น้ำเต้าลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเต้าลม
หม้อล่างของ N. thorelii ที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพฤกษศาสตร์,ปารีส
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล (IUCN 2.3)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  thorelii
ชื่อทวินาม
Nepenthes thorelii
Lecomte (1909)
ชื่อพ้อง
  • ?Nepenthes thorelii f. rubra
    Hort.Kondo ex L.Song (1979)

น้ำเต้าลม (อังกฤษ: Nepenthes thorelii[1]) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของอินโดจีน เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับมัน แม้แต่นักอนุกรมวิธานยังติดป้ายชื่อของ N. thorelii ผิดบ่อยๆในการค้าต้นไม้

ประวัติทางพฤกษศาสตร์[แก้]

N. thorelii ถูกเก็บได้ครั้งแรกโดย Clovis Thorel ระหว่างปีค.ศ. 1862 และ ค.ศ. 1866[2] จาก Ti-tinh, Lo-thieu, Guia-Toan, เวียดนาม[3] ช่วงเวลานั้น Thorel ได้ตั้งชื่อตัวอย่างของ N. thorelii ว่า Thorel 1032 หนึ่งในตัวอย่างที่เก็บมาที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบเป็นต้นเพศผู้ที่มีหม้อล่างติดมาด้วย มันได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Museum National d'Histoire Naturelle ในปารีส ร่วมกับตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบที่เป็นเพศเมียพร้อมหม้อบน ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบตัวอย่างที่สองถูกรักษาไว้ที่หอพรรณไม้แห่ง Bogor Botanical Gardens (Herbarium Bogoriense).[3] ส่วนที่เหลือของ Thorel 1032 ถูกเก็บไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก[2]

ตัวอย่างอ้างอิงเพศเมียที่ถูกเก็บรักษาในหอพฤกษศาสตร์,ปารีส

N. thorelii ถูกจัดจำแนกในปีค.ศ. 1909 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Paul Henri Lecomte ผู้ตั้งชื่อมันตามชื่อ Thorel รายละเอียดถูกตีพิมพ์ใน Lecomte's Notulae systematicae[4] ตั้งแต่นั้นอนุกรมวิธานของ N. thorelii ก็ได้ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์: Nepenthes thorelii f. rubra ถูกอ้างโดย Leo C. Song ในบทความตีพิมพ์ปีค.ศ. 1979 ใน Carnivorous Plant Newsletter[5] แต่ถูกพิจารณาเป็น ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย[6]

ปีค.ศ. 1983, Bruce Lee Bednar เขียนป้ายชื่อพืชเพาะเลี้ยงว่า N. kampotiana ที่ถูกคิดว่าเป็นลูกผสมทางธรรมชาติระหว่าง N. mirabilis และ N. thorelii และปรากฏชื่อบนบางบัญชีรายชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า N. × lecouflei[7] Bednar หมายเหตุว่าพืชที่รู้กันในการค้าพืชสวนว่า "thorelii-long green" ที่ถูกพิจารณาว่าเป็น N. mirabilis จากไทยนั้นนั้น มีต้นอื่นที่ถูกเรียกว่า "short round" ที่มีใบปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มและหม้อทรงกลมนั้นอาจจะเป็น N. thorelii ก็ได้ ถ้าในกรณีนี้มันอาจหมายความว่าลูกผสมที่ถูกผสมโดยมนุษย์ ดังเช่น N. 'Hachijo' และ N. 'Effulgent Koto' ที่เป็นลำดับการเปลี่ยนแปลงทางสายพันธุ์ (ไคลน์) ของ N. mirabilis ดังที่ค้านสู่ลูกผสม[7]

ในเอกสารปี 1997 ของสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง Matthew Jebb และ Martin Cheek ได้ให้ตัวอย่างเพศผู้ที่เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้แห่งปารีสเป็นตัวอย่างเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบของ N. thorelii[3] ผู้เขียนหมายเหตุว่ามี "ปัญหาในการแบ่งแยก" ของ N. thorelii และญาติใกล้ชิดของมันอย่าง N. anamensis และ N. smilesii[3]

สารประกอบของพืชที่ระบุว่าเป็น N.thorelii เป็นหัวข้อของการศึกษาในบางเรื่อง บทความในปี ค.ศ. 1998 รายงานว่า naphthoquinones จาก N. thorelii แสดงถึงการต้านมาลาเรีย[8] เอกสารในปี ค.ศ. 2007 มีการศึกษาเอนไซม์องค์ประกอบของ nepenthesin ในหม้อในหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดซึ่งรวมถึง N. thorelii ด้วย[9]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

