อำเภอบ้านแพ้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บ้านแพ้ว)
อำเภอบ้านแพ้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Phaeo
คลองดำเนินสะดวก
คำขวัญ: 
แดนดินกลิ่นดอกส้ม ดงองุ่นหวาน น้ำตาลบริสุทธิ์ สุดสวยด้วยกล้วยไม้ หลากหลายไม้ผลนานาพันธุ์
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอบ้านแพ้ว
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอบ้านแพ้ว
พิกัด: 13°35′26″N 100°6′28″E / 13.59056°N 100.10778°E / 13.59056; 100.10778
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด245.031 ตร.กม. (94.607 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด100,426 คน
 • ความหนาแน่น409.85 คน/ตร.กม. (1,061.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 74120, 70210 (เฉพาะ
เลขที่ 1-36 หมู่ที่ 4 ตำบลโรงเข้,
เลขที่ 1-26 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองสองห้อง)
รหัสภูมิศาสตร์7403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านแพ้ว หมู่ที่ 1
ริมคลองดำเนินสะดวก ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 74120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านแพ้ว เป็นอำเภอหนึ่งในสามของจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง เป็นอำเภอที่มีศักยภาพและความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืช ผัก ผลไม้ กุ้ง ปลาสลิด ที่หลากหลายอันเลื่องชื่อจนถือเป็นเอกลักษณ์ของดีของเด่น ของอำเภอบ้านแพ้วที่รู้จักกันมาช้านาน ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของอำเภอ ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง มะนาว องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น และเป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดราษฎร์ศรัทธาธรรมกะยาราม

พิธีแห่หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ทางน้ำ
วัดคลองตันราษฎร์บำรุง ตำบลคลองตัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบ้านแพ้วมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

คำว่า "บ้านแพ้ว" มีที่มาจากสัญลักษณ์ของคนยุคก่อนในสมัยที่พื้นที่อำเภอบ้านแพ้วมีสภาพเป็นป่าทึบชายทะเล อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และไม้นานาชนิด ทำให้มีผู้คนบริเวณใกล้เคียงเดินทางเข้ามาล่าสัตว์และแสวงหาผลิตผลจากป่าเพื่อดำรงชีวิต ด้วยเหตุที่พื้นที่ดังกล่าวมีบริเวณกว้างและมีลำธารธรรมชาติมาก ที่สำคัญได้แก่บริเวณคลองหมู่ทอดและคลองแพ้ว จึงกลายเป็นแหล่งนัดพบของประชาชน ซึ่งจะหาไม้ไผ่หรือต้นไม้สูงแล้วนำผ้าไปผูกไว้ (เรียกว่า แพ้วธง) เพื่อป้องกันการหลงทางและเป็นจุดนัดพบ จนกระทั่งประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้นจึงเรียกชื่อชุมชนว่า "หมู่บ้านแพ้ว" เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสามพราน ตั้งขึ้นเป็นตำบลในนาม "ตำบลแพ้ว"[1][2] ต่อมาเรียกว่าตำบลบ้านแพ้ว และมีพื้นที่ใกล้เคียงคือ ตำบลเจ็ดริ้ว[3][4] ตำบลคลองตัน[5][6][7] และตำบลดอนไผ่[1][2] อำเภอตลาดใหม่ (อำเภอสามพราน) ซึ่งทั้งสี่ตำบลตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 และมีพื้นที่บางส่วนรับมาจากอำเภอกระทุ่มแบน คือ ตำบลดำเนินสะดวก[8] และพื้นที่ตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร

  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2468 ย้ายอำเภอบ้านบ่อมาตั้งที่หมู่บ้านแพ้ว รวมพื้นที่ตำบลดอนไผ่ ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลคลองตัน จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร กับตำบลดำเนินสะดวก (ตำบลสวนส้ม) อำเภอกระทุ่มแบน รวมเข้ากับตำบลหลักสามและตำบลโรงเข้ ของอำเภอบ้านบ่อ (อำเภอเมืองสมุทรสาคร) จัดตั้งเป็น อำเภอบ้านแพ้ว[9]
  • วันที่ 6 ธันวาคม 2468 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว โดยโอนพื้นที่ตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร และตำบลดำเนินสะดวก อำเภอกระทุ่มแบน มาขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว[10]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2485 ยุบจังหวัดสมุทรสาคร รวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี[11] เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบ้านแพ้วจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรสาครขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[12] จึงทำให้อำเภอบ้านแพ้วกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรสาครเหมือนเดิม
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านแพ้ว และตำบลหลักสาม[13]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลหลักห้า ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอนไผ่ ตำบลโรงเข้ และตำบลหลักสาม[14][15]
  • วันที 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลยกกระบัตร แยกออกจากตำบลโรงเข้และตำบลหลักสาม[16]
  • วันที่ 25 มกราคม 2509 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหลักห้า[17] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลดอนไผ่ ตำบลโรงเข้ ตำบลยกกระบัตร
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลดำเนินสะดวก อำเภอบ้านแพ้ว เป็น ตำบลสวนส้ม[18]
  • วันที่ 11 เมษายน 2515 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลดอนไผ่ อำเภอบ้านแพ้ว เป็น ตำบลหนองสองห้อง[19]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลบ้านแพ้ว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบ้านแพ้ว) สภาตำบลเจ็ดริ้ว สภาตำบลคลองตัน สภาตำบลสวนส้ม และสภาตำบลหลักสาม (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบ้านแพ้ว)[20]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลหนองบัว โดยแยกออกจากตำบลหนองสองห้อง[21]
  • วันที่ 10 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลหลักสอง โดยแยกออกจากตำบลเจ็ดริ้ว[22] และจัดตั้งสภาตำบลหลักสอง
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลเกษตรพัฒนา โดยแยกออกจากตำบลคลองตัน[23] และจัดตั้งสภาตำบลเกษตรพัฒนา
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลเกษตรพัฒนา ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 5 ตำบลคลองตัน และหมู่ 2,3 ตำบลเกษตรพัฒนา[24]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลหลักสาม (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบ้านแพ้ว) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม[25]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบ้านแพ้ว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบ้านแพ้ว) สภาตำบลอำแพง สภาตำบลสวนส้ม สภาตำบลเจ็ดริ้ว สภาตำบลเกษตรพัฒนา สภาตำบลคลองตัน และสภาตำบลหลักสอง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพ้ว องค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง องค์การบริหารส่วนตำบลสวนส้ม องค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตัน และองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสอง[26] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านแพ้ว สุขาภิบาลหลักห้า และสุขาภิบาลเกษตรพัฒนา เป็นเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว เทศบาลตำบลหลักห้า และเทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา ตามลำดับ[27] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรพัฒนา รวมกับเทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา[28]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านแพ้วแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[29]
แผนที่
1. บ้านแพ้ว Ban Phaeo
10,345
 Map of Tambon
2. หลักสาม Lak Sam
16,895
3. ยกกระบัตร Yokkrabat
14,805
4. โรงเข้ Rong Khe
12,173
5. หนองสองห้อง Nong Song Hong
8,456
6. หนองบัว Nong Bua
6,711
7. หลักสอง Lak Song
4,565
8. เจ็ดริ้ว Chet Rio
4,016
9. คลองตัน Khlong Tan
5,478
10. อำแพง Amphaeng
7,143
11. สวนส้ม Suan Som
5,206
12. เกษตรพัฒนา Kaset Phatthana
5,070

