ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2468
ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
นามปากกาปกรณ์ ปิ่นเฉลียว, ทิฆัมพร หยาดเมฆา
อาชีพนักเขียน ตำรวจ
แนวเรื่องสั้น เรื่องขำขัน เรื่องสยองขวัญ
คู่สมรสสายสมร เทียนประภาสิทธิ์

พันตำรวจเอก (พิเศษ) ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) นักเขียนชาวไทย

ประวัติ[แก้]

ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เป็นบุตรชายคนโตของ นายวิวัธน์ และนางพวง ปิ่นเฉลียว มีพี่สาวชื่อ มาลัย มีน้องชายคือ วาทิน ปิ่นเฉลียว (ต่วย) และน้องสาว คือ จินตนา ปิ่นเฉลียว (ภักดีชายแดน) (นามปากกา จินตวีร์ วิวัธน์) [1] ปกรณ์เกิดที่บ้านตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่าไมรา ปิ่นเฉลียว ซึ่งบิดาตั้งให้คล้องจองกับชื่อพี่สาวว่า มาลัย-ไมรา [2]

ไมราติดตามบิดามาอยู่กรุงเทพตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้สมัครเป็นสารวัตรทหาร เพื่อทำงานร่วมกับขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จากนั้นได้สมัครเข้ารับราชการตำรวจ รับราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ จังหวัดชัยภูมิ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2528 ในตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล

ปกรณ์เปลี่ยนชื่อจากไมราเป็นปกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2494 ขณะใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดแพร่ ตามชื่อของปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ในขณะนั้น [2] เนื่องจากมีพระสงฆ์ทักว่าชื่อไมราเป็นกาลกิณีกับตัวเอง [1] สมรสกับสายสมร เทียนประภาสิทธิ์ ครูชาวจังหวัดแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2498 มีบุตร 3 คน

ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว ได้รับรางวัลช่อการะเกดเกียรติยศ เมื่อปี พ.ศ. 2539 [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
  2. 2.0 2.1 คริส สารคามนักเขียนในอดีต 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2542. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7343-81-9
  3. ณรงค์ จันทร์เรือง, มติชนสุดสัปดาห์ 16,810 (27 ก.พ.39) หน้า 71-72