บางระจัน (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางระจัน
กำกับธนิตย์ จิตนุกูล
เขียนบทธนิตย์ จิตนุกูล
บุญถิ่น ทวยแก้ว
ปฏิการ เพชรมุณี
สิทธิพงษ์ มัตตะนาวี
อำนวยการสร้างนนทรีย์ นิมิบุตร
อดิเรก วัฏลีลา
นักแสดงนำบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
วินัย ไกรบุตร
จรัล งามดี
บงกช คงมาลัย
นิรุติ สาวสุดชาติ
ชุมพร เทพพิทักษ์
สุนทรี ใหม่ละออ
ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง
กฤษณ์ สุวรรณภาพ
อรรถกร สุวรรณราช
ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
สุรเชษฐ์ เลาะสูงเนิน
ใจ พงษ์ศักดิ์
ภาสกร อักษรสุวรรณ
สมนึก แก้ววิจิตร
กำกับภาพวิเชียร เรืองวิชญกุล
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
เพลงนำภาพยนตร์ บางระจันวันเพ็ญ โดย ยืนยง โอภากุล
ผู้จัดจำหน่ายฟิล์มบางกอก
วันฉาย29 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ความยาว127 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
พม่า
ทุนสร้าง30 ล้านบาท
ทำเงิน151 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[1]
ต่อจากนี้ บางระจัน 2 (25 มีนาคม 2553)
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

บางระจัน (อังกฤษ: Bang Rajan: The Legend of the Village's Warriors) ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ ผลงานลำดับที่ 10 ของ ธนิตย์ จิตนุกูล เข้าฉายเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2543

เนื้อเรื่อง[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2308 พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าส่งทัพพม่า 2 ทัพใหญ่บุกกรุงศรีอยุธยา ทัพหนึ่งบุกเข้ามาทางใต้ นำโดย มังมหานรธา อีกทัพหนึ่งเป็นทัพผสมรามัญบุกเข้ามาทางเหนือ นำโดย เนเมียวสีหบดี การบุกของทัพนี้ต้องเจออุปสรรคเป็นรายทาง เพราะต้องพบกับกองกำลังต่อต้านโดยชาวบ้านธรรมดา ๆ ทำให้ต้องเดินทัพล่าช้า โดยชาวบ้านที่แตกระสานซ่านเซ็นมารวมตัวกันที่บ้านระจัน โดยมี พ่อแท่น (ชุมพร เทพพิทักษ์) ผู้อาวุโสที่สุดเป็นแกนนำ ที่บ้านระจันมีชาวบ้านที่มีฝีมือหลายคนรวมตัวกัน เช่น อ้ายจัน (จรัล งามดี) ที่แค้นพม่าที่เมียถูกฆ่าตาย, อ้ายอิน (วินัย ไกรบุตร) พรานขมังธนู ที่เพิ่งอยู่กินกับอีสา (บงกช คงมาลัย) เมียสาว และ อ้ายทองเหม็น (บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์) คนพเนจรผมเผ้ารุงรังที่ไม่มีใครรู้หัวนอนปลายตีน ชอบกินเหล้าเมาพับอยู่ใต้เกวียน และมีหลวงพ่อธรรมโชติ (ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง) ผู้ขมังเวทย์แห่งวัดโพธิ์เก้าต้น เป็นขวัญกำลังใจ

ในการรบครั้งหนึ่ง พ่อแท่นได้รับาดเจ็บ อ้ายจันจึงขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ อ้ายจันมีความคิดว่า ทางบ้านบางระจันน่าจะมีปืนใหญ่ใช้ต่อสู้กับพม่า จึงได้ให้ ขุนสรรค์ ร่างใบบอก และให้อ้ายอิน อ้ายเมือง (อรรถกร สุวรรณราช) นำไปแจ้งยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอยืมปืนใหญ่ หากแต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ยืม ด้วยเกรงว่าหากบ้านบางระจันพ่ายแก่พม่า พม่าอาจขโมยเอาปืนใหญ่และกระสุนดินดำกลับมาโจมตีพระนครได้

