ปฏิบัติการกัสตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการกัสตอร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
วันที่20 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953
สถานที่
ผล ชัยชนะของสหภาพฝรั่งเศส;
การสร้างด่านหน้าในเดียนเบียนฟู
คู่สงคราม

ฝรั่งเศส สหภาพฝรั่งเศส

เวียดนามเหนือ เวียดมินห์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส ฌ็อง ฌีล
กำลัง
4,195 นาย(ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน)[1]
ความสูญเสีย
ณ 20 พฤศจิกายน:
เสียชีวิต 16 นาย,
ได้รับบาดเจ็บ 47 นาย
ณ 20 พฤศจิกายน:
เสียชีวิต 115 นาย,
ได้รับบาดเจ็บ 4 นาย

ปฏิบัติการกัสตอร์ (ฝรั่งเศส: Opération Castor) เป็นปฏิบัติการพลร่มของฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ปฏิบัติการดังกล่าวได้สร้างหัวหาดอากาศที่ได้รับการป้องกันในจังหวัดเดี่ยนเบียน ซึ่งตั้งอยู่มุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวา ฌ็อง ฌีล ปฏิบัติการกัสตอร์เป็นปฏิบัติการพลร่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 10.35 น. ของวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953 โดยมีกำลังหนุนถูกส่งเข้ามาสนับสนุนในอีกสองวันต่อมา และยุติลงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน โดยที่ฝ่ายฝรั่งเศสบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ

พลร่มฝรั่งเศสของกองพันพลร่มอาณานิคมที่ 6 (6ème BPC) และกองพันที่ 2 กรมทหารพลร่มไล่ล่าที่ 1 (1er RCP) ได้กระโดดร่มลงเหนือเดียนเบียนฟูเพื่อยึดลานบินซึ่งสร้างขึ้นโดยฝ่ายญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1945 ปฏิบัติการดังกล่าวใช้เครื่องบินดาโกตา 65 ลำ จากที่สามารถใช้การได้อยู่ 70 ลำ และเครื่องบินบรรทุกซี-119 ฟลายอิงบอกซ์คาร์ ทั้งหมด 12 ลำที่ฝรั่งเศสมีอยู่ในพื้นที่ และที่แม้ว่าจะใช้เครื่องบินมากถึงเพียงนี้แล้ว เครื่องบินก็ยังต้องเดินทางสองรอบเพื่อนำกำลังเข้าไปยังพื้นที่ ทหารที่กระโดดร่มลงไปในการบุกระลอกแรก คือ ทหารจากกองร้อยพลร่มทหารช่างที่ 17 และกลุ่มจากกองบัญชาการของกลุ่มพลร่มที่ 1 ในตอนบ่าย ทหารจากกองพันพลร่มอาณานิคมที่ 1 (1 BPC) และทหารจากกรมทหารพลร่มปืนใหญ่เบาที่ 35 (35 RALP) และส่วนสนับสนุนการรบอื่น ๆ ได้ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ตาม

ในวันต่อมา กลุ่มพลร่มที่สอง "GAP 2" ซึ่งประกอบด้วยกองพันพลร่มต่างด้าวที่ 1 (1 BEP) กองพันพลร่มจู่โจมเร็วที่ 8 (8 BPC) ส่วนช่วยรบอื่น ๆ และกลุ่มกองบัญชาการใหญ่และบัญชาการทั้งหมดสำหรับปฏิบัติการเดียนเบียนฟูรวมทั้งตัวพลจัตวา ฌ็อง ฌีล ได้ถูกส่งเข้ามาในพื้นที่ ในขณะที่ในพื้นที่ทิ้งลงอีกแห่งหนึ่ง ยุทโธปกรณ์หนักได้ลงมาถึงและวิศวกรได้ทำการซ่อมแซมและขยายความยาวของลานบินอย่างรวดเร็ว

วันที่ 22 พฤศจิกายน กองกำลังชุดสุดท้ายสำหรับที่มั่นแรกเริ่ม กองพันพลร่มเวียดนามที่ 5 (5 BPVN) ได้กระโดดร่มลงสู่หุบเขา นายพลนาวาร์ได้สร้างด่านหน้าเพื่อล่อเวียดมินห์ให้เข้ามาสู่การรบแบบที่มั่น ยุทธการที่เดียนเบียนฟูเกิดขึ้นสี่เดือนหลังจากปฏิบัติการดังกล่าว

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Chen Jian. 1993. "China and the First Indo-China War, 1950-54", The China Quarterly, No. 133. (Mar., 1993), pp 85–110. London: School of Oriental and African Studies.
  • Cogan, Charles G. 2000. "L'attitude des États-Unis à l'égard de la guerre d'Indochine" in Vaïsse (2000: 51–88).
  • Fall, Barnard. 2005. Street Without Joy. Barnsley: Pen & Sword Military. ISBN 978-1844153183
  • Farrell, Ryan F. 1991. "Airlift's role at Dien Bien Phu and Khe Sanh". Global Security website. Retrieved: February 19, 2008.
  • Friang, Brigitte. 1958. Parachutes and Petticoats. London: Jarrolds.
  • Giap, Vo Nguyen. 1971. The Military Art of People's War. New York & London: Modern Reader. ISBN 085345-193-1
  • Navarre, Henri. 1956. Agonie de l'Indochine. Paris: Librairie Plon. ISBN 978-2870278109
  • Simpson, Howard R. 1994. Dien Bien Phu: The Epic Battle America Forgot. London: Brassey's. ISBN 978-1574880243
  • Vaïsse, Maurice (editor). 2000. L'Armée française dans la guerre d'Indochine (1946–1954). Paris: Editions Complexe.
  • Windrow, Martin. 1998. The French Indochina War, 1946-1954, Osprey. ISBN 1855327899
  • Windrow, Martin. 2004. The Last Valley. Weidenfeld and Nicolson. ISBN 0306813866

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]