นำชัย ชีววิวรรธน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนมณีวิทยา มัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนทวีธาภิเศก มัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีชีววิทยา สาขาสัตววิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทชีวเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาเอกด้าน Molecular Genetics จาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น

ทุนการศึกษาหรือรางวัลที่เคยได้รับ[แก้]

  • ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษา ณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2529-2532
  • รางวัลผลการเรียนดีเด่น สาขาชีววิทยา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2532
  • รางวัลผลการเรียนดีเด่นสาขาชีววิทยา จากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ พ.ศ. 2532
  • ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ระดับปริญญาโท เพื่อศึกษา ณ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2533-2535
  • ทุนมอนบูโช จากกระทรวงการศึกษา, กีฬาและวัฒนธรรม, ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาระดับปริญญาเอก ณ ภาควิชาอณูพันธุศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยคุมะโมะโตะ เมืองคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2538-2541
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563[1]
  • รางวัลสุรินทราชา สาขา นักแปลดีเด่น จากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563[2]


เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ทำงานเป็นนักวิจัยอยู่หน่วยพันธุวิศวกรรมจุลินทรีย์ (Microbial Genetic Engineering Unit) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยในความร่วมมือของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ กับ ศ.ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม ผู้อำนวยการสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล ในขณะนั้น ปัจจุบันนี้ ห้องปฏิบัติการนี้ย้ายมาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลาง ไบโอเทค


ปัจจุบัน ทำงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เคยมีงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์ลงในนิตยสาร Science World โลกวิทยาศาสตร์ (เลิกผลิตแล้ว) ปัจจุบัน มีงานเขียนลงเป็นระยะๆ ในนิตยสารอัปเดต, นิตยสาร สารคดี (คอลัมน์ วิทย์(ทด)ลองของ) และคอลัมน์ โลกในมือคุณ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

หนังสือ[แก้]

ที่เขียน/ร่วมเขียน, แปล หรือร่วมเรียบเรียง/จัดทำ รวม 28 เล่ม (ในจำนวนนี้เป็นพจนานุกรม 2 เล่ม และสารานุกรม 1 เล่ม) ประกอบด้วย

  • สู่ชีวิตอมตะ (เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ศตวรรษที่ 21) , 2545, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), ISBN 974-534-595-4, หนังสือเล่มนี้อยู่ในรายชื่อ "100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์" ที่เขียนขึ้นโดยคนไทยและตีพิมพ์ระหว่างปี 2537-2548 (ซึ่งคัดเลือกจากหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม)
  • ดีเอ็นเอ ปริศนาลับรหัสชีวิต (ผู้เขียนร่วมกับ ดร.สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย, ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ และดร.นเรศ ดำรงชัย) , พิมพ์ครั้งที่ 1-เม.ย. 2546, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ISBN 974-229-462-3 ; พิมพ์ครั้งที่ 2 มี.ค.2551, สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ISBN 974-07-1945-8
  • จากอณูถึงอนันต์ วิทยาศาสตร์ต้องรู้ (ผู้แปลร่วมกับ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ และ ดร. นเรศ ดำรงชัย) , 2548, สำนักพิมพ์สารคดี. ISBN 974-484-139-7
  • วิทยาศาสตร์ในสตาร์วอร์ส, 2548 , สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). ISBN 974-229-737-1
  • “ไข้หวัดนก” โรคอุบัติใหม่บนโลกใบเก่า (ผู้เขียนร่วมกับ คุณกรุณา ปีติวิวัฒน์) , 2548, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค), ISBN 974-229-785-1


  • พจนานุกรมเทคโนโลยีชีวภาพ ภาษาอังกฤษ-ไทย (ร่วมจัดทำ) , 2549, สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, ISBN 974-94991-2-3
  • มหัศจรรย์ดีเอ็นเอ, 2549, สำนักพิมพ์สารคดี, ISBN 974-484-223-7
  • BIOTECHNOLOGY เทคโนโลยีสำหรับโลกยุคใหม่ (ผู้เขียนร่วม) , 2550, สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ISBN 978-974-7814-27-9
  • สเต็มเซลล์, พิมพ์ครั้งที่ 1 มี.ค. 2551, พิมพ์ครั้งที่ 2 2553, สำนักพิมพ์สารคดี, ISBN 978-974-484246-6
  • โคลนนิ่งไดโนเสาร์ ฤๅฝันจะเป็นจริง, มี.ค. 2551, สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์


