ไทยเบฟเวอเรจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยเบฟเวอเรจ
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
SGX: Y92
ISINTH0902010014 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ก่อตั้ง29 ตุลาคม 2003; 20 ปีก่อน (2003-10-29)[1]
ผู้ก่อตั้งเจริญ สิริวัฒนภักดี
สำนักงานใหญ่62 อาคารไทยเบฟควอเตอร์ ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานและ CEO
ตราสินค้าช้าง, อาชา, เฟเดอร์บรอย
รายได้เพิ่มขึ้น 181.19 พันล้านบาท (2558) [2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 26.46 พันล้านบาท (2558) [2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 182.01 พันล้านบาท (2558) [2]
บริษัทในเครือเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ
เสริมสุข
โออิชิกรุ๊ป
อินเตอร์เบฟกรุ๊ป
Sabeco Brewery
เว็บไซต์www.thaibev.com

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รู้จักกันในชื่อ ไทยเบฟ (SGX: Y92) เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและหนึ่งในบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีโรงกลั่นสุราในประเทศไทย สหราชอาณาจักร และจีน ถือครองโดยเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีธุรกิจเจ้าสัวไทยเชื้อสายจีน มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เป็น Thai Beverage plc โดยมีมูลค่าตามราคาตลาดที่13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 บริษัทนี้ได้ซื้อกิจการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟด้วยเงิน 11.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

ประวัติ[แก้]

อาคารไทยเบฟควอเตอร์

ไทยเบฟก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่น ๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์ ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจโดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ โดยประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นตลาดหลักที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคน และมีสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ความร่วมมือระหว่างไทยเบฟและเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (F&N) ในด้านตราสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย การประสานงานด้านการขายและการตลาด รวมถึงความช่วยเหลือสนับสนุนจากตัวแทนจำหน่ายได้ช่วยต่อยอดการขยายธุรกิจสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

ไทยเบฟได้รับคะแนนสูงที่สุดในโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของโลก จากการจัดโดย S&P Global เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (The Dow Jones Sustainability Indices-DJSI) โดยไทยเบฟ ได้รับคะแนนสูงสุดจากการประเมินด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2564 (Corporate Sustainability Assessment 2021) เป็นปีที่ 4 และได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของประเภท กลุ่มดัชนีโลก (World Index) เป็นปีที่ 5 และเป็นสมาชิกของกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets Index) เป็นปีที่ 6[4]

สินค้าและบริการ[แก้]

เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์และไม่มีแอลกฮอล์ รวมถึงอาหารและเบเกอรี่[แก้]

ปัจจุบัน บริษัทในกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560) มีทั้งหมด 138 บริษัท ดังนี้

  • บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัทในประเทศไทย 93 บริษัท แบ่งเป็น บริษัทย่อย 92 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทรวมของบริษัทย่อย 1 บริษัท คือบริษัทเพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด
  • บริษัทในต่างประเทศ 44 บริษัท (แบ่งเป็นบริษัทย่อย 41 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย 3 บริษัท คือ Liquorland Limited, Fraser and Neave, Limited* และ Frasers Centrepoint Limited*
  • โรงงานงานผลิตสุรา 18 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อีก 12 แห่ง
  • บริษัทไทยเบฟ จำหน่าย สินค้าครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลกและ มีโรงงาน กลั่นสุรา 5 แห่งในประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงในการผลิตเหล้าวิสกี้ชั้นนำระดับโลกอย่าง Balblair, Old Pulteney และ Speyburn นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตสุราอีก 1 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ Yulinquan

โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มสุรา ได้แก่ รวงข้าว แสงโสม แม่โขง หงส์ทอง และเบลนด์ 285
  • กลุ่มเบียร์ คือ เบียร์ช้างเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักดื่มเบียร์ชาวไทย
  • กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ชาเขียวโออิชิ เครื่องดื่มอัดลมเอส 100 พลัส น้ำดื่มคริสตัล และโซดาร็อคเมาเท็น
  • กลุ่มอาหาร ประกอบไปด้วย ร้านอาหารที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โออิชิ, ไฮด์แอนด์ซีค, หม่านฟู่หยวน, เอ็มเอกซ์ เค้กแอนด์เบเกอรี, โซอาเซียน, ฟู๊ดสตรีท, เคเอฟซี และล่าสุดคือร้านกาแฟสตาร์บัคส์

กรณีอื้อฉาวและการประท้วง[แก้]

ใน พ.ศ. 2548 ไทยเบฟเวอเรจถูกวิจารณ์จากพระสงฆ์และกลุ่มศาสนาอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในเวลานั้น ไทยเบฟเวอเรจประกาศเจตจำนงที่จะแสดงต่อสาธารณะผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งจะกลายเป็นการตั้งรายชื่อที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[5][6] ถึงแม้ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพยายามห้ามไม่ให้พระสงฆ์ประท้วง แต่ยังมีพระสงฆ์ 2,000 รูปจากวัดพระธรรมกายอ่านบทสวดมนต์หน้าตลาดหุ้นเพื่อหยุดการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกของไทยเบฟเวอเรจ[7][8][note 1] กลุ่มนี้เรียกร้องของความร่วมมือให้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หยุดบริษัทนี้[7][8][9] หลังจากประธานตลาดหุ้นไทยลาออก ไทยเบฟเวอเรจจึงเปิดเผยรายชื่อที่สิงคโปร์แทน[10][11]

ในวันที่ 17 มิถุนายน 2564 มีคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้พนักงานไทยเบฟเวอเรจและครอบครัว 7.1 หมื่นคนทั่วประเทศ[12]

หมายเหตุ[แก้]

  1. วัดนี้ใช้ชื่อโครงการว่า "Thai Buddhist Monks National Coordination Center".[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "About Us". ThaiBev. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 ThaiBev Annual Report 2015. Bangkok. 2015.
  3. Khettiya Jittapong (22 January 2013). "Thai billionaire Charoen Sirivadhanabhakdi builds empire with F&N takeover". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013.
  4. ฐาปน สิริวัฒนภักดี ตอกย้ำผู้นำองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก ครองคะแนนสูงสุด DJSI โลก 4 ปีซ้อน
  5. Hills, Jonathan (5 April 2005). "CSR and the alcohol industry: a case study from Thailand". CSR Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2016. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  6. Kazmin, Amy (19 March 2005). "Buddhist monks protest against IPO plan". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2016.
  7. 7.0 7.1 Inbaraj, Sonny (20 March 2005). "Thailand: Beer and Buddhism, a Definite No, Cry Conservatives". Inter Press Service. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  8. 8.0 8.1 8.2 ขบวนการต้านน้ำเมา ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันเพื่อใคร? [Resistance against alcohol: a hundred flowers bloom fully, and for who do a hundred institutions compete?]. Nation Weekend. The Nation Group. 4 March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
  9. "Buddhists protest beer company's launch on stock exchange". Associated Press. 20 July 2005. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
  10. Kazmin, Amy (4 January 2006). "Thai Beverage listing moves to Singapore". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2017.
  11. "Thai Bourse Chief Quits After Losing I.P.O. to a Rival". Financial Times. 25 May 2006. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016 – โดยทาง New York Times.
  12. "มหาดไทย แจงปมสั่งผู้ว่าฯ จัดหาวัคซีนให้ พนง.ไทยเบฟฯ และครอบครัว 7.1 หมื่นคน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]