บลูแจ็กกิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บลูแจ็กกิง (อังกฤษ: Bluejacking) ส่งข้อมูลที่ไม่ต้องการการตอบสนอง (unsolicited) ผ่านทางบลูทูธไปยังอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธ ตัวอย่างเช่น มือถือ พีดีเอ หรือ คอมพิวเตอร์ โดยการใช้ vCard (Bluedating หรือ bluechat) ที่อยู่ในรูปแบบเกณฑ์วิธีการสื่อสาร OBEX

บลูทูธส่วนใหญ่มีระยะการใช้งานอยู่ประมาณ 10 เมตร (32.8 ฟุต) จากมือถือ แต่คอมพิวเตอร์บางชนิดสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลถึง 100 เมตร (328 ฟุต) ในบลูทูธ Class 1

ต้นกำเนิด[แก้]

มีการกล่าวถึงไว้ว่า บลูแจ็กกิงนี้ได้มีการเริ่มปฏิบัติโดยที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผู้หนึ่งที่พยายามจะใช้มือถือของตนเพื่อโฆษณา โซนี่ อิริคสัน โดยใช้การผสมระหว่างคำว่า บลูทูธ และ อะแจ็ก (ajack) ซึ่งเป็นชื่อที่เค้าใช้ในกระทู้ถาม-ตอบของแฟนคลับโซนี่ อิริคสัน ในภาษาอังกฤษ แจ็กกิง (jacking) โดยทั่วไปเป็นคำย่อของ คำว่า ไฮแจ็ก (hijack) คือการกระทำที่ว่าด้วยการเข้าคุมอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงได้เป็นคำว่า บลูแจ็กกิง

การใช้[แก้]

โดยทั่วไป บลูแจ็กกิง คือ การกระทำที่ไม่มีความร้ายแรงหรือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยที่ข้อมูลที่ส่งไปมักจะเป็นข้อความตัวอักษร แต่เนื่องจากมือถือสมัยนี้ทำให้สามารถส่งรูปและเสียงได้ด้วย การกระทำบลูแจ็คเคยใช้ในการค้าขายแบบ "กอริลล่า"(Guerrilla marketing) เพื่อการโฆษณาเกมส์บางประเภท

เนื่องจากทุกๆวันนี้ บลูทูธได้มีการใช้อย่างแพร่หลายจึงทำให้ง่ายต่อการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวอย่างเช่น ม้าโทรจัน

บลูแจ็กกิงไม่ใช่การกระทำบลูสนาฟฟิง เนื่องจากบลูแจ็กกิงส่งข้อมูลที่ไม่ต้องรับการตอบสนองและไม่เป็นภัยต่อผู้รับ ในขณะที่บลูสนาฟฟิงจะเข้าไปดึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตและเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

อุปกรณ์และซอฟต์แวร์[แก้]

อุปกรณ์หลายชิ้นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อบลูแจ็กกิงโดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2004 เนื่องจากเป็นช่วงที่พิ่งค้นพบข้อบกพร่องของบลูทูธส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างขึ้นเฉพาะบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์ที่เจาะจงไปในด้านเดียว

อ้างอิง[แก้]