นามสกุลพระราชทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นามสกุลพระราชทาน[1][2] หมายถึง นามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455[3] โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือกตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458[4][5] พระองค์ทรงมีพระราชดำริถึงประโยชน์ของการมีนามสกุลหรือชื่อตระกูลเมื่อ พ.ศ. 2454 ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ความว่า[6]

ยังมีอีกเรื่อง ๑ ซึ่งได้พูดกันลงความเห็นกัน คือว่าด้วยชื่อแส้ฤๅตระกูล ซึ่งในเมืองอื่น ๆ เฃาก็มีกันแบบทั่วไป แต่ในเมืองเรายังหามีไม่ เห็นว่าดูถึงเวลาอยู่แล้วที่จะต้องจัดให้มีขึ้น การมีชื่อตระกูลเปนความสดวกมาก อย่างต่ำ ๆ ที่ใคร ๆ ก็ย่อมจะมองแลเห็นได้ คือชื่อคนในทะเบียฬสำมโนครัวจะได้ไม่ปนกัน แต่อันที่จริงจะมีผลสำคัญกว่านั้น คือจะทำให้เรารู้จักรำฤกถึงบรรพบุรุษของตนผู้ได้อุสาหก่อร่างสร้างตัวมา และได้ตั้งตระกูลไว้ให้มีชื่อในแผ่นดิน เราผู้เปนเผ่าพันธุ์ของท่านได้รับมรฎกมาแล้ว จำจะต้องประพฤติตนให้สมกับที่ท่านได้ทำดีมาไว้ และการที่จะตั้งใจเช่นนี้ ถ้ามีชื่อที่ต้องรักษามิให้เสื่อมทรามไปแล้ว ย่อมจะทำให้เปนเครื่องยึดเหนี่ยวหน่วงใจคนมิให้ตามใจตนไปฝ่ายเดียว จะถือว่า "ตัวใครก็ตัวใคร" ไม่ได้อีกต่อไป จะต้องรักษาทั้งชื่อของตัวเอง ทั้งชื่อของตระกูลด้วยอีกส่วน ๑

— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุรายวันเล่ม ๒, รัตนโกสินทรศก ๑๒๐.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลเป็นครั้งแรก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 จำนวน 4 นามสกุล คือ สุขุม มาลากุล พึ่งบุญ และ ณ มหาชัย[7]: 152:เชิงอรรถ ๒  โดยมีนามสกุล "สุขุม" ซึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับแรก[8] ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลไว้จำนวนทั้งสิ้น 6464 นามสกุล เป็นนามสกุลตามสมุดทะเบียน 6439 นามสกุล (ในสมุดทะเบียนลงลำดับที่นามสกุลที่ได้พระราชทานไปเพียง 6432 นามสกุล) , นามสกุลพิเศษ 1 นามสกุล คือ นามสกุล ณ พิศณุโลก และนามสกุลพระราชทานสำหรับราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 24 นามสกุล[9]

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่เจ้านายและข้าราชบริพารเป็นวาระพิเศษอีกหลายครั้ง

รายชื่อสกุลที่ขึ้นต้นด้วย "ณ"[แก้]

สกุลที่ขึ้นต้นด้วย "ณ" เป็นนามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[10]

สกุลที่ขึ้นด้วย ณ[แก้]