N. thorelii เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นตรง เป็นวงกลมสม่ำเสมอเมื่อตัดขวาง สอบเรียว ต้นยาวประมาณ 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มม. หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีการพัฒนาเหง้าพักตัวที่จะแตกต้นได้ใหม่เมื่อถึงฤดูฝน เหง้านี้มีกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอและอาจกว้างได้ถึง 2 ซม.[3]

ลำต้นและใบของตัวอย่าง

ใบเป็นรูปใบหอกตรงถึงรูปใข่กลับแคบ แผ่นใบยาว 26 ซม. กว้าง 3 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบหุ้มลำต้นและเป็นครีบ 2 ครีบ ยาว 2.5 ซม.จรดลำต้น ปลายครีบกลม มีสองถึงสี่เส้นใบตามยาวจะแสดงบนข้างทั้งสองของเส้นกลางใบ เส้นใบแบบขนนกมีจำนวนมากและโค้งไปหาส่วนปลายของแผ่นใบ[3]

ใบกระจุกและหม้อล่างเป็นทรงรูปไข่และสูงถึง 11.5 ซม.กว้าง 4.5 ซม. พื้นมีสีเขียวมีลายแดงเรื่อยๆและฝาก็มีสีแดงเรื่อยๆเช่นกัน ปีกทั้งคู่กว้าง 8 มม.อยู่ทางด้านหน้าของหม้อ ปีกมีตะเข็บชายครุยยาว 5 มม.แต่ละชิ้นห่างกัน 2 มม. ปากหม้อเป็นทรงสามเหลี่ยมรูปไข่เฉียง มีเพอริสโตมล้อมรอบ กว้าง 2 ถึง 4 มม.ที่ด้านหน้า 7 มม.ที่ด้านหลัง มีซี่เป็นระเบียบห่างกัน 0.25 - 0.4 มม.ขอบภายในของเพอริสโตมเป็นฟันโดยรอบขนาด 0.2 - 0.5 มม. ฝาหม้อรูปไข่ถึงกลมยาว 3.5 ซม.กว้าง 2.8 ซม. มีต่อมมากมายใต้ฝาโดยเฉพาะบริเวณใกล้เส้นกลาง ขนาด 0.3 - 0.7 มม. ต่อมจะเล็กและหนาแน่นน้อยลงเมื่อไกลจากเส้นกลาง ( 0.15 มม.) เดือยเดี่ยวยาว 2 - 4 มม.อยู่ใกล้บริเวณฐานฝา[3]

หม้อบนเกิดจากมือจับที่ตรงเป็นรูปไข่กลับและค่อยๆแคบลงไปทางปาก มีขนาดพอๆกับหม้อล่างคือสูง 12.5 ซม.กว้าง 4.5 ซม. ปีกในหม้อล่างจะแคบลงโดยกว้างประมาณ 1 - 1.5 มม.มีตะเข็บสายครุยเรียวแหลม (ยาว ≤1.5 มม.) ห่างกัน 3 - 7 มม. ปากหม้อเว้าและเอียงเหมือนกับหม้อล่าง เพอริสโตมกลมกว้างประมาณ 3 - 5 มม. ขอบนอกเป็นคลื่นแบบเป็นระเบียบ ฝาหม้อคล้ายกับหม้อล่าง[3]

ช่อดอกตัวผู้ (ซ้าย) และ ช่อผลตัวเมีย (ขวา) ช่อดอกตัวผู้ (ซ้าย) และ ช่อผลตัวเมีย (ขวา)
ช่อดอกตัวผู้ (ซ้าย) และ ช่อผลตัวเมีย (ขวา)

N. thorelii มีช่อดอกแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว 8 ถึง 18 ซม. ส่วนแกนกลางยาว 50 ถึง 70 ซม. 1 ก้านดอกย่อยมีดอก 1 ดอก ก้านดอกย่อยอาจยาวถึง 6 มม. และอาจมีหรือไม่มีใบประดับสั้นๆ[3]