  • ทางรอดประเทศไทย (ผู้เขียนร่วม) , มิ.ย. 2551, สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์ (ดัดแปลงจากเอกสารสรุปการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาครั้งที่ 6 พ.ศ. 2550 เรื่อง "ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"), ISBN 978-974-7814-64-4
  • โรคอุบัติใหม่ (ผู้เขียนร่วมกับ นสพ.ดร.เอกชัย เจนวิถีสุข, สพญ.อโนรัตร เจนวิถีสุข, ผศ.นสพ.ดร.ประวิทย์ บุตรอุดม) , ส.ค. 2551, สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ISBN 978-974-7814-77-4
  • ๙ องศา ตะลุยมิติวิทยาศาสตร์ (เขียนเนื้อหาร่วมกับนักเขียนไซไฟอีก 7 คน และวาดภาพโดยนักวาดการ์ตูนอีก 10 คน), ส.ค. 2552, สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก โดย สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, ISBN 978-974-9988-98-5
  • สารานุกรมบริแทนนิกา ภาคภาษาไทย (ผู้แปลร่วม) , ก.ย. 2551, บริษัท มีเดียเอกซเพอร์ทีส อินเตอร์เนชั่นแนล
  • ผ่าพันธุศาสตร์ (แปลจาก Introducing Genetics), มี.ค.2553, สนพ.มูลนิธิเด็ก, ISBN 978-616-7296-24-1


  • กรรม-บัง-กฎ แปลกจริงวิทยาศาสตร์, มี.ค.2553, สนพ.สารคดี ISBN 978-974-484-301-2
  • 3 สิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา (ผู้เขียนร่วม), ม.ค.2555, มูลนิธิโลกสีเขียว, ISBN 978-974-7076-30-1
  • ชาร์ลส์ ดาร์วิน กำเนิดแห่งชีวิตและทฤษฎีวิวัฒนาการ (ผู้เขียนร่วมกับสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ), ก.พ.2555, สนพ.สารคดี, ISBN 978-974-484-350-0, หนังสือนี้ได้รับรางวัลหนังสือแนะนำจาก เซเว่นบุ๊คส์อวอร์ด
  • ครอบครัวจอมซ่า ท้าตะลุยวิทย์ ตอนชีวิตวิบวับ (การ์ตูนประกอบ: กานดา หวังดี), มี.ค. 2555, สนพ.มูลนิธิเด็ก โดย สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, ISBN 978-616-7296-89-0
  • 20 คำถามสำคัญของวิวัฒนาการ (The Big Questions Evolution), ผู้เขียน Francisco J. Ayala, ผู้แปล ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ก.พ. 2558, สำนักพิมพ์มติชน, ISBN 978-974-02-1381-9


  • กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species), ผู้เขียน Charles Darwin, ผู้แปลร่วม (คณะผู้แปลประกอบด้วย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ดร.อุบลศรี เลิศสกุลพานิช, รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า, ผศ.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์, ดร.ณัฐพล อ่อนปาน, ผศ.ดร.ศศิวิมล แสวงผล, ว่าที่ร้อยตรี รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์), พิมพ์ครั้งที่ 1, มี.ค. 2558, สนพ.สารคดี, ISBN 978-616-7767-50-5 ฉบับปกแข็ง พิมพ์ครั้งที่ 1, มิ.ย. 2559, สนพ.สารคดี, ISBN 978-616-7767-71-0
  • นามานุกรม นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักคิด, พิมพ์ครั้งที่ 1 มี.ค. 2559, สนพ.สวทช., ISBN 978-616-12-0442-6
  • คอสมอส, ผู้แปลร่วม (คณะผู้แปลประกอบด้วย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ และธิดา จงนิรามัยสถิต, พิมพ์ครั้งที่ 1 มี.ค. 2560, สนพ.สารคดี, ISBN 978-616-7767-85-7
  • อย่าชวนเธอไปดูหนังรัก, พิมพ์ครั้งที่ 1 มี.ค. 2560, สนพ.มติชน, ISBN 978-974-02-1557-8
  • วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง, ผู้เขียน Tim Levens, พิมพ์ครั้งที่ 1 มิ.ย. 2560, สนพ. openworlds, ISBN 978-616-7885-53-7
  • อยากชวนเธอไปอำผี, พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2560, สนพ.มติชน, ISBN 978-974-02-1572-1
  • เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ฉบับเยาวชน และฉบับประชาชน, พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2561, สวทช., ISBN 978-616-12-0554-6
  • เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (Sapiens A Brief History of Humankind), พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2561, สนพ.ยิปซี, ISBN 978-616-301-656-0



