น้ำยาล้างจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำยาล้างจาน

น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

ประวัติ[แก้]

โซเดียมคาร์บอเนตถูกนำมาใช้ล้างจาน[1] และอาจถูกใช้กับน้ำกระด้างในหลายพื้นที่[2] ก่อนที่ผงซักฟอกจะถูกประดิษฐ์ในเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[3] น้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอกชนิดเหลวถูกผลิตขึ้นครั้งแรกกลางคริสตศตวรรษที่ 20 ผู้ผลิตน้ำยาล้างจานเริ่มต้นสายการผลิตในสหรัฐในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1940[3][4] ทีโพล เป็นเจ้าแรกในยุโรป เริ่มผลิตในปี 1942[5]

ในปี 2005 น้ำยาล้างจานมียอดขายรวมเกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. Pubchem. "Sodium carbonate - CNa2O3". Pubchem.ncbi.nlm.nih.gov. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  2. Balderston, Lydia Ray (1921). Housewifery: A Manual and Text Book of Practical Housekeeping. J.B. Lippincott. p. 23.
  3. 3.0 3.1 "Soaps & Detergent: History 3 - Clean Living". American Cleaning Institute. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Zoller2008
  5. "Our history". Shell.com. สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.