บิชเคก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิชเคก

Бишкек (คีร์กีซ)
เมืองหลวง
การถอดเสียงภาษาคีร์กีซ
 • ISO 9biškek
 • BGN/PCGNbishkek
 • ALA-LCbishkek
จัตุรัสอะลา-โต (Ала-тоо аянты)
จัตุรัสอะลา-โต (Ала-тоо аянты)
ธงของบิชเคก
ธง
ตราราชการของบิชเคก
ตราอาร์ม
บิชเคกตั้งอยู่ในคีร์กีซสถาน
บิชเคก
บิชเคก
ที่ตั้งในประเทศคีร์กีซสถาน
พิกัด: 42°52′29″N 74°36′44″E / 42.87472°N 74.61222°E / 42.87472; 74.61222
ประเทศ คีร์กีซสถาน
จังหวัดบิชเคก[1] (แต่เป็นเมืองหลักของจังหวัดชึยด้วย)
ก่อตั้งค.ศ. 1825
อำเภอ[2]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบักตึยเบก กูดัยเบร์กีนอฟ
(Бактыбек Кудайбергенов)
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด169.9 ตร.กม. (65.6 ตร.ไมล์)
ความสูง800 เมตร (2,600 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2020)[4]
 • ทั้งหมด1,053,915 คน
 • ความหนาแน่น6,200 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+6 (KGT)
Postal code720000-720085
รหัสพื้นที่(+996) 312
ทะเบียนพาหนะ01
HDI (ค.ศ. 2017)0.730[5]
สูง · อันดับที่ 1
เว็บไซต์meria.kg (ในภาษาคีร์กีซและรัสเซีย)

บิชเคก (คีร์กีซ: Бишкек, Bişkek, بىشکەک, ออกเสียง: [biʃˈkek]) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคีร์กีซสถาน และยังเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดชึยที่อยู่รอบเมือง แม้ว่าเมืองจะไม่ได้อยู่ในฐานะจังหวัดแต่มีฐานะเท่าจังหวัด บิชเคกตั้งอยู่ที่ 42°52′29″N 74°36′44″E / 42.87472°N 74.61222°E / 42.87472; 74.61222 มีแม่น้ำชึยไหลผ่าน บิชเคกยังอยู่ในเส้นทางรถไฟสายเตอร์กีสถาน-ไซบีเรีย

ประวัติศาสตร์[แก้]

การปกครองโดยข่านแห่งโกกันด์[แก้]

เดิมทีเป็นบริเวณจุดพักกองคาราวาน (อาจตั้งขึ้นโดยชาวซอกเดีย) บนเส้นทางสายหนึ่งของเส้นทางสายไหมผ่านเทือกเขาเทียนชาน ได้มีการก่อสร้างป้อมปราการขึ้นในปี พ.ศ. 2368 โดยข่านแห่งโกกันด์ ซึ่งลักษณะป้อมก่อสร้างด้วยโคลน ในช่วงสุดท้ายของการปกครองของโกกันด์ ป้อมปราการพิชเพก (Пишпек; Pishpek) อยู่ในอำนาจของผู้นำเผ่า (Атабек; Atabeg) ซึ่งมีสมญานาม ดัตกา (คีร์กีซ: Датка, อักษรโรมัน: Datka)

สมัยการปกครองโดยซาร์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2403 จักรวรรดิรัสเซียได้เข้าผนวกพื้นที่ กองกำลังทหารของพันเอก อพอลลอน เอร์เนสโตวิช ซิมเมอร์มาน (รัสเซีย: Аполлон Эрнестович Циммерман) เข้ายึดและรื้อป้อมปราการ พันเอกซิมเมอร์มาน สร้างเมืองขึ้นใหม่บนป้อมที่ถูกทำลายและแต่งตั้งนายพันติตอฟ เป็นหัวหน้ากองทหารรักษาการณ์ รัฐบาลจักรวรรดิรัสเซียได้พัฒนาพื้นที่ใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 เป็นต้นมา ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของชาวนารัสเซียโดยให้ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์เพื่อทำการเกษตร

ยุคสหภาพโซเวียต[แก้]

อนุสาวรีย์ฟรุนเซบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟ

ในปี พ.ศ. 2469 เมืองนี้ได้สถาปนาเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตนเองคีร์กีซซึ่งตั้งขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น "ฟรุนเซ (Фрунзе)" หลังจากมีฮาอิล ฟรุนเซ ผู้ร่วมงานใกล้ชิดของเลนินที่เกิดในบิชเคกและมีบทบาทสำคัญในระหว่างการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2448 และ 2460 และในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซียช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1920