เป็นบรรณาธิการ 6 เล่ ม

  • 6T แฟนตาซีผ่าโลกอนาคต: ทลายเมืองมนุษย์กลายพันธุ์, บรรณาธิการ (แปลโดยศศิธร ชัยศิริพานิช จากต้นฉบับภาษาเกาหลี), มี.ค.2554, สนพ.นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ISBN 978-616-04-0432-2
  • เหนือพันธุ์มนุษย์, บรรณธิการ (รวมผลงานเยาวชนชนะการประกวดจากโครงการ การ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล), มี.ค. 2553, สนพ.มูลนิธิเด็ก โดยสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, ISBN 978-616-7296-30-2
  • 2600 มนุษย์ เวลา และมิตรภาพ, บรรณาธิการ (รวมผลงานเยาวชนชนะการประกวดจากโครงการ การ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2), เม.ย. 2554, สนพ.มูลนิธิเด็ก โดยสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, ISBN 978-616-7296-69-2
  • พัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับนัยทางจริยธรรม กฎหมายและสังคม, บรรณาธิการร่วม (จุมพล เหมะคีรินทร์ และดร.นำชัย ชีววิวรรธน์), เม.ย. 2554, หน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ISBN 978-616-12-0140-1
  • ๑ ศตวรรษวิทยาศาสตร์กับบทบาทของไทย (1 Century of Science and the Role of Thailand) , บรรณาธิการร่วม (คณะบรรณาธิการ: ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์, ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์, รศ.ดร.อุดมศิลป์ ปิ่นสุข, ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์), ส.ค.2556, มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, ISBN 978-616-91314-2-7
  • เอนไซม์และการประยุกต์ใช้ , บรรณาธิการ (คณะผู้เขียน: ดร.รัชดาภรณ์ ศรีปรางค์ โคบายาชิ, ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา, ดร.สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์, ดร.นิรันดร์ รุ่งสว่าง, ดร.ฮาจิเมะ โคบายาชิ และดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร), ส.ค.2556, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ สวทช., ISBN 978-616-12-0294-1

สื่อการเรียนรู้อื่นๆ[แก้]

  • ชุดการเรียนรู้ ดีเอ็นเอ โมเลกุลชีวิต , ผู้เขียนร่วม (สุปราณี สิทธิไพโรจน์สกุล และนำชัย ชีววิวรรธน์), 2556, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • เกมกระดาน The XVolution, ร่วมกับ ปีย์ชนิตว์ เกิดสุวรรณ และศศิธร อรรถภาคย์, 2558, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมผลิตกับบริษัท แปลนทอย จำกัด


นอกจากนี้ ยังสนใจในการปาฐกถา อบรมให้ความรู้ และการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ที่เคยเป็นอาจารย์พิเศษ หรือกรรมการสอบวิทยานิพนธ์นักศึกษา หรือวิทยากรพิเศษ

  • สถาบันอณูชีววิทยาวิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล (พ.ศ. 2542-2546) - อาจารย์พิเศษ และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ (พ.ศ. 2543, 2546, 2547 และ 2551) - วิทยากร; 2547- Course 2300894 Doctoral Dissertation Seminar
  • คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร (พ.ศ. 2543-2547) - อาจารย์พิเศษ
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.วลัยลักษณ์ (พ.ศ. 2544) - อาจารย์พิเศษ
  • คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล (พ.ศ. 2545-2547) - อาจารย์พิเศษ และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
  • สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (พ.ศ. 2547) - วิทยากร (สัมมนาวิชาการพันธุศาสตร์ "ดีเอ็นเอ ปริศนาลับรหัสชีวิต" 20 ม.ค. 2547)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร (พ.ศ. 2547) - อาจารย์พิเศษ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "วิทยาศาสตร์ก้าวไกล ท้องถิ่นไทยก้าวหน้า" ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 15 (วทร.15) 26-29 ม.ค. 2548
  • ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (2549) - วิทยากร (หัวข้อ "จับผิดข่าววิทย์ลวงโลก" ในงานมหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ก.พ. 2549 ที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล


ตัวอย่างสถาบันการศึกษาอื่น นอกเหนือจากมหาวิทยาลัย ที่เคยเป็นอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรพิเศษ

  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (พ.ศ. 2547) - อาจารย์พิเศษ
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (พ.ศ. 2547) - วิทยากร (5 ก.พ. 2547)


ตัวอย่างองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ นอกเหนือจากสถาบันการศึกษา ที่เคยเป็นวิทยากรพิเศษ

  • องค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2546) - วิทยากร
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (พ.ศ. 2546, 2548, 2551) - วิทยากร; 2548- ค่ายวิทยาศาสตร์โครงการ พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2547 ระหว่าง 3-9 เม.ย. 2548 ณ สสวท.
  • คณะกรรมจัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2547 (15-23 ต.ค. 2547 อิมแพ็ค เมืองทองธานี) - วิทยากรในส่วนของวิทยาศาสตร์กับภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ Sci-Cinema เรื่อง "ปักษาวายุ" 22 ต.ค. 2547
  • โครงการ พสวท. (2548) - วิทยากร งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เสวนา "นักวิทยาศาสตร์กับเหตุการณ์โลกปัจจุบัน" 10 มี.ค. 2548 ศูนย์ฯ ไบเทค บางนา)
  • องค์การบริหาร องค์การนิสิต ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "ผลกระทบต่อสังคมไทย และทางเลือกกรณี GMOs" ในการสัมมนาวิชาการ GMOs นวัตกรรมประดิษฐ์เส้นขีดอนาคตประเทศไทย วันที่ 10 มีนาคม 2548 ที่ ม.เกษตรศาสตร์
  • กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "ประเทศไทยกับอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ" ในการประชุมหารือสร้างความร่วมมือการป้องกันการก่อการร้ายกับตัวแทนจากประเทศสหรัฐฯ 1 ส.ค. 2548
  • โครงการชีวจริยธรรมกับสังคม (2548) - วิทยากร (เสวนา "เจาะลึกประเด็นชีวจริยธรรมในเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์" ในการฝึกอบรมเข้มข้นการเขียนบทความ เรื่องสั้น และการ์ตูนวิทยาศาสตร์ 29 เม.ย. 2548
  • ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKC) (2549) - วิทยากร (หัวข้อ "สร้างศักยภาพวิทยาศาสตร์จากฐานความรู้" ในการสัมมนา Science Inspires 28 ก.พ. 2549


ตัวอย่างองค์กรหรือหน่วยงานภาคเอกชน ที่เคยเป็นวิทยากรพิเศษ

  • ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.)
    * 2547 - วิทยากร การเสวนา "คลื่นลูกที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21" ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ (18 ก.พ. 2547)
    * 2549 - วิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเขียนเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์" ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ (10 ต.ค. 2549)
  • บริษัท Laureal ประเทศไทย (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DNA" 15 ก.พ. 2548 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์)
  • บริษัท Pattaya Food Industries Ltd. (หัวข้อ "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ GMOs") , 11 ก.ค. 2548
  • ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) ร่วมกับ มูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ และสำนักพิมพ์สารคดี (2548) - วิทยากร (เสวนา "หนังสือวิทยาศาสตร์แนวไหนที่คนไทยควรอ่าน" 1 เม.ย. 2548 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี 2548)
  • สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "เจาะลึก GMOs" ในการประชุมวิชาการประจำปีทางเทคนิคการแพทย์ ครั้งที่ 29)
  • มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) (2548) - วิทยากร (หัวข้อ "การได้มาซึ่งตัวอ่อนมนุษย์สำรหับการวิจัย: สถานการณ์โลก" ในการประชุมระดับชาติว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 2 ปี 2548


