บาธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บาธ, ซอมเมอร์เซ็ท)
บาธ

Bath
ใจกลางเมืองบาธ
ใจกลางเมืองบาธ
พิกัด: 51°23′N 2°22′W / 51.38°N 2.36°W / 51.38; -2.36พิกัดภูมิศาสตร์: 51°23′N 2°22′W / 51.38°N 2.36°W / 51.38; -2.36
รัฐเอกราชธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ประเทศ อังกฤษ
ภาคเซาท์เวสต์อิงแลนด์
เทศมณฑลทางพิธีการซัมเมอร์เซต
ประชากร88,859 คน
เดมะนิมBathonian
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
รหัสไปรษณีย์BA
รหัสพื้นที่01225
บาธ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (ii), (iv)
อ้างอิง428
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
พื้นที่2,900 เฮกตาร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

บาธ (อังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซัมเมอร์เซตในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร

บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน[2] บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1590[3] และได้เป็นเทศบาลมณฑล ในปี ค.ศ. 1889 ที่ทำให้บาธเป็นอิสระจาการบริหารของมณฑลซัมเมอร์เซต บาธเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเอวอนเมื่อเอวอนได้รับฐานะเป็นมณฑลในปี ค.ศ. 1974 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 เมื่อมณฑลเอวอนถูกยุบบาธก็กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของบาธและตะวันออกเฉียงเหนือของซัมเมอร์เซต (B&NES) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูมิศาสตร์แห่งซัมเมอร์เซต

ตัวเมืองบาธตั้งอยู่เนินหลายลูกในหุบเขาของแม่น้ำเอวอนในบริเวณที่มีน้ำพุร้อนธรรมชาติที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของโรมัน ผู้สร้างโรงอาบน้ำโรมัน (Roman Bath) และแอบบีย์[4] และตั้งชื่อเมืองว่า “Aquae Sulis” เมืองบาธเป็นสถานที่ที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่แอบบีย์บาธ ในปี ค.ศ. 973[5] ต่อมาในยุคจอร์เจีย บาธกลายเป็นเมืองน้ำแร่ที่เป็นที่นิยมกันมากซึ่งทำให้เมืองขยายตัวขึ้นมากและมีสถาปัตยกรรมจอร์เจียนที่โดดเด่ จากสมัยนั้นที่สร้างจากหินบาธที่เป็นหินสีเหลืองนวล

เมืองบาธได้รับฐานะเป็นเมืองมรดกโลกในปี ค.ศ. 1987 และมีโรงละคร, พิพิธภัณฑ์ และสิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมและทางการกีฬา ที่ทำให้กลายเป็นเมืองที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยมีนักท่องเที่ยวพักค้างคืนหนึ่งล้านคน และนักท่องเที่ยวไปเช้าเย็นกลับ 3.8 ล้านคนต่อปี เมืองบาธมีมหาวิทยาลัยสองมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยและสถานศึกษาอื่น ๆ แรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการบริการและมีความเจริญเติบโตทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยีที่สร้างงานให้แก่ผู้อยู่อาศัยในเมืองบาธเองและบริเวณปริมณฑล

อ้างอิง[แก้]

  1. Bath is a constituency and unparished area; at the time of the 2011 census the city was exactly co-extensive with 16 wards https://www.nomisweb.co.uk/query/asv2htm.aspx เก็บถาวร 30 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Bath Local Plan". Bath & North East Somerset Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-30. สืบค้นเมื่อ 2007-12-07.
  3. "Civic Insignia". City of Bath. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
  4. "City of Bath World Heritage Site Management Plan". Bath and North East Somerset. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-01.
  5. "Edgar the Peaceful". English Monarchs - Kings and Queens of England. สืบค้นเมื่อ 2007-12-08.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บาธ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารบาธ

ระเบียงภาพ[แก้]