น้ำมนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักเรียนชายกำลังพรมน้ำมนตร์บนมือ ที่บริเวณภายในศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ

น้ำมนต์ หรือ น้ำมนตร์ หมายถึง นํ้าที่เสกเพื่อใช้อาบ กิน หรือประพรม เป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล[1] การทำน้ำมนต์พบเห็นได้ทั่วไปในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู เป็นต้น

ศาสนาพุทธ[แก้]

ในสามัญญผลสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงการเลี้ยงชีพด้วยการทำน้ำมนต์ว่าเป็นติรัจฉานวิชา ดังนี้

...ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง...[2]

ในปรมัตถโชติกา กล่าวว่าพระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระอานนท์เรียนท่องจำรัตนสูตร เพื่อใช้เป็นพระปริตร เสกน้ำนำไปประพรมทั่วนครเวสาลี ทำให้อมนุษย์ที่สิงอยู่ทั่วเมืองหนีไปหมด ชาวกรุงเวสาลีจึงหายจากโรคระบาด[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 628. ISBN 978-616-7073-56-9
  2. สามัญญผลสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
  3. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