บัวดอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัวดอย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Asparagaceae
วงศ์ย่อย: Nolinoideae
สกุล: Aspidistra
สปีชีส์: A.  elatior
ชื่อทวินาม
Aspidistra elatior
Blume

บัวดอย หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aspidistra elatior) เป็นพืชล้มลุกวงศ์ Convallariaceae พบในป่าดิบเขาที่ขึ้นปกคลุมและการกระจายอยู่ตามภูเขาสูงที่มีความสูงจากระดับทะเล ประมาณ 1,400- 2,000 เมตร ในประเทศไทย สำรวจพบต้นบัวดอย ได้แก่ ดอยอ่างขาง (ไม่รวมพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ) ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และดอยปุย (อุทยานแห่งชาติ น้ำตกแม่สุรินทร์) ปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ลักษณะ[แก้]

ลำตัน มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า เห็นข้อและปล้องได้ชัดเจน พร้อมกาบหุ้มลำต้น แตกรากตามข้อ

ใบ ออกเป็นกระจุกบริเวณโคนต้น รูปใบรี ก้านใบยาว 30-50 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว โคนก้านใบมีกาบหุ้ม ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบ ก้านใบเป็นร่องด้านบน ขนาดแผ่นใบ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบมีหนามเล็กน้อย

ดอก เป็นดอกเดี่ยวแตกตามข้อของเหง้า ก้านดอกยาว 2-8 ซม. ก้านชูดอกอยู่แนวเดียวกับผิวดิน ก้านดอกมีกาบรองรับ ก้านดอกมีข้อ 2-3 ข้อ กลีบเลี้ยง 6-8 กลีบ ดอกตูม รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. ดอกบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. กลีบดอก 8 กลีบเรียงจรดกัน โคนกลีบเชื่อมติดกันคล้ายหม้อ (ฐานกว้าง ปากแคบผายออก) ผนังด้านนอกกลีบดอกสีขาว หรือ ขาวปนชมพู ผนังกลีบดอกเรียบ ปลายกลีบโค้ง ผนังด้านในกลีบดอก นูนเป็นสันยาวตามยาวของกลีบ ไม่เรียบ สีม่วงแดงไปจนถึงม่วงเข้ม ปลายเกสรตัวเมียแบบ ก้นปิด เกสรตัวผู้มี 8 อันไม่มีก้านชู อับเรณูแตกเป็นร่องยาว และอับเรณูหันเข้าใจกลางดอก รังไข่ฝังตัวอยู่ที่ฐานของก้านชูปลายเกสรตัวเมีย

ผล รูปกลมมีหลายเมล็ด

สรรพคุณ[แก้]

นำเอาเหง้าไปดองเหล้ารับประทาน ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก่ผู้เฒ่า ผู้แก่จนมีสุขภาพแข็งแรงและลืมไม้เท้าไปจึงเป็นที่มาของชื่อ

อ้างอิง[แก้]