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านแพ้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านแพ้วและตำบลหลักสาม
  • เทศบาลตำบลหลักห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ตำบลโรงเข้ ตำบลหนองสองห้อง และตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษตรพัฒนาทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลคลองตัน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแพ้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักสาม (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักสองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ็ดริ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตัน (นอกเขตเทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอำแพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนส้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนส้มทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านดอนไผ่ ตำบลดอนไผ่ อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านแพ้ว ตำบลแพ้ว อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านพะเนียด ตำบลพะเนียด อำเภอพระปฐมเจดีย์,ทุ่งบ้านทุ่งน้อย ตำบลทุ่งน้อย อำเภอพระปฐมเจดีย์ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (2): 31–32. April 14, 1907.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศกำหนดวันจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านทุ่งน้อย ตำบลทุ่งน้อย อำเภอพระปฐม,ทุ่งบ้านพะเนียด ตำบลบ้านพะเนียด อำเภอเมือง,ทุ่งบ้านดอนไผ่ ตำบลดอนไผ่ อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านแพ้ว ตำบลแพ้ว อำเภอตลาดใหม่ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (7): 159–160. May 19, 1907.
  3. "ประกาศ บอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านบางระทึก ตำบลบางระทึก อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านตลาดจินดา ตำบลตลาดจินดา อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านเจ็ดริ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านพะเนียงแตก ตำบลพะเนียงแตก อำเภอพระปฐมเจดีย์ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (43): 1103–1104. January 20, 1906.
  4. "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศกำหนดวันจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านเจ็ดริ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านพะเนียงแตก ตำบลพะเนียงแตก อำเภอพระปฐมเจดีย์ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (2): 31. April 14, 1907.
  5. "ประกาศ กำหนดวันจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านท่าพูด ตำบลท่าพูด อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านกระทุ่มล้ม ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านคลองตัน ตำบลคลองตัน อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านอ้อมใหญ่ ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านใหม่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านคลองจินดา ตำบลคลองจินดา อำเภอตลาดใหม่ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (42): 1084. January 13, 1906.
  6. "ประกาศ บอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านคลองตัน ตำบลคลองตัน อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านคลองจินดา ตำบลคลองจินดา อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านบ้านใหม่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอตลาดใหม่ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (38): 971–972. December 16, 1906.
  7. "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านชูกัง ตำบลชูกัง อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านหัวย่าน ตำบลหัวย่าน อำเภอตลาดใหม่,ทุ่งบ้านคลองตัน ตำบลคลองตัน อำเภอตลาดใหม่ แขวงเมืองนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (13): 299. June 30, 1907.
  8. "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดที่ดิน (ทุ่งบ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร, ทุ่งบ้านดำเนินสะดวก ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 1388. September 15, 1918.
  9. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายคณะอำเภอบ้านบ่อไปตั้งที่ตำบลบ้านแพ้วแล้วตั้งกิ่งบ้านบ่อขึ้นแทน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2465. November 8, 1925.
  10. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร และตำบลดำเนินสะดวก อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งยกไปรวมขึ้นอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 231. December 6, 1925.
  11. "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77 ก): 2447–2449. December 10, 1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  12. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. May 9, 1946. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (พิเศษ 74 ง): 121–122. September 17, 1955.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 60 ง): 32–33. August 3, 1956.
  15. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๕ ฉบับพิเศษ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร หน้า ๓๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (71 ง): 0. September 4, 1956.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอพิชัย จังหวัดอุตตรดิตถ์ กับอำเภอวารินชำราบ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอพิบูลมังษาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3038–3051. December 16, 1958.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหลักห้า อำเภอบ้านแผ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (8 ง): 310–311. January 25, 1966.
  18. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. October 29, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อตำบลบางแห่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (58 ง): 857–858. April 15, 1972.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 11-13. July 5, 1974.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (101 ง): 2033–2036. August 10, 1976.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (99 ง): 2919–2922. July 20, 1982.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ง): 19–20. May 5, 1994.
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. March 3, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  27. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. 15 กันยายน 2004.
  29. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.