บาร์บิทูเรต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธะทางเคมีของกรดบาร์บิทูริก ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของยากลุ่มบาร์บิทูเรต

บาร์บิทูเรต (อังกฤษ: barbiturate)[1] เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง[2] มักใช้เป็นยาระงับประสาทหรือเป็นยาสลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาคลายกังวล, ยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ การใช้บาร์บิทูเรตอาจทำให้เกิดการติดยาทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแทนการใช้บาร์บิทูเรต ซึ่งยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนมีความเสี่ยงด้านการใช้ยาเกินขนาดและการติดยาต่ำกว่าบาร์บิทูเรต อย่างไรก็ตาม บาร์บิทูเรตยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสลบหลัก, รักษาโรคลมชัก, รักษาไมเกรนเฉียบพลัน ตลอดจนใช้เพื่อทำการุณยฆาตหรือโทษประหารชีวิต[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. การออกเสียงแบบมาตรฐานที่ได้รับการอ้างถึงบ่อยที่สุดคือ /ˌbɑː(r)ˈbɪtʃərɪt/ [บา(รฺ)บิเชอริต] อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยในสหรัฐ การออกเสียงแบบไม่เป็นทางการซึ่งพบได้มากกว่าคือ /ˌbɑːrˈbɪtʃuːɪt/ [บารฺบิชูอิต] โดยไม่ออกเสียง "r" ตัวที่สอง
  2. Vaux, Bert and Scott Golder. 2003. The Harvard Dialect Survey. Cambridge, MA: Harvard University Linguistics Department.
  3. "DIGNITAS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.