ยุคเอกราช[แก้]

ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สถานการณ์เป็นไปด้วยความวุ่นวาย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 มีการประกาศภาวะฉุกเฉินหลังจากการจลาจลทางชาติพันธุ์อย่างรุนแรงทางตอนใต้ของคีร์กีซสถานซึ่งคุกคามว่าจะแพร่ลามไปยังเมืองหลวง เมืองนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบิชเคกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และคีร์กีซสถานได้รับเอกราชในปีต่อมาในช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก่อนที่จะได้รับเอกราช ประชากรส่วนใหญ่ของบิชเคกเป็นคนเชื้อชาติรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2547 ชาวรัสเซียมีประมาณ 20% ของประชากรในเมือง และมีประมาณ 7–8% ในปี 2554[6]

ปัจจุบันบิชเคกเป็นเมืองยุคใหม่ที่มีร้านอาหารและร้านกาแฟมากมาย มีรถจากยุโรปและญี่ปุ่นมือสองและรถมินิบัสมือสองจำนวนมากที่จอดอยู่บนถนน อย่างไรก็ตามถนนและทางเท้าตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมไม่ได้รับการบูรณะตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ในขณะเดียวกันบิชเคกยังคงรักษาความรู้สึกแบบอดีตโซเวียตไว้ด้วยอาคารและสวนสมัยโซเวียตที่มีจำนวนมากกว่าสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่

บิชเคกยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศโดยมีธนาคารพาณิชย์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองนี้ทั้งหมด 21 แห่ง ในช่วงยุคโซเวียตเมืองนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ปิดตัวลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 หรือปัจจุบันดำเนินการในระดับที่ลดลงมาก แหล่งการจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของบิชเคกในปัจจุบันคือตลาดเปิดดอร์ดอยบาซาร์ (คีร์กีซ: Дордой Базары, อักษรโรมัน: Dordoy Bazaar) ซึ่งมีการขายสินค้าจีนจำนวนมากที่มีการนำเข้ามายังกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของบิชเคก
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.2
(66.6)
25.3
(77.5)
30.5
(86.9)
34.7
(94.5)
35.6
(96.1)
40.9
(105.6)
42.8
(109)
39.5
(103.1)
36.8
(98.2)
34.1
(93.4)
27.9
(82.2)
23.3
(73.9)
42.8
(109)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.2
(37.8)
4.9
(40.8)
11.2
(52.2)
18.5
(65.3)
23.6
(74.5)
29.0
(84.2)
31.7
(89.1)
30.9
(87.6)
25.5
(77.9)
17.8
(64)
11.0
(51.8)
5.0
(41)
17.7
(63.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -2.6
(27.3)
-0.8
(30.6)
5.3
(41.5)
12.3
(54.1)
17.4
(63.3)
22.4
(72.3)
24.9
(76.8)
23.8
(74.8)
18.5
(65.3)
11.0
(51.8)
4.7
(40.5)
-0.9
(30.4)
11.3
(52.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −7.1
(19.2)
−5.2
(22.6)
0.4
(32.7)
6.4
(43.5)
11.1
(52)
15.6
(60.1)
17.9
(64.2)
16.4
(61.5)
11.3
(52.3)
5.0
(41)
−0.1
(31.8)
−5.1
(22.8)
5.6
(42.1)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −31.9
(-25.4)
−34.0
(-29)
−21.8
(-7.2)
−12.3
(9.9)
−5.5
(22.1)
2.4
(36.3)
7.4
(45.3)
5.1
(41.2)
−2.8
(27)
−11.2
(11.8)
−32.2
(-26)
−29.1
(-20.4)
−34.0
(−29)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 26
(1.02)
34
(1.34)
55
(2.17)
67
(2.64)
61
(2.4)
34
(1.34)
21
(0.83)
13
(0.51)
19
(0.75)
45
(1.77)
42
(1.65)
35
(1.38)
452
(17.8)
ความชื้นร้อยละ 75 75 71 63 60 50 46 45 48 62 70 75 62
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 6.2 6.4 8.5 8.8 7.9 4.4 3.2 2.2 2.7 5.8 6.5 5.6 68.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 136.4 130.0 151.9 195.0 260.4 306.0 331.7 316.2 264.0 195.3 144.0 114.7 2,545.6
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net,[7] World Meteorological Organization (precipitation days only)[8]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun only)[9]

ประชากร[แก้]

บิชเคกเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในคีร์กีซสถาน ประชากรโดยประมาณในปี ค.ศ. 2019 คือ 1,012,500 คน[10] จากช่วงเวลาการก่อตั้งเมืองจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ชาวรัสเซียและชนชาติอื่น ๆ ที่มีเชื้อสายยุโรป (ชาวยูเครน, ชาวเยอรมัน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมือง จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2513 กลุ่มชาติพันธุ์คีร์กีซมีเพียง 12.3% ในขณะที่ชาวยุโรปเป็นประชากรมากกว่า 80% ของเมืองฟรุนเซ ตอนนี้บิชเคกเป็นเมืองที่มีชาวคีร์กีซอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยมีชาวคีร์กีซประมาณ 66% ของประชากรในขณะที่ชาวยุโรปคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 20% ของประชากร อย่างไรก็ตามยังมีการใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักในขณะที่ภาษาคีร์กีซมีผู้ใช้ลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่[11]

จำนวนประชากรในบิชเคก
ปีประชากร
1876182
18822,135
18934,857
18976,615
19029,656
190713,752
191320,102
192636,610
193992,783
1970430,618
1982616,312
1999762,300
2008822,100
2009832,500
2010846,500
2011859,800
2012874,400
20201,053,915
Source:[12][13][14][15][16][17][18][19][20]

สิ่งแวดล้อม[แก้]

คุณภาพอากาศ[แก้]

การปล่อยมลพิษทางอากาศของบิชเคก มีค่าประมาณ 14,400 ตัน[21] ซึ่งมากกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตใจกลางเมือง

เศรษฐกิจ[แก้]

ตลาดดอร์ดอยบาซาร์

บิชเคก ใช้สกุลเงินคีร์กีซสถาน มีชื่อเรียกว่า ซอมคีร์กีซสถาน 47 ซอม เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจของบิชเคก ยังต้องพึ่งพาเกษตรกรรม ถนนในบิชเคกมักจะมีตลาดเรียงรายอยู่เสมอ ในใจกลางเมืองเป็นแหล่งของธนาคาร ร้านค้า ตลาด และศูนย์การค้า

กีฬา[แก้]

บิชเคก เป็นที่ตั้งของสปาร์ตัก สเตเดียม ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ [22]

การศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยจัดการและออกแบบพลาโต

การคมนาคม[แก้]

ยานพาหนะบนถนนในกรุงบิชเคก
ตารางเดินรถของสถานีรถไฟบิชเคก
สถานีรถไฟบิชเคก

ระบบขนส่งสาธารณะ[แก้]

ระบบขนส่งสาธารณะในบิชเคก ประกอบไปด้วย รถโดยสารประจำทาง รถบัสไฟฟ้า รถตู้ และ รถแท็กซี่ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะในบิชเคกนั้น ไม่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน

รถโดยสารระยะไกล[แก้]

มีสถานีขนส่งแห่งหลักอยู่ 2 แห่ง สถานีขนส่งตะวันออก ซึ่งเล็กและเก่าแก่กว่า มีจุดหมายปลายทางดังนี้ คานต์, โทกมัก, คีเมน, อิสสิก อะตา และ คอร์เดย์

สถานีขนส่งตะวันตก ซึ่งใหญ่และทันสมัยกว่า มีจุดหมายปลายทางดังนี้ อัลมาเตอ และ คัชการ์

รถไฟ[แก้]

ใน ค.ศ. 2007 มีรถไฟผ่านแต่ละวันค่อนข้างน้อย รถไฟที่นิยมนั่งกันคือสายบิชเคก-มอสโก ใช้เวลาเดินทาง 3 วัน

นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายไกลไปยังไซบีเรีย ผ่านอัลมาเตอและอัสตานา ปลายทางที่เมืองเยกาเทรินเบิร์ก การเดินทางค่อนข้างนาน (ใช้เวลา 2 วัน) เนื่องจากต้องใช้เวลาจอดรับที่สถานีชายแดนมาก และเป็นทางอ้อม (ทางรถไฟต้องอ้อมไปทางตะวันตกกว่า 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ก่อนที่จะเข้าเส้นทางสายหลัก)[30]

อากาศยาน[แก้]

ตัวเมืองเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติมานัส (FRU) ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 25 กิโลเมตร (16 ไมล์) มีแท็กซี่บริการ

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

เมืองพี่น้อง[แก้]

บิชเคกมีข้อตกลงเมืองพี่น้องกับ:[31]

อ้างอิง[แก้]

