บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Graduate School,
Khon Kaen University
ชื่อย่อบว. / GS
สถาปนา30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 (45 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณบดีรศ.ดร.เกียรติไชย ฟักศรี
ที่อยู่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
เว็บไซต์gs.kku.ac.th

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Graduate School, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ บัณฑิตวิทยาลัยมีฐานะเป็นคณะ/หน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น อยู่ภายใต้การบริหารงานของคณบดี มีคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยทำหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารใน บัณฑิตวิทยาลัยและมีสำนักงานคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่จะปฏิบัติ งาน ด้านธุรการและให้บริการทางการศึกษาและวิชาการ และเพื่อขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยไปสู่ระดับปริญญาที่สูงถึงปริญญาโทและ ปริญญาเอก เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ[แก้]

บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานในระดับคณะซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 เป็นต้นมา ในปีการศึกษา 2523 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา หลักสูตรและการสอน และสาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ต่อมาในปีการศึกษา 2524 รับนักศึกษาเพิ่มอีก จำนวน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรแหล่งน้ำ รวมเป็นเปิดสอนทั้งสิ้นในปีการศึกษา 2524 จำนวน 7 สาขาวิชา และได้เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกๆปี จนถึงปัจจุบัน

การบริหารจัดการการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในระยะแรกทั้งด้านการรับเข้า การลงทะเบียนและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบัณฑิตวิทยาลัยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการทั้งหมดและเป็นการบริหารแบบรวมศูนย์ไว้ที่บัณฑิตวิทยาลัย เมื่อมีสาขาวิชาเปิดสอนเพิ่มมากขึ้นและมีคณะต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการแบบเดิมล่าช้า มีข้อจำกัดไม่คล่องตัวเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานด้านบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2540 บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาใหม่ โดยการโอนภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตรไปให้คณะดำเนินการ โดยกำหนดให้แต่ละคณะมีคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของคณะเป็นผู้รับผิดชอบงานบัณฑิตศึกษา ในขณะที่บัณฑิตวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่รับเข้าศึกษา สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาบัณฑิตศึกษา เมื่อภารกิจเปลี่ยนไปจึงทำให้โครงสร้างบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัยที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องกับภารกิจใหม่ที่รับผิดชอบ

ในปี 2547 มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายให้หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปรับภารกิจที่เชื่อมโยงกัน ไม่ซ้ำซ้อน คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ให้บริการรวดเร็ว และมีคุณภาพโดยใช้หลักการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ดังนั้น เพื่อรองรับภารกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นและภารกิจในเชิงรุกของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 เห็นควรให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย และเห็นควรให้บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ 4 ด้าน ดังนี้ คือ [1] 1) ด้านนโยบายและแผนพัฒนาบัณฑิตศึกษา 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 3) ด้านการจัดการหลักสูตรสาขาวิชาร่วม 4) ด้านรักษามาตรฐานและคุณภาพบัณฑิตศึกษา

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนมีตั้งแต่ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งตามเป็นคณะ ได้ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ประกาศนียบัตรชั้นสูง

คณะวิทยาศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมีสำหรับครู
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีววิทยาสำหรับครู
  • สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
  • Biological Science (International Program)
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • Biological Science (International Program)

คณะเกษตรศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาพืชไร่
  • สาขาวิชากีฏวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาโรคพืช
  • สาขาวิชาการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
  • สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร
  • สาขาวิชาพืชไร่ (International Program)
  • สาขาวิชาการประมง
  • Systems Agriculture An (International Program)
  • สาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (International Program)
  • สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาพืชไร่
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาโรคพืช
  • สาขาวิชากีฏวิทยา
  • สาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาพืชไร่ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (International Program)
  • สาขาวิชาการประมง

คณะศึกษาศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา
  • สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ
  • สาขาวิชา การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
  • สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาสังคมวิทยา
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมและวิสาหกิจ
  • สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาพัฒนศาสตร์
  • สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมวิทยา
  • สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ (International Program)
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาปรัชญาและศาสนาตะวันออก
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (International Program)

คณะวิศวกรรมศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

คณะเทคโนโลยี[แก้]

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาความปลอดภัยและการจัดการคุณภาพของอาหาร (International Program)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม (International Program)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี

คณะศิลปกรรมศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
  • สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์

บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]

  • สาขาวิชาการจัดการการพัฒนาชนบท (International Program)
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (International Program)
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

วิทยาลัยบัณฑิตศีกษาการจัดการ (MBA)[แก้]

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น[แก้]

  • สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Public Affairs Management (International Program)

คณะแพทยศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
  • สาขาวิชาปรสิตวิทยา
  • สาขาวิชาเภสัชวิทยา
  • สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์
  • สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์
  • Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)
  • สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
  • Community Medicine (International Program)
  • สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
  • สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยา
  • Tropical Medicine (International Program)
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค
  • สาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
  • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • สาขาวิชารังสีวิทยา
  • สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาจักษุวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
  • สาขาวิชาเภสัชวิทยา
  • สาขาวิชาพยาธิชีววิทยา
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์
  • สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์
  • สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
  • สาขาวิชาปรสิตวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก
  • สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
  • Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)
  • สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
  • Program in Tropical Medicine International Program

คณะพยาบาลศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
  • สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
  • สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
  • สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
  • สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
  • สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการผดุงครรภ์
  • พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
  • Doctor of Philosophy Program in Nursing (International Program)

คณะเทคนิคการแพทย์[แก้]

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด (หลักสูตรโครงการพิเศษ)
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิกและการจัดการ
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์
  • Human Movement Sciences (International Program)
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะทันตแพทยศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน
  • สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ (International Program)
  • สาขาวิชาปริทันตวิทยา
  • สาขาวิชาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
  • สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ
  • สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
  • สาขาวิชาศัลยศาตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
  • สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ช่องปาก

คณะสาธารณสุขศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาชีวสถิติ
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ
  • สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข
  • สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
  • สาขาวิชาวิทยาการระบาด
  • สาขาวิชาสุขภาพระหว่างประเทศ (International Program)
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (International Program)
  • สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ (International Program)

คณะเภสัชศาสตร์[แก้]

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  • สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์
  • สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม
  • สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการด้านสุขภาพ
  • สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
  • สาขาวิชาพิษวิทยา
  • สาขาวิชาเภสัชบำบัด
  • สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์
  • สาขาวิชาเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ

คณะสัตวแพทยแพทย์[แก้]

  • สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข
  • สาขาวิชาสหวิทยาการสัตวแพทย์
  • Interdisciplinary Veterinary Science (International Program)
  • สาขาวิชาสัตว์เลี้ยง
  • สาขาวิชาโรคและการจัดการสุขภาพในปศุสัตว์
  • Veterinary in Livestock Diseases and Health Management (International Program)
  • สาขาวิชาสหวิทยาการสัตวแพทย์
  • Interdisciplinary Veterinary Science (International Program)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์[แก้]

  • หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี[แก้]

  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
  • หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • Economics Program in Economics (International Program)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

วิทยาเขตหนองคาย[แก้]

  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมและการจัดการโลจิสติกส์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (International Program)
  • คณะบริหารธุรกิจ
    • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (International Program)

คณบดี[แก้]

รายนามคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1.รองศาสตราจารย์ กวี จุติกลุ พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523
2. รองศาสตราจารย์ ดร.เทอด เจริญวัตนา พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523
3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ จันทร์ทิพย์ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2527
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร อาษานาม 1 มิถุนายน - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527
5. รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช ค้าเจริญ พ.ศ. 2527 -พ.ศ. 2531
6. ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535
7. รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จันทร์โพธิ์ศรี พ.ศ. 2535 -พ.ศ. 2539
8. รองศาสตราจารย์ ดร.วินิต ชินสุวรรณ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ปรีเปรม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2549
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557
11. ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2565
12. รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติไชย ฟักศรี พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติความเป็นมาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]