น้ำประปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำก๊อก

น้ำประปา หรือ น้ำก๊อก หมายถึง น้ำที่จ่ายผ่านก๊อกน้ำ วาล์วจ่ายน้ำ ในหลายประเทศ น้ำประปามักจะมีคุณภาพเทียบเท่าน้ำดื่ม น้ำประปามักใช้สำหรับการดื่ม ทำอาหาร ซักผ้า และล้างห้องน้ำ น้ำประปาในร่มกระจายผ่าน "ระบบประปาภายในอาคาร" ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่มีให้คนเพียงไม่กี่คนจนถึงช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อเริ่มแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน น้ำประปากลายเป็นเรื่องปกติในหลายภูมิภาคในช่วงศตวรรษที่ 20 และปัจจุบันส่วนใหญ่ยังขาดในหมู่คนยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

หน่วยงานของรัฐมักเป็นผู้ควบคุมคุณภาพของน้ำประปา วิธีการทำน้ำให้บริสุทธิ์ภายในครัวเรือน เช่นการกรองน้ำ การต้ม หรือการกลั่น สามารถใช้ในการบำบัดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำประปาเพื่อปรับปรุงความสามารถในการดื่ม[1] การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (เช่น โรงบำบัดน้ำเสีย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาน้ำสะอาดให้กับบ้านเรือน ภาคธุรกิจ และอาคารสาธารณะ เป็นสาขาย่อยที่สำคัญของวิศวกรรมสุขาภิบาล

การก่อกำเนิดประปาในประเทศไทย[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง มีพระราชดำริว่า กรุงเทพฯ น่าจะมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้น และจัดตั้งกรมสุขาภิบาลด้วย และได้ว่าจ้างช่างผู้ชำนาญการประปาจากฝรั่งเศส ชื่อ นายเดอลาม โฮเตียร์ และ นายแวนเดอไฮเด มาวางแผนการผลิตน้ำประปาซึ่งเขาได้เสนอความคิดหลายแนวทาง เช่น ควรนำน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยามาทำน้ำประปา เพราะสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ความคิดของทั้งสองคนนี้มีข้อขัดแย้งกันหลายอย่าง ต้องพิจารณากันกลายครั้ง ในที่สุด กระทรวงเกษตราธิการ ที่มีหน้าที่จัดการทดน้ำเพื่อการเพาะปลูก ก็เห็นชอบให้แมื่อน้ำจากแม่น้ำมาผลิต มีการผลิตน้ำสะอาดขึ้นแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียก Water Supply ว่า “ ปรฺปา “ จากคำภาษาสันสกฤต (หรือ ปฺปา ในภาษาบาลี)

ประวัติของการบัญญัติศัพท์คำว่า การประปา นั้น จริง ๆ เคยจำ พระนามผู้บัญญัติได้ แต่นึกไม่ออก สับสนอยู่ว่าเป็นพระองค์ในสองพระองค์(นี่คือข้อเสียของคนแก่ อะไรที่คิดว่าจำได้ แล้วดันไม่จดเอาไว้ พอถึงเวลาจะใช้ดันนึกไม่ออก) ได้พยายามค้นคว้าต่อตามที่สัญญาไว้ก้หาไม่เจอ พบแค่ว่าในยุคแรกก่อนที่จะบัญญัติคำว่าประปาขึ้นใช้ มีการใช้คำอยู ๒ คำ คือ

การหาน้ำบริโภค (วอเตอร์เวิร์ค) กับ การหาน้ำใช้ (วอร์เตอร์สับไปล(weter supply)) และค้นพบข้อความที่เกี่ยวข้องจาก "รายงานการประปาสำหรับกรุงเทพมหานคร ของเจ้าพระยายมราช กราบบังคมทูล พระกรุณา" กับอีกแห่งหนึ่ง ใน "ประกาศการสร้างประปา" ข้อความตรงกันว่า

" กิจการอย่างนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกตามภาษาสันสกฤต เพื่อให้เป็นคำสั้นว่า "การประปา"

น้ำประปามี การเติม สารเคมี ที่เรียกว่า คลอรีน เพื่อฆ่า เชื้อโรค น้ำประปาสามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Ahuja, Satinder (2018). Advances in Water Purification Techniques : Meeting the Needs of Developed and Developing Countries. San Diego: Elsevier. ISBN 978-0-12-814791-7. OCLC 1078565849.