สกุล อักษรโรมัน เลขที่ พระราชทานแด่ สืบเชื้อสายจาก หมายเหตุ
ณ กาฬสินธุ์ na Kâlasindhu 1190 พระยาชัยสุนทร (เก) พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) [11]
ณ จัมปาศักดิ์ na Champâsakdi 1618 เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (อุย) เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) [11]
ณ เชียงใหม่ na Chiengmai 1161 เจ้าแก้วนวรัฐ (แก้ว) พระเจ้ากาวิละ
พระยาธรรมลังกา
พระยาคำฟั่น
[11][12]
ณ ตะกั่วทุ่ง na Takuathung 2289 หลวงราชภักดี (หร่าย) พระยาโลหะภูมิพิสัย [11]
ณ ถลาง na Thâlang 0742 พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี), พระอาณาจักรบริบาล (อ้น) และพระพิไสยสุนทรการ (แปลง) พระยาถลาง (ฤกษ์) [11]
ณ นคร na Nagara 0103 เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) [11]
ณ น่าน na Nân 1162 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริยะ) พระยาหลวงติ๋นมหาวงศ์ [11][12]
ณ บางช้าง na Bâng Xâng 0360 หลวงขจรเนาวรัฐ (หลำ) และหลวงพิพิธวรรณการ (ม้วน) พระแม่กลอง (สอน) กับเจ้าคุณหญิงแก้ว [11]
ณ ป้อมเพชร์ na Pombejra 0150 พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ) พระยาไชยวิชิต (เผือก) [11]
ณ พัทลุง na Badalung 2279 หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) พระยาพัทลุง (ขุน) [11]
ณ พิศณุโลก พิเศษ หม่อมคัทริน [11][13]
ณ มโนรม na Manorom 2770 หลวงวินิจสารา (ดวง) พระยามโนรม [11]
ณ มหาไชย na Mahajai 0004 พระยาเทพทวาราวดี (สาย) พระยานรนารถภักดี [11]
ณ ร้อยเอ็จ na Roi Ech 1189 พระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์ เพี้ยพระนคร (คำ) [11]
ณ ระนอง na Ranong 2345 พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี) พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (ซู้เจียง) [11]
ณ ลำปาง na Lampâng 1166 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (บุญทวงษ์) พระยาคำโสม
พระเจ้าดวงทิพย์
พระยาอุปราชหมูล่า
[11][12]
ณ ลำภูน na Lambhûn 0866 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (จักรคำ) พระยาคำฟั่น [11]
ณ วิเชียร na Vijira 2803 พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) [11]
ณ สงขลา na Sonkhlâ 0108 พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ฑิตย์) พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง) [11]
ณ หนองคาย na Nonggai 1181 พระยาวุฒาธิคุณ (แพ) พระปทุมเทวาภิบาล (สุวอ) [11]
ณ อุบล Na Ubol 3127 พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) [11]

สกุลที่มี ณ อยู่ท้ายสกุล[แก้]

สกุล อักษรโรมัน เลขที่ พระราชทานแด่ สืบเชื้อสายจาก หมายเหตุ
พรหมสาขา ณ สกลนคร Brâhmasâkhâ na Sakolnagara 1368 พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) พระบรมราชา (พรหมา) [14]
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม Bhavabhûtânanda na Mahasaragama 1218 พระเจริญราชเดช (อุ่น) พระเจริญราชเดช (กวด) [15]
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Ratnatilaka na Bhuket 2327 หลวงวรเทพภักดี (เดช) พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เจิม) [16]
สุนทรกุล ณ ชลบุรี Sundarakul na Jolburi 4603 หม่อมหลวงจาบ กรมขุนสุนทรภูเบศร์ [17]

สกุลย่อยที่ใช้ ณ ต่อท้ายสกุล[แก้]

สกุล อักษรโรมัน เลขที่ พระราชทานแด่ แยกจากสกุล หมายเหตุ
โกมารกุล ณ นคร Komârakul na Nagara 0253 พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) ณ นคร [18]
ประทีป ณ ถลาง Pradîp na Thâlang 3945 หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ณ ถลาง [19]
สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง Sugandhâbhiromya na Badalung 2425 สมบุญ ณ พัทลุง [20]

รายชื่อนามสกุลที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ[แก้]

