ปรศุราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรศุราม
จำพวกอวตารของพระวิษณุ
อาวุธขวาน
บิดาฤๅษีชมทัคคี
มารดานางเรณุกา
คู่ครองพระแม่ธรณี

ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ 6 ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์) เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี 1,000 มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ 3 จากทั้งหมด 4 ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน (กรรตวีรยะ) นั่นเอง

หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทางไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป

ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 8 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผู้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี[1]

ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ, โทรณาจารย์ และ กรรณะ

ในคติพราหมณ์ไทยเรียกปางปรศุรามว่า รามสูร เป็นยักษ์ขว้างขวานเพื่อชิงดวงแก้ววิเศษจากเมขลา และไปรบฆ่าอรชุนตาย ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์[2] เพราะถูกมองว่าเป็นยักษ์ ในหนังสือ นารายณ์สิบปาง จึงไม่นับปรศุรามเป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปรศุราม : ผู้ฆ่ากษัตริย์ทั้งโลก 21 ครั้ง![1]
  2. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. "ลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ คำนำ". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. "พระเป็นเจ้าของพราหมณ์ อวตาร". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)