คืนหนึ่ง อ้ายอินได้ละทิ้งเวรยาม แอบพาพรรคพวกไปบุกค่ายของพม่า โดยหารู้ไม่ว่าคืนนั้น ทางพม่าเองก็ได้จัดทัพมาบุกค่ายบางระจันเช่นกัน จากเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นในค่ายมากมาย คนหลายคนเสียขวัญ ได้อพยพออกจากค่ายบางระจันไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ทำให้ผู้คนในค่ายบางตาลงไป

ต่อมา พระยารัตนาธิเบศร์จากกรุงศรีอยุธยาได้มาช่วยชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ หากแต่เมื่อหล่อแล้ว ปืนใหญ่กลับแตกร้าว ใช้การไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ทางพม่าก็ได้ สุกี้ พระนายกอง (จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ) มาเป็นแม่ทัพคนใหม่ในการบุกค่ายบางระจัน ชาวบ้านบางระจันที่เหลือเพียงหยิบมือเดียว ต่างพร้อมใจกันสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด ปืนใหญ่ที่ร้าวทั้งสองกระบอกก็ต้องถูกนำมาใช้ ท้ายที่สุดแล้ว แม้ชาวบ้านบางระจันจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ แต่วีรกรรมที่สร้างไว้ จะคงอยู่ในใจของคนรุ่นหลังสืบไป

นักแสดง[แก้]

คำวิจารณ์และความนิยม[แก้]

บางระจัน สร้างขึ้นมาจากเรื่องราวของวีรชนบ้านบางระจันแห่งจังหวัดสิงห์บุรี ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี ที่กล่าวกันว่าเป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านธรรมดา ๆ ต่อต้านกองทัพพม่าที่มีกำลังเหนือกว่าได้ถึง 5 เดือน จนตัวตาย เรื่องราวของวีรกรรมส่วนนี้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง และประพันธ์เป็น เพลงปลุกใจ ที่รู้กันกันดี เช่น ศึกบางระจัน ของ ขุนวิจิตรมาตรา

บางระจันฉบับภาพยนตร์เรื่องนี้ ตัดคำว่า "ศึก" ออกไป เหลือแต่ "บางระจัน" อย่างเดียวเพื่อเน้นถึงความเป็นสถานที่ อีกทั้งชื่อของชาวบ้านที่เคยรับรู้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า "นาย" กลายเป็น "อ้าย" หรือ "อี" เพื่อความสมจริงสำหรับการใช้ภาษาให้คล้องจองกับยุคสมัยนั้น

เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย กลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่า คงเป็นด้วยการที่เป็นวีรกรรมของบุคคลระดับชาวบ้านจึงง่ายต่อการเข้าใจและในช่วงเวลานั้นใกล้จะถึงการเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหม่ครั้งแรกของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่างมากที่สุดในขณะนั้น [2] ทำให้ภาพยนตร์ได้รายได้มหาศาลถึง 151 ล้านบาท จนต้องมีการตัดต่อใหม่ ใส่คำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติ เพื่อนำไปฉายต่อในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ

เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับอีกครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ธนิตย์ได้กำกับภาพยนตร์ในลักษณะนี้ตามมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งก็มีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตการแสดงของ บงกช คงมาลัย ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ให้กับ วินัย ไกรบุตร นักแสดงชายจนได้รับฉายาว่า "พระเอกร้อยล้าน" หลังจากนางนาก ในปี พ.ศ. 2542 และเมื่อนำออกฉายต่างประเทศ เป็นที่ชื่นชอบของ โอลิเวอร์ สโตน ผู้กำกับของฮอลลีวู้ด และได้ติดต่อ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ที่รับบทอ้ายทองเหม็น มารับบทเป็นพระราชาอินเดีย ในภาพยนตร์กำกับของตัวเอง คือ Alexander เมื่อยกกองถ่ายมาที่เมืองไทยอีกด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]