  • เศียนเสวี พระราชทาน พระอักษรสมบูรณ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) เสมียนตรากระทรวงวัง และนายพันตรีในกองทัพบก บิดาเป็นชาวเยอรมัน นามสกุลเดิมว่า “Falck” คือมุ่งว่า “falk” แปลว่าเหยี่ยว แปลกลับเป็นสันสกฤตว่า “เศ์ยน” แผลงเป็นไทยว่า “เศียน”
  • เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่ากระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น “หินขาว”)
  • สุมิตร พระราชทาน นายอี สเปนช์ สมิต ผู้ช่วยอธิบดีกรมศึกษาธิการ ขอพระราชทานให้บุตรชายหญิงซึ่งมารดาเป็นไทย
  • เวลานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ (ต่อมาถูกถอนสัญชาติและเรียกคืนนามสกุล เมื่อคราวประเทศสยามประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1)
  • อันตรนิยุกต์ พระราชทาน ขุนทิพรศโอชา (ปีเตอร์) พนักงานครัวเฃ้าต้น กรมมหาดเล็ก นามสกุลเดิม “อันโตนิโอ”
  • สีมันตร พระราชทาน ขุนเลขการวิจิตร (แสวง) นายเวรกรมที่ปฤกษา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาเป็นชาวโปรตุเกส นามสกุลเดิมว่า “ซีโมเอนส์”
  • เตชะวณิช พระราชทาน พระอนุวัตน์ราชนิยม (ฮง) สังกัดกรมมหาดเล็ก แซ่แต้
  • อับดุลพันธุ์ พระราชทาน นายหมู่ตรีปุ๋ย ประจำแผนกเกียกกาย กองเสนารักษาดินแดนกรุงเทพฯ ปู่ทวดชื่อเฮเดอรใบ ปู่ชื่อเมียโบ บิดาชื่ออับดุลโคยุม
  • อับดุลละบุตร พระราชทาน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโว๊ะ) พระยาเมืองยะหริ่ง ปู่ทวดชื่ออับดุลเลาะ
  • คุณะดิลก พระราชทาน พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ตีเลกี, William Alfred Tilleke) อธิบดีกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม เขาชื่อเช่นนี้มาแต่เดิมแล้วแต่ต้องการได้รับอนุมัติ จึ่งตกลงให้เขียนว่า“คุณะดิลก”เช่นนี้ เพื่อให้เป็นไทย เดิมเขียนว่า“คุณะติละกะ” (ตัวโรมัน“Guna Tilleke”)
  • สิงหลกะ พระราชทาน พระดรุณรักษา (เสงี่ยม) ปลัดบาญชีกรมมหาดเล็ก หลานพระอุดรพิสดาร (สิญญ) ซึ่งเป็นชาวสิงหล

รายชื่อนามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล[แก้]

  • สืบสกุลจากเจ้าเมือง มีคำราชทินนามนำหน้า อาทิ นามสกุล นาคบุรี,รามสูต,รามบุตร,รัตนะธิยากุล อินทรสูต, พรหมเทพ, นุชนิยม ,สมานกุล เป็นต้น
  • สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือ วานิช หรือ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, วณิชาชีวะ, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช, นาควานิช, กุลวานิช, เอกวานิช, เตมียาเวส, โกศัลวัฒน์ เป็นต้น
  • สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, นิตย์อำนวยผล, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน เป็นต้น
  • สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร,พงษ์สาริกิจ, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต เป็นต้น
  • สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน, กมลโยธิน,​ โกษะโยธิน,​ อัครโยธิน,​ วัฒนโยธิน,​อินทรโยธิน เป็นต้น
  • สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, อังคะนาวิน, กฤษณกลิน, สมุทรกลิน, บุญยรัตกลิน เป็นต้น
  • สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ, วุฒากาศ, อากาศไชย เป็นต้น
  • สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน เป็นต้น
  • ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ เป็นต้น
  • นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน เป็นต้น
  • กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน เป็นต้น
  • สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น บุรณเวช,โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, พัฒนเวชวงศ์, ตีรแพทย์, ไวทยะชีวิน, มิลินทแพทย์, เวชภูติ, เวชชาชีวะ, ปิณฑะแพทย์, วิริยเวช, รัตนเวช, ไวทยะกร , นัดดาเวช เป็นต้น
  • โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ, หิรัญโชติ เป็นต้น
  • พราหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล , วุฒิพราหมณ์ , รัตนพราหมณ์ เป็นต้น

ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖[แก้]

