บี-บอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บี-บอย ในงานเอ็มทีวีสตรีทเฟสติวัล หน้าลานเซ็นทรัลเวิร์ล

บี-บอย (อังกฤษ: B-boy) หรือ บี-เกิร์ล (อังกฤษ: B-girl) คือคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมฮิปฮอป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเต้นเบรกแด๊นซ์ ที่มาของคำมาจากดีเจฮิปฮอปที่ชื่อ ดีเจ คู เฮิร์ก (อังกฤษ: DJ Kool Herc) ที่สังเกตว่ามีการตอบรับของกลุ่มนักเต้นในขณะที่เขาเปิดเพลงอยู่ โดยได้ตั้งชื่อพวกเขาว่าเป็น บีต-บอย (อังกฤษ: beat-boy) หรือ บี-บอย

กลุ่มบี-บอย สังเกตได้จากการแต่งกาย รสนิยมการฟังเพลง หรือวิถีชีวิต แต่ในปีหลัง ๆ จะดูเฉพาะเจาะจงเฉพาะกลุ่มนักเต้น

การเต้นของนักเต้นบี-บอย จะมี 4 องค์ประกอบพื้นฐาน เริ่มจาก ท็อปร็อก (อังกฤษ: Toprock) องค์ประกอบที่ 2 คือ ดาวน์ร็อก (อังกฤษ: Downrock) หรือ ฟุตเวิร์ก (อังกฤษ: Footwork) องค์ประกอบที่ 3 คือ ฟรีซ (อังกฤษ: Freeze) และองค์ประกอบสุดท้ายคือ พาวเวอร์ (อังกฤษ: Power)

ประวัติ[แก้]

เบรกกิ้ง (Breaking) หรือ บี-บอยอิ่ง (b-boying) โดยทั่วไปจะเรียกกันในชื่อ Breakdance (เบรกแดนซ์) เป็นรูปแบบการเต้นที่พัฒนา ในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป ในกลุ่มวัยรุ่นผิวสีและละตินอเมริกา ในเซาท์บรองซ์ในช่วงต้น ค.ศ. 1970 คำว่า บี-บอย มาจากคำว่า เบรกบอย (break boy) ด้วยเหตุผลที่พวกเขาจะเป็นพวกเต้นโดยเฉพาะ.[1][2][3] โดยจะเต้นทั้งในแนวเพลงฮิปฮอป, ฟังค์ และ แนวเพลงอื่น ๆ ด้วยที่มักเป็นดนตรีรีมิกซ์ ที่คั่นระหว่างเพลงพัก

4 องค์ประกอบเบื้องต้นมาจากรากฐานในการเต้น เบรกกิ้ง (Breaking) องค์ประกอบแรกคือ ท๊อปร็อก (TopRock) คำศัพท์ที่ว่านี้จะหมายถึง เป็นการเต้นที่ มีรูปแบบเป็นลักษณะยืนเต้นซึ่งแปลตรงตัวเลยตามคำคือ Top แปลว่าด้านบน Rock คือการเขย่าหรือโยก นั่นเอง องค์ประกอบที่ 2 ดาวน์ร็อก (Downrock) แปลตรงตัวอีกเช่นกัน คือ Down แปลว่า ด้านล่าง Rock แปลว่าเขย่าหรือโยก แปลรวมกันคือ การเต้นแบบด้านล่าง ซึ่งจะเรียกกันอีกอย่างว่า ฟุตเวิร์ก (Footwork) เป็นการเต้นลงบนพื้น องค์ประกอบที่ 3 คือ ฟรีซ (Freeze) เป็นท่าจบ โดยจะ หยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทำการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง อาจจะเป็นท่าโพสท่าแบบธรรมดา หรือ เป็นท่าที่ผาดโผนก็ได้ เช่น โพสแบบกลับหัว องค์ประกอบที่ 4 คือ พาวเวอร์มูฟ (Powermove) เป็นท่าที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นท่าที่ผาดโผนในการเคลื่อนไหว ทำท่าหมุนบนพื้นหรือบนอากาศ

คำว่า เบรกแดนซ์ซิ่ง (breakdancing) จะยังไม่เป็นที่ยอมรับในวัฒนธรรมฮิปฮอป เพราะเป็นคำที่แต่งขึ้นมาโดยสื่อมวลชนเพื่ออธิบาย การเต้นเบรกกิ้ง หรือ บี-บอย ผู้บุกเบิกรูปแบบศิลปะส่วนใหญ่และผู้ฝึกที่โด่งดัง เรียกท่าเต้นดังกล่าว ว่า บี-บอยอิ้ง (b-boying)[4][5][6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. FastDVD, สอนเต้นบีบอย (July 7, 2007). "ขาย DVD สอนเต้นบีบอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
  2. Brown, Lauren (February 18, 2009). "Hip to the Game – Dance World vs. Music Industry, The Battle for Hip Hop's Legacy". Movmnt Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-09.
  3. Schloss, Joseph (2009). Foundation: B-boys, B-girls, And Hip-Hop Culture In New York. Oxford University Press.
  4. Klopman, Alan (January 1, 2007). Interview with Popin' Pete & Mr. Wiggles at Monsters of Hip Hop - July 7-9, 2006, Orlando, Florida เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. DancerUniverse.com (Dancer Publishing). Retrieved 2009-09-09
  5. Jorge "Popmaster Fabel" Pabon (1999). "Physical Graffiti... The History of Hip Hop Dance". Davey D's Hip Hop Corner. eLine Productions. สืบค้นเมื่อ 2009-09-09.
  6. Jorge "Popmaster Fabel" Pabon (September 10, 2009). "25 Things You Should Know About Hip Hop". Dancer Universe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2009-09-28.
  7. Israel (director) (2002). The Freshest Kids: A History of the B-Boy (DVD). USA: QD3 Entertainment.
  8. Adam Mansbach (24 May 2009). "The ascent of hip-hop: A historical, cultural, and aesthetic study of b-boying". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2009-09-09.