น้ำทิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซ้าย: ขวดใส่น้ำทิ้งจากสำนักงาน และ ขวา: น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัด

น้ำทิ้ง (graywater) เป็นน้ำเสียประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้งานตามบ้านเรือนและสำนักงาน โดยต่างจากน้ำโสโครกที่เป็นน้ำเสียที่ไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ น้ำทิ้งเกิดจากการใช้งานทั่วไป เช่น การล้างมือ การอาบน้ำ การซักผ้า หรือการล้างจาน ซึ่งเป็นน้ำเสียที่ง่ายในการบำบัดและสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ในบริเวณตัวพื้นที่ เช่นใช้การชักโครก หรือใช้ในการรดน้ำต้นไม้ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำที่มีส่วนผสมของสบู่สามารถส่งผลต่อพื้นพันธุ์ได้[1]

การนำน้ำทิ้งมาใช้ใหม่นั้นนอกจากช่วยในการประหยัดน้ำดิบแล้ว ยังช่วยในการลดปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งช่วยในการลดค่าขนส่งในการนำไปบำบัดในบริเวณเมืองที่มีท่อน้ำทิ้งนำไปบำบัดในโรงงานบำบัดน้ำเสีย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. US EPA. Water Recycling and Reuse: The Environmental Benefits. Retrieved: 21 July 2015.
  2. Behzadian, k; Kapelan, Z (2015). "Advantages of integrated and sustainability based assessment for metabolism based strategic planning of urban water systems". Science of The Total Environment. Elsevier. 527–528: 220–231. doi:10.1016/j.scitotenv.2015.04.097.