บัณฑิต ศิริพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิต ศิริพันธุ์
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
สุจินดา คราประยูร
ชวน หลีกภัย
บรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มีนาคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์


บัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความและนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2484 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร, นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาธรรมศาสตร์ (ร่วมรุ่นเดียวกับ ชวน หลีกภัย และ สมัคร สุนทรเวช), เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LL.M) จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทำงานครั้งแรกด้วยการเป็นทนายความฝึกหัดของสำนักงานกฎหมายเสนีย์ ปราโมช ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา จึงใกล้ชิดและสนิทสนมกับ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ และบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมายแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 หลังจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน[1]

นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ขนส่งจำกัด (บ.ข.ส.), องค์การค้าของคุรุสภา, องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นต้น

และยังเป็นรองประธานคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ 2 สมัย เป็นสมาชิกวุฒิสภาระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2539[2]

นายบัณฑิตได้ชื่อว่าเป็นทนายความที่มีชื่อเสียงและความสามารถอย่างมากโดยเฉพาะในคดีหมิ่นประมาทและคดีแพ่ง เคยรับว่าความให้กับนักการเมืองหลายคน อาทิ คดีที่ภริยาและบุตรดำรง ลัทธพิพัฒน์ ฟ้องหมิ่นประมาท สมัคร สุนทรเวช, คดีที่ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ถูกฟ้องหมิ่นประมาทจาก ทักษิณ ชินวัตร, คดียุบพรรคประชาธิปัตย์และยุบพรรคไทยรักไทย หรือ คดีที่ สามารถ ราชพลสิทธิ์ ฟ้องหมิ่นประมาท สมัคร สุนทรเวช และ ดุสิต ศิริวรรณ เป็นต้น[3]

จากความที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองหลายคนมาตั้งแต่ต้น ทำให้มีผู้ชักชวนให้เล่นการเมือง แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ขอไว้ [4]

ปัจจุบัน รับเป็นหนึ่งในทีมทนายความว่าความคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2540
  2. ฅนปนข่าว: ทนายเทวดา จากไทยโพสต์
  3. บัณฑิต ศิริพันธุ์:ทนายคู่บุญ-นักกฎหมายคู่ใจปชป.[ลิงก์เสีย]
  4. [1]เก็บถาวร 2009-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เปิดใจ "บัณฑิต ศิริพันธุ์" ขอทำงานเพื่อความถูกต้อง จากแนวหน้า
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