ตัวอย่างคอร์สนานาชาติที่เคยสอน

  • Inter-regional Training Course on Molecular Biology Techniques and Radionuclide Tracers in the Control of Infectious Diseases, 13 November - 1 December, 2000
  • The Thai University Consortium (CU, MU, KMUTT, KU, MU and BIOTEC) ร่วมกับ UNESCO (พ.ศ. 2547-2548) - Lecturer (หลักสูตร The UNESCO-Postgraudate Inter-University Course in Biotechnology, สอนวันที่ 18 ต.ค. 2547 และ 18 ต.ค. 2548 หัวข้อ Molecular Genetics และ Recombinant DNA Method)


ตัวอย่างการประชุมระดับนานาชาติที่เคยเข้าร่วม

  • Biological Weapons Convention Regional Workshop, Hosted by Asia-Pacific Centre for Military Law, University of Melbourne, Australia, 21 - 25 February 2005
  • The 3rd Meeting of the Experts to the Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on Their Destruction, United Nations, Geneva, Switzerland, 13-24 June 2005


ตัวอย่างการประกวดที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสิน

  • โครงการประกวดภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดสั้น 'ชีวจริยธรรม' (2549) ร่วมจัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, นิตยสารไบโอสโคป, โรงภาพยนตร์ อีจีวี, ฟลิป คาเฟ่ และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.


ตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่เคยจัด

  • รายการ Science Guide ทาง Modern 9 TV (เริ่มออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ใน พ.ศ. 2557)


ตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่เคยร่วมรายการ

  • รายการ Know How and Know Why ของ Nation Channel (พ.ศ. 2547)
  • รายการ Mega Clever ตอนพิเศษ, Modern 9 อสมท. (พ.ศ. 2550)
  • รายการ ชาวกรุง, Nation Channel, 2 เม.ย. 2551
  • รายการ Brian Bank, Thai PBS (พ.ศ. 2551)
  • รายการ จุดเปลี่ยน, Modern 9 อสมท. (พ.ศ. 2551)
  • รายการ วัฒนธรรมชุบแป้งทอด, Thai PBS (พ.ศ. 2557)
  ตอน 1 https://www.youtube.com/watch?v=ZjgIN9KeNTM 
  ตอน 2 https://www.youtube.com/watch?v=56YWGKUjv5g


ตำแหน่งทางวิชาการอื่นๆ ที่เคยเป็นหรือเป็นอยู่

  • เคยเป็นกรรมการวิชาการ การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (พ.ศ. 2543)
  • เคยเป็นกรรมการตัดสินโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ แคมป์สุกคิดกับชินคอร์ป (พ.ศ. 2545-2546)
  • เคยเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกนักวิจัยโครงการศึกษาขั้วโลกใต้ (พ.ศ. 2546)
  • เคยเป็นภาคีสมาชิกมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2546)
  • เคยเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพด้านจุลินทรีย์ ในคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (พ.ศ. 2546-2548)
  • บรรณาธิการในกองบรรณาธิการนิตยสาร อัปเดต (UpDATE) (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)
  • เคยเป็นผู้ทำงานในคณะทำงานค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร ด้านวิชากร, สวทช. (พ.ศ. 2547)
  • เคยเป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • เคยเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะทำงานอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ


กิจกรรมกับเอกชนที่เคยร่วม

  • ร่วมในแคมเปญ Singha Discovers 500 Galapagos (พ.ศ. 2557) เดินทางไปหมู่เกาะกาลาปากอส

ที่มา[แก้]

ประวัติโดยรวม

https://www.facebook.com/notes/namchai-chewawiwat/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B9%8C/700318303343333

แคมเปญ Singha Discovers 500 Galapagos

http://www.singhadiscovers.com/?i=idex เก็บถาวร 2014-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

-

  1. "เกียรติประวัติศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2563 | 📺 รู้จักศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 🏆 ทั้ง 3 ท่าน ผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม... | By Mahidol University, Faculty of Science | Facebook". www.facebook.com.
  2. "ประกาศแล้ว ! 'นักแปล-ล่าม' ดีเด่น 'รางวัลสุรินทราชา' ปี 63". www.bangkoklifenews.com.