N. thorelii มีสิ่งปกคลุมเป็นขนสีขาวแบบเดี่ยวหรือแขนงยาว 0.3 ถึง 0.4 มม.[3]

โครโมโซมของ N. thorelii เป็นโครโมโซมสองชุดมีจำนวน 78 ตามเอกสารของ Katsuhiko Kondo ในปีค.ศ. 1969[10] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1997 มีการศึกษาโดย Günther Rudolf Heubl และ Andreas Wistuba พบจำนวนโครโมโซมเป็น 80[11]

นิเวศวิทยา[แก้]

N. thorelii สามารถพบได้ในเวียดนาม.[3], กัมพูชา, ไทย หรืออาจจะในลาว[12] N. thorelii พบในภูมิอากาศแห้งแบบทุ้งหญ้าซาวานน่า สูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร[3][12] ในฤดูแล้ง เชื่อว่ามันสามารถมีชีวิตรอดจากเหง้าที่เหลืออยู่ เมื่อถูกไฟป่าเผาใบและลำต้นไปหมด และแตกต้นขึ้นมาใหม่เมื่อถึงฤดูฝน[3][13]

เนื่องจากการกระจายตัวตามธรรมชาติของมันไม่เป็นที่แน่นอน N. thorelii จึงถูกจัดอยู่เป็นพวกไม่มีข้อมูลในบัญชีแดงชนิดที่ถูกคุกคามของ IUCN 2006 บนพื้นฐานการประเมินในปี ค.ศ. 2000[12]

ชนิดที่เกี่ยวข้อง[แก้]

หม้อบนของ N. thorelii ที่ถูกเก็บรักษาไว้, แสดงลักษณะสายดิ่งยาวตรง

N. thorelii เป็นญาติใกล้ชิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดในอินโดจีนอย่าง N. anamensis และ N. smilesii มีลักษณะทางอนุกรมวิธานหลายๆอย่างที่คล้ายกัน เช่นมีใบแคบยาวคล้ายดาบ และ ฐานใบจะโอบรอบลำต้น N. anamensis อาจจะเติบโตในถิ่นอาศัยที่คล้ายกับ N. thorelii[3]

ลักษณะเด่นของ N. thorelii คือมีเหง้าขนาดใหญ่สำหรับพักตัวในฤดูแล้งและแตกต้นใหม่เมื่อถึงฤดูฝน, สายดิ่งที่ยาวตรงของหม้อบน, ช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามขอบเขตของความแตกต่างของชนิดหม้อข้าวหม้อแกงลิงในอินโดจีนนั้นยังไม่เป็นที่รู้กัน ทำให้การจำกัดวงนั้นยากเพิ่มมากขึ้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2549
  2. 2.0 2.1 Specimen Details: Nepenthes thorelii Lecomte. The New York Botanical Garden.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1) : 1–106.
  4. Lecomte, H. 1909. Les Nepenthes d'indo-Chine. In: H. Lecomte (ed.) Notulae systematicae, I. pp. 59–65.
  5. Song, L.C. 1979. Nepenthes crosses made at California State University, Fullerton. Carnivorous Plant Newsletter 8 (1) : 13.
  6. Schlauer, J. 2006. Nepenthes thorelii เก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  7. 7.0 7.1 Bednar, B. 1983. Nepenthes mirabilis variation.PDF (111 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 12 (3) : 64.
  8. Likhitwitayawuid, K., R. Kaewamatawong, N. Ruangrungsi & J. Krungkrai 1998. Antimalarial naphthoquinones from Nepenthes thorelii. Planta Medica 64 (3) : 237–241.
  9. Takahashi, K., M. Tanji & C. Shibata 2007. Variations in the content and isozymic composition of nepenthesin in the pitcher fluids among Nepenthes species. Carnivorous Plant Newsletter 36 (3) : 73–76.
  10. Kondo, K. 1969. Chromosome numbers of carnivorous plants. Bulletin of the Torrey Botanical Club 96 (3) : 322–328.
  11. Heubl, G.R. & A. Wistuba 1997. A cytological study of the genus Nepenthes L. (Nepenthaceae). Sendtnera 4: 169–174.
  12. 12.0 12.1 12.2 Clarke, C.M., R. Cantley, J. Nerz, H. Rischer & A. Witsuba 2000. Nepenthes thorelii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 10 May 2006.
  13. Kurata, S. 1976. Nepenthes of Mount Kinabalu. Sabah National Parks Publications No. 2, Sabah National Parks Trustees, Kota Kinabalu.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]