บรรจบ บรรณรุจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บรรจบ บรรณรุจิ

ไฟล์:รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ.jpg
เกิดบรรจบ บรรณรุจิ
12 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
สัญชาติไทย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ปริญญาเอก
องค์การจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ราชบัณฑิตยสถาน

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ (นามสกุลเดิม: ปั๋งมี) (12 มกราคม พ.ศ. 2496 - ) อดีตอนุศาสนาจารย์ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก และกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต[1]

ประวัติ[แก้]

กำเนิด[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2496 ณ บ้านเลขที่ 18 หมู่ 2 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

การบรรพชา[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดแก้วฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงรับเป็น นาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์[2] สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์[2]

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ป.ธ.9) ในปี พ.ศ. 2516 เมื่อขณะที่เป็นสามเณร จากนั้นเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับวุฒิพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เมื่อ พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทเมื่อ พ.ศ. 2532 ในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) สาขาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียและสำเร็จระดับปริญญาเอกเมื่อ พ.ศ. 2540 สาขาพุทธปรัชญา ณ มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

หน้าที่การงานปัจจุบัน[แก้]

ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งเป็นภาคีสมาชิก สาขาศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน[3]

ด้านการเมือง[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในนามพรรคแผ่นดินธรรม[4]

ผลงาน[แก้]

งานวิชาการ[แก้]

ท่านมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตำราเรียนและหนังสือปรัชญาพุทธศาสนา เช่น;

  • จิต มโน วิญญาณ
  • ปฏิจจสมุปบาท,
  • อสีติมหาสาวก
  • ภิกษุณี:พุทธสาวิกาครั้งพุทธกาล
  • พุทธประวัติ:ประสูติ-ตรัสรู้
  • พระเวสสันดร:มหาบุรุษแห่งหิมพานต์
  • ไวยากรณ์ภาษาบาลี
  • ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
  • นิทานปรัชญาพุทธ ชุดผู้แสวงหา
  • บทเพลงพระนิพพาน
  • ปาฏิหาริย์:สื่อการสอนของพระพุทธเจ้า
  • จิตวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างพระพุทธเจ้ากับซิกมันด์ฟรอยด์
  • ฯลฯ

งานแปล

  • พระพุทธเจ้าสอนอะไร
  • พระพุทธเจ้า พระศาสดา...โลกลืมไม่ได้
  • พระพุทธศาสนาเพื่อโลกสมัยใหม่
  • สัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 สูตร
  • ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
  • ฯลฯ

งานวิจัย

  • ปัญญาในธัมมจักกัปปวัฒนสูตร:ชื่อเรียกและพัฒนาการ
  • โสตัตถกีมหานิทาน:การชำระและการศึกษาวิเคราะห์ ฯลฯ

บทความ

  • สังคมในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
  • มองชีวิตไทยผ่านพระไตรปิฎก
  • มองรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2550 ผ่านมิติทางศาสนา
  • บวชที่มา:ความหมาย และอิทธิพล
  • โคลนนิ่งแล้วได้อะไร คำถามจากวิทยาศาสตร์-คำตอบจากพุทธศาสนา
  • พระนางพิมพา ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2539[5]
  • พระพุทธศาสนาในจีนสองยุค ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2540[5]
  • คำสอนของพระพุทธเจ้าในชื่อต่าง ๆ ในวารสารศาสนปริทรรศน์ พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[5]
  • พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นฐานหนึ่งของปัญญาไทย ในวารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับพิเศษ เมษายน พ.ศ. 2543[5]
  • ฯลฯ

งานบริการวิชาการ[แก้]

นอกจากงานประจำที่สอนนิสิตในจุฬาลงกรณ์ และเป็นภาคีสมาชิกของราชบัณฑิตยสถานแล้ว ท่านยังมีงานบริการวิชาการอื่น ๆ อีกเช่น กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก ราชบัณฑิตยสถาน, กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ

งานเผยแผ่พุทธศาสนา[แก้]

ท่านนำที่พักส่วนตัวเปิดเป็นสถานที่ฝึกสอน อบรม ความรู้ทางด้านพุทธศาสนา โดยเปิดเป็นสาขาที่ ๙ ของสถาบันจิตตานุภาพ ซึ่งก่อตั้งโดยพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ชื่อว่า บ้านบรรณรุจิ โดยมีการเปิดสอนในหลักสูตรครูสมาธิและหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต, เลม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๓๑ ง, ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔, หน้า ๒๙
  2. 2.0 2.1 รายการธรรมะจัดสรร บทสัมภาษณ์ ผศ. ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ ครั้งที่ 2[ลิงก์เสีย]
  3. รายนามราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ตามประเภทและสาขาวิชา
  4. รายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ผลงานวิชาการของคณาจารย์ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๒๕, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๓, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]