ลำดับ นามสกุล (อักษรไทย) นามสกุล (อักษรโรมัน) พระราชทานแด่ วันที่พระราชทาน หมายเหตุ
1 สุขุม Sukhum เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงนครบาล 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [21] * ทรงเขียนให้เอง
* เป็นชื่อสกุลแรกที่พระราชทาน[22]
2 บุนนาค Bunnag เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ , เสนาบดีกระทรวงธรรมการ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [23] * ทรงเขียนให้เอง
* สำหรับบรรดาผู้สืบสกุลจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
3 มาลากุล ณ กรุงเทพ Malakul na Krungdeb พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ และพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [24] * ทรงเขียนให้เอง
* สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
3 พึ่งบุญ ณ กรุงเทพ Phungbun na Krungdeb พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ) จางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [25] *ทรงเขียนให้เอง
* สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ
4 ไกรฤกษ์ Krairiksh พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) อธิบดีกรมชาวที่ และพระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (ลออ) กรรมการศาลฎีกา 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [26] * ทรงเขียนให้เอง
* สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากพระยาไกรโกษา (ฤกษ์)
5 กัลยาณมิตร Kalyanamitra เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย) สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [26] * ทรงเขียนให้เอง
* สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย)
6 อหะหมัดจุฬา Ahmadchula พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) จางวางกรมท่าขวา ผู้ช่วยเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรม สำหรับผู้สืบสายโลหิตตรงลงมาจากเฉกอะหะหมัด ลงทางพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) 12 กันยายน พ.ศ. 2456 [27] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น จุฬารัตน เมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
7 อธินันทน์ Adhinandana นายร้อยเอก หลวงพิทักษ์โยธา (ตอด) ผู้รั้งปลัดกองพลที่ ๙ มณฑลปราจิณบุรี พระยาพรหมยกระบัตร (ยิ่ง) เป็นทวด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 [28] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
8 เดชะคุปต์ Tejagupta พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า กับพระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม) ปลัดมณฑลปัตตานี และ หลวงประชุมบรรณสาร (พิน) เลฃานุการกรมแผนที่ ขุนฤทธิดรุณเสรฐ (เดช) 17 ตุลาคม พ.ศ. 2456 * ทรงเขียนให้เอง
9 เมนะรุจิ Menaruchi หลวงบุรคามบริรักษ์ (นาค) นายอำเภอสูงเนิน เมืองนครราชสีมา 30 กันยายน พ.ศ. 2457 [29] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
10 อินทโสฬส Indasolasa ขุนบริบาลนิคมเฃต (ดิศ) นายอำเภอกลาง เมืองนครราชสีมา 30 กันยายน พ.ศ. 2457 [30] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
11 บินอับดุลลาห์ bin Abdullah อำมาตย์ตรี พระโกซาอิศหาก (ตุ๋ย) ปลัดเมืองสตูล มณฑลภูเก็ต 16 สิงหาคม พ.ศ. 2458 [31] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น สมันตรัฐ เมื่อ 9 มกราคม พ.ศ. 2484 จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
12 สมานกุล Sa^man^kula

Samankul

หลวงสมานสมัคจีนนิกร ปลัดเมืองตรัง มณฑลภูเก็ต (นามเดิม ขุนภิรมย์สมบัติ แซ่ตัน) 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ
13 รสานนท์ Rasa^nanda

Rasananda

อำมาตย์ตรี ขุนทิพย์สุภา (ฟอง) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสกลนคร ปู่ชื่อรส 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ
14 สุวรรณสุทธิ Su^var^suddhi

Suvarnasuddhi

หลวงไพจิตร สัตยาดุล (สุทธิ์) 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 * ทรงเขียนให้เอง ณ อ่างศิลา
15 ศิริบุตร Se^Le^BUd

Selebud

พระศรีวรบุตร พ่อตาของ เจ้าบวรวัฒนา(เชื้อพระวงศ์ลาว) 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ

ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๗[แก้]

ลำดับ นามสกุล (อักษรไทย) นามสกุล (อักษรโรมัน) พระราชทานแด่ วันที่พระราชทาน หมายเหตุ
1 บริพัตร ณ อยุธยา Paribhatra na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [32] * ทรงเขียนให้เอง
2 จักรพงษ์ ณ อยุธยา Chakrabongs na Ayudhya สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [33] * ทรงเขียนให้เอง
* ทิวงคต เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463
3 มหิดล ณ อยุธยา Mahitala na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [34] * ทรงเขียนให้เอง
4 จุฑาธุช ณ อยุธยา Chudadhuj na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [35] * ทรงเขียนให้เอง
* สิ้นพระชนม์ เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466
5 ยุคล ณ อยุธยา Yukala na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [36] * ทรงเขียนให้เอง
6 กิติยากร ณ อยุธยา Kitiyakara na Ayudhya พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [37] * ทรงเขียนให้เอง
7 ฉัตรชัย ณ อยุธยา Chhatr-jaya na Ayudhya พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [38] * ทรงเขียนให้เอง
8 พรหมนารท Brahmanarada รองอำมาตย์เอก หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์) ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี และ รองอำมาตย์โท หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ) บิดา 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 [39] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
9 มหาณรงค์ Mahanaranga นายร้อยเอก หลวงรามฤทธิรงค์ (