ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บีอาร์เอ็นคองเกรส)
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani
ธงของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
ผู้นำฮัสซัน ตอยิบ, มะแซ อุเซ็ง, สะแปอิง บาซอ, อับดุลเลาะ มูนิร, ดุลเลาะ แวมัน (อุซตาซเลาะห์), อับรอเซะฮ์ ปาแรรูเปาะฮ์, อับดุลกานิน กะลูปิง, อิสมาแอ โต๊ะยาหลง, อาดือนัน มามะ, บอรอติง บินบือราเฮง แลพยูซุฟ รายาหลง (อุซตาซอิสมาแอ) และคนอื่น ๆ
ขอบเขตปฏิบัติการปาตานี
แนวคิดเอกราชปาตานี
ญิฮาด
เขตปกครองตนเองปาตานี
การโจมตีเด่นความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ขนาด200 (เป้าหมาย)[ต้องการอ้างอิง]

ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (มลายู: Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani[1][2]; อังกฤษ: Patani Malayu National Revolutionary Front) หรือบีอาร์เอ็นก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 โดยอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน กลุ่มนี้วางแผนก่อเหตุจับตัวจังหวัดในวันฮารีรายอ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 แต่เจ้าหน้าที่สืบทราบล่วงหน้าจึงถูกจับกุม โดยหะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับกุมด้วย และถูกจำคุกจนถึง พ.ศ. 2508 เมื่อพ้นโทษ หะยีอามีนจึงลี้ภัยไปอยู่มาเลเซียจนเสียชีวิต

บีอาร์เอ็นมีความเข้มแข็งมาก รบแบบกองโจร พ.ศ. 2511 ได้จัดตั้งหน่วยทหารลาดตระเวนขนาดเล็กใช้ชื่อว่า RKK และ กองกำลังติดอาวุธปลดแอกอิสลามปัตตานี (มลายู: Angkatan Bersenjata Revolusi Patani : ABRIP[3][4]; อังกฤษ: Patani Islamic Liberation Armed Forces) ซึ่งเป็นทหารที่ถูกฝึกมาจากหน่วยรบพิเศษของประเทศอินโดนีเซีย เคลื่อนไหวอยู่ในแถบ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

ธงอีกแบบหนึ่งของบีอาร์เอ็น

ความแตกแยกในองค์กร[แก้]

พ.ศ. 2520 เกิดความแตกแยกในหมู่แกนนำบีอาร์เอ็น จน พ.ศ. 2522 อามีนแยกตัวไปตั้ง บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต พ.ศ. 2526 มีการประชุมสมัชชา เลือกผู้นำใหม่คือ เปาะนูซา ยาลิล และตั้งชื่อขบวนการใหม่ว่าบีอาร์เอ็น คองเกรส ส่วนอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน ผู้นำเดิมหมดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง จึงรวบรวมกำลังไปตั้งองค์กรใหม่เรียก บีอาร์เอ็น อูลามา

บีอาร์เอ็น คองเกรส[แก้]

เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีเป้าหมายเพื่อก่อกวนและสร้างปัญหาทางสังคมจิตวิทยา เพื่อดำรงสภาพของตนไว้ เน้นการรบแบบจรยุทธ์ ไม่สร้างที่พักถาวร แต่ใช้การหลบหนีข้ามพรมแดน ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครอง และขู่กรรโชกส่วนแบ่งจากการซื้อขายที่ดิน การสนับสนุนจากต่างประเทศมีน้อย มีความสัมพันธ์กับขบวนการอื่นในต่างประเทศ เช่น กลุ่มโมโร ขบวนการอาเจะฮ์เสรี และกลุ่มที่เคลื่อนไหวในหมู่เกาะโมลุกกะ

ศักยภาพการเคลื่อนไหวขององค์กรลดลงหลังไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อ พ.ศ. 2523 สถานะปัจจุบัน ประธานคือ รอสะ บูราซอ กำลังทหารเหลืออยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่กระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต[แก้]

ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน การข่าวของไทยเชื่อว่า เป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมือง โดยใช้การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นเกราะกำบังเพื่อขยายเครือข่ายสู่กลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุด จากคำอ้างของกลุ่ม มีสมาชิกเป็นแสนคน และเป็นผู้บงการขบวนการก่อความไม่สงบสุขอาร์เคเค

บีอาร์เอ็น อูลามา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  2. Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  3. "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  4. Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  • สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. สันติภาพในเปลวเพลิง. กทม. เนชั่นบุกส์. 2547
  • แจ๊ค สโลโมชั่น. แสงสว่างแห่งอิสรภาพ. ปัตตานี. โจอี้ พับบลิชชิ่ง. 2555