น้ำตาลป่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำตาลป่น (อังกฤษ: castor sugar, powdered sugar) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะทางกายภาพ คือ แบบผลึก (Crystal Form) และแบบผง (Powder Form)

  • น้ำตาลป่นแบบผลึก (Crystal Form) มีลักษณะและรูปแบบเหมือนน้ำตาลทรายโดยทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพียงแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด น้ำตาลป่นแบบผลึกได้มาจากกระบวนการคัดร่อนอีกครั้งจากน้ำตาลทรายขนาดปกติ น้ำตาลชนิดนี้จึงมีราคาแพงกว่าน้ำตาลทรายโดยทั่วไป เหมาะสำหรับการผสมลงในเครื่องดื่ม ด้วยขนาดที่เล็กกว่าทำให้ละลายในน้ำได้เร็วกว่าน้ำตาลทรายทั่วไป
  • น้ำตาลป่นแบบผง (Powder Form) มีความแตกต่างจากน้ำตาลป่นแบบผลึกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของรูปร่างและการใช้งาน กล่าวคือ น้ำตาลป่นแบบผง จะเป็นน้ำตาลที่ผ่านการโม่บดเป็นผงละเอียดคล้ายผงแป้ง หากมองด้วยตาเปล่าจะคล้ายน้ำตาลไอซิ่ง (Icing Sugar) เป็นอย่างมาก น้ำตาลป่นชนิดนี้ผลิตเพื่ออุตสาหกรรมเบเกอรี่โดยเฉพาะ ทำหน้าที่เป็นสารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ มีความสามารถในการละลายน้ำได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลป่นแบบผลึก

ปัญหาที่พบโดยทั่วไปในการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ คือ ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าน้ำตาลที่ใส่ไปในะหว่างขั้นตอนการผลิตนั้น ละลายเข้ากันดีกับส่วนผสมอื่นๆหรือไม่ หากน้ำตาลละลายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ ระดับความหวานไม่เป็นตามที่กำหนด และถ้ามีน้ำตาลตกค้างเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ขณะรับประทานผลิตเบเกอรี่ดังกล่าวจะรู้สึกถึงเม็ดน้ำตาลที่ตกค้าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ผู้ใช้บางส่วนจึงหันไปใช้น้ำตาลป่นแบบผลึกซึ่งหาซื้อได้ง่าย อย่างไรก็ตามน้ำตาลชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ในรูปของผลึกน้ำตาล ผู้ใช้ยังคงต้องใช้ความพยายามในการทำละลายอยู่ดี ดังนั้นน้ำตาลป่นแบบผง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ของการแก้ปัญหา

ด้วยคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมากของน้ำตาลป่นแบบผง สามารถละลายน้ำได้ทันทีแม้ในอุณหภูมิห้อง ทำให้น้ำตาลละลายได้หมด ไม่เหลือสิ่งตกค้างในผลิตภัณฑ์ ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่ารสชาติของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จะเป็นไปตามที่กำหนด นอกจากนี้ น้ำตาลป่นแบบผงซึ่งละลายน้ำได้เป็นอย่างดี จะช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดพลังงานในการผลิตได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามน้ำตาลป่นแบบผง มีความอ่อนไหวต่อความชื้นเป็นอย่างมาก การเก็บรักษาจึงต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายวัตถุดิบเบเกอรี่

ดูเพิ่ม[แก้]