  1. Law on the Status of Bishkek เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 1994, article 2 (รัสเซีย). Retrieved on 3 August 2009
  2. Districts of Bishkek เก็บถาวร 2009-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย). Retrieved on 3 August 2009
  3. Statoids. Statoids. Retrieved on 11 March 2012.
  4. "Population 2019-2020". สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
  5. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  6. Residential Real Estate Market in Bishkek, Kyrgyzstan: Current Conditions and Prospects เก็บถาวร 21 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "Weather and Climate-The Climate of Bishkek" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  8. "World Weather Information Service – Bishkek". World Meteorological Organisation (United Nations). สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  9. "Climatological Normals of Bishkek". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  10. "Kyrgyzstan: Regions, Major Cities, Towns & Urban Settlements - Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  11. "Ferdinand, S. & Komlósi, F. 2016. The vitality of the Kyrgyz Language in Bishkek". IJORS 5–2, pp. 210–226. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
  12. Первая всеобщая перепись населения Российской Империи 1897 г. Наличное население в губерниях, уездах, городах Российской Империи (без Финляндии). Семиреченская область เก็บถาวร 29 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – First General Russian Empire Census of 1897. Population in provinces, districts, towns of Russian Empire (without Finland). Semirech'e Province (Demoscope.ru) (ในภาษารัสเซีย)
  13. Petrov, Vladimir (2005). Пишпек исчезающий 1825–1926 (Pishpek disappearing. 1825–1926). Bishkek.
  14. Pisarskoy, Evgeniy; Kurbatov, Valentin (1976). Архитектура Советской Киргизии (Architecture of Soviet Kirghizia.). Moscow: Stroyizdat.
  15. Review of Semirech'e Oblast for 1907 (Обзор Семиреченской области за 1907 год). Verniy: Publishing House of Semirech'e Provincial Administration. 1908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  16. Review of Semirech'e Oblast for 1902 (Обзор Семиреченской области за 1902 год). Verniy: Publishing House of Semirech'e Provincial Administration. 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  17. Всесоюзная перепись населения 1926 года : Киргизская АССР. (All-Union Census of 1926: Kyrgyz ASSR). Moscow: CSU SSSR. 1928. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  18. Численность наличного населения городов, поселков городского типа, районов и районных центров СССР по данным переписи на 15 января 1970 года по республикам, краям и областям (кроме РСФСР) เก็บถาวร 9 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Demoscope.ru. Retrieved on 11 March 2012.
  19. "Население Кыргызстана | Перепись населения и жилищного фонда Кыргызской Республики 2009". 212.42.101.100:8088. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2012. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
  20. "Kyrgyzstan, Capital: Biškek". citypopulation.de.
  21. "Анализ загрязнения атмосферы". Nature.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  22. Corporate Japanese companies to renovate Kyrgyzstan football stadium. The-afc.com (9 November 2007). Retrieved on 11 March 2012.
  23. "October 2009+01:35:14". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  24. "International Ataturk Alatoo University". Iaau.edu.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  25. "Главная — Международный университет Кыргызстана.|". Iuk.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  26. "Кыргызско-Российский Славянский университет имени Б.Н. Ельцина - Главная". Krsu.edu.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  27. "Новости КНУ им. Ж.Баласагына". University.kg. 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  28. "Kırgızistan-Türkiye Manas Üniversitesi". Manas.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  29. "Plato UMD - Home". Umd.edu.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  30. "Маршрут поезда ????? - ????? на сайте". Poezda.net. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
  31. "Бишкек стал городом-побратимом Уфы". kaktus.media (ภาษารัสเซีย). Kaktus Media. 2017-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  32. "Ankaranın Kardeş Şehirleri". ankara.bel.tr (ภาษาตุรกี). Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  33. "Kostroma is looking for a twin city in Turkmenistan". orient.tm. Orient. 2020-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  34. "Colorado Springs Sister Cities International". coloradosprings.gov. City of Colorado Springs. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  35. "Перелік міст, з якими Києвом підписані документи про поріднення, дружбу, співробітництво, партнерство" (PDF). kyivcity.gov.ua (ภาษายูเครน). Kyiv. 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  36. "友好往来". lyg.gov.cn (ภาษาจีน). Lianyungang. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  37. "Bişkek, Kırgızistan". samsun.bel.tr (ภาษาตุรกี). Samsun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  38. "Sister Cities". sz.gov.cn (ภาษาจีน). Shenzhen. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  39. "Ну, здравствуй, брат! Города-побратимы Ташкента". vot.uz (ภาษารัสเซีย). The Voice of Tashkent. 2015-11-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  40. "Kardeş Şehirler". trabzon.bel.tr (ภาษาตุรกี). Trabzon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  41. "新疆维吾尔自治区友城介绍". xinjiang.gov.cn (ภาษาจีน). Xinjiang Uygur Autonomous Region. 2012-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  42. "银川市友好城市及交流合作情况". yinchuan.gov.cn (ภาษาจีน). Yinchuan. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]