นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก น้าต๋อย เซมเบ้)
นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
อาชีพนักพากย์, พิธีกร
คู่สมรสอัญชลี บุณยรัตพันธุ์
บุตรชิษณุ บุณยรัตพันธุ์
ภาณุ บุณยรัตพันธุ์

นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ หรือที่รู้จักกันดีในฉายา น้าต๋อย เซมเบ้[1] เป็นนักพากย์การ์ตูน โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของเมืองไทย โดยสร้างชื่อจากการพากย์การ์ตูน ในรายการ ช่อง 9 การ์ตูน ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (ปัจจุบันคือเอ็มคอตเอชดี) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

นิรันดร์เคยเลิกพากย์อนิเมะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ด้วยปัญหาสุขภาพ โดยป่วยเป็นโรคหอบหืด และหันไปพากย์ภาพยนตร์จีนและซีรีส์เกาหลีทางช่อง 7 แทน[2] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2559 เขาได้มีโอกาสกลับมาพากย์อนิเมะเซเลอร์มูน คริสตัล อีกครั้งในบทบาทของ "หน้ากากทักซิโด้"[3]

ประวัติ[แก้]

นิรันดร์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มฝึกพากย์จากการชมภาพยนตร์ฮอลลีวูด แต่มีชื่อเสียงจากการพากย์การ์ตูน โดยการ์ตูนที่พากษ์เป็นเรื่องแรกคือ หน้ากากเสือ ส่วนการพากษ์อันเป็นที่จดจำคือ บท ดร. โนริมากิ เซมเบ้ ผู้สร้างหุ่นแอนดรอยด์ชื่ออาราเล่ ในเรื่อง ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ จนเป็นที่มาของฉายาว่า น้าต๋อยเซมเบ้

ในระยะหลัง นิรันดร์พากย์ภาพยนตร์ชุดเกาหลี และภาพยนตร์ช่วงบิ๊กซินีมา ทางช่อง 7 สี มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ลดบทบาทการพากย์ในโมเดิร์นไนน์การ์ตูน ทั้งนี้ ในการ์ตูนหลายเรื่อง นิรันดร์และสุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (น้าติ่ง) ยังพากย์เป็นตัวละคร ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่นคู่หู (ดิจิมอนเซฟเวอร์ส, คู่ซ่าฮาเฮx2) พี่น้อง (เทพอสูรจิ้งจอกเงิน) พ่อ-ลูก (ศึกจอมเวทปราบมาร) เป็นต้น

นิรันดร์มีบุตรชายที่เป็นนักพากย์การ์ตูนเหมือนกันคือ ชิษณุ (ต๋อม) และภาณุ (ตั๋ม) ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 นิรันดร์เปิดเผยผ่านสื่อสังคมว่า ตนป่วยเป็นโรคหอบหืด ปัจจุบันรับงานพากย์ภาพยนตร์จีนและเกาหลี ที่มักเป็นตัวร้ายและตัวตลก ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และเลิกพากย์การ์ตูนทางโมเดิร์นไนน์ทีวี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[2]

ผู้ที่พากย์เสียงแทน[แก้]

ในช่วงที่นิรันดร์ป่วยและไม่สามารถรับงานพากย์เสียงให้กับทางช่อง 9 จึงทำให้นักพากย์คนอื่นๆ ได้ถูกมารับงานพากย์ต่อ ทั้งเรื่องที่ได้ถูกนำไปพากย์เสียงใหม่และเรื่องที่ยังออกอากาศอยู่ ยกเว้นบางเรื่องที่ยังให้พากย์เสียงได้นั่นก็คือ โดราเอมอน (เฉพาะภาพยนตร์), เซเลอร์มูน เป็นต้น

นักพากย์ บทพากย์ เรื่อง หมายเหตุ
ธนกฤต เจนครองธรรม โกดะ ทาเคชิ โดราเอมอน พากย์เฉพาะทีวีซีรีส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน
โนริมากิ เซมเบ้ ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ พากย์ใหม่ เฉพาะทีวีซีรีส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2560
อภินันท์ ธีระนันทกุล ทาเคชิ โปเกมอน พากย์เฉพาะภาค ไดมอนด์ & เพิร์ล
ไกวัล วัฒนไกร คูรุรุ
ผู้บรรยายเรื่อง
เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก พากย์ตั้งแต่ปี 5 เป็นต้นไป

ผลงาน[แก้]

ผลงานที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำของแฟนการ์ตูนเมืองไทย มีดังนี้

การ์ตูนญี่ปุ่น[แก้]

ภาพยนตร์แนวโทคุชัทสึ[แก้]

การ์ตูนไทย[แก้]

  • ม้าเหล็ก (การ์ตูนแอนนิเมชัน เปิดตัว อัลบั้ม ม้าเหล็ก ของ อำพล ลำพูน) รับบทเป็น ม้าเหล็ก, ผู้บรรยาย, ลูกสมุนโรงงานนรก
  • สี่สหายล่าเหรียญพลัง รับบทเป็น บันไซ
  • ซุปเปอร์มอลต์พิทักษ์โลก (การ์ตูนแอนิเมชัน ของโอวัลติน) รับบทเป็น ซุปเปอร์มอลต์, วิมปี้
  • เดอะไดอารี่ บันทึกประวัติศาสตร์ชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รับบทเป็น คุณปู่

ภาพยนตร์ต่างประเทศ[แก้]

ผลงานการแสดง[แก้]

เกม[แก้]

อื่น ๆ[แก้]

  • เป็นเจ้าของบริษัท ตูนส์ ทาวน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง "คริสตัลไนท์" หนังฮีโร่แนวแปลงร่างของไทย ซึ่งนิรันดร์ได้เป็นผู้เขียนบท กำกับ และร่วมแสดงด้วย
  • คู่หู คู่ฮา
  • ฮงกิลดง จอมโจรโดนใจ
  • พากย์ซีรีส์เกาหลีของช่อง 7 (เฉพาะบางเรื่อง)
  • พากย์ภาพยนตร์ในช่วง บิ๊กซีนีม่า (เฉพาะบางเรื่อง) เช่นมนุษย์ตัวเขียวจอมพลังภาค 1-ภาค 2
  • Spelling IS FUN WITH WILLY BEETLE เกมฝึกทักษะการสะกดคำภาษาอังกฤษ เสียงพากย์เป็น แมลงเต่าทองวิลลี
  • เสียงพากย์มวยไทย ในละคร มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 7 (2538)
  • การ์ตูนอะนิเมชั่น เดอะไดอารี่ บันทึกประวัติศาสตร์ชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์" ผลิตโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ ดิจิตัลทีวี

อ้างอิง[แก้]

  1. การ์ตูนไทยไปถึงไหนแล้ว? EP.2 เจาะลึกถึงแก่น...เหตุใดการ์ตูนไทยไม่บูม! - ไทยรัฐ
  2. 2.0 2.1 "'น้าต๋อย เซมเบ้' ป่วย! น้ำหนักลด 10 กก. เผยหยุดพากย์การ์ตูน 3 ปีแล้ว". ไทยรัฐออนไลน์. 28 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""น้าต๋อย เซมเบ้" เตรียมคืนจอ พากย์ "เซเลอร์มูน" หลังป่วยหนักห่างจอร่วม 4 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-28.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]