นิมิต (กรรมฐาน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิมิต หมายถึงเครื่องหมายในเวลาทำกรรมฐาน คือเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดจับเป็นอารมณ์แล้วพิจารณาจนติดตาติดใจ

ประเภทของนิมิต[แก้]

นิมิต มี 3 อย่าง คือ

  1. บริกรรมนิมิต คือเครื่องหมายสำหรับกำหนดเป็นอารมณ์สำหรับบริกรรม เช่นอนุสสติ กสิณ อสุภะ
  2. อุคหนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนด ได้แก่อารมณ์ที่เจนตาเจนใจ หลังจากทีได้เพ่งพิจารณาบริกรรมนิมิตเช่นเพ่งกสิณแล้ว แม้หลับตาอยู่ก็สามารถเห็นนิมิตนั้นได้ชัดเจนเหมือนลืมตาเห็น เรียกว่า "นิมิตติดตา" ก็มี
  3. ปฏิภาคนิมิต คือเครื่องหมายเทียบเคียงหรืออารมณ์เทียบเคียง เกิดจากอุคหนิมิตที่เจนตาเจนใจจนใสบริสุทธิ์ และสามารถย่อหรือขยายส่วนแห่งนิมิตนั้นได้ตามต้องการ

อ้างอิง[แก้]