". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  6. "Garowe Online". Garowe Online. 2012-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  7. "Second Garowe Conference Concludes". SomaliaReport. 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  8. Ahmed, Muddassar (8 August 2012). "Somalia rising after two decades of civil war and unrest". Al Arabiya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
  9. "Somali parliament to elect new president". Al Jazeera English. 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  10. Is Somalia ready for real democracy? เก็บถาวร 2015-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Al Jazeera, 3 August 2012
  11. "Garowe Online". Garowe Online. 2012-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  12. "Garowe Online". Garowe Online. 2012-08-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  13. "Somali leaders back new constitution". BBC. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  14. "Somalia: Sheikh Sharif vs Newcomer Sheikh Mahamoud in Final Round of Presidential Elections". Garowe Online. 10 September. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. "Somalia Federal Parliament elects Hassan Sheikh Mohamud as President". Garowe Online. 10 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
  16. Mohamed, Mahmoud (17 August 2012). "Profiles of Somalia's top presidential candidates". Sabahi. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  17. "Somalia: Electoral Commission releases criteria for candidates running for President". Garowe Online. 1 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.
  18. "Somalia President, H.E. Hassan Sheikh Mohamud hosted dinner at Villa Somalia". Warsheekh. 7 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
  19. "Somalia president visits Mogadishu after Ethiopian victory". Garowe Online. 8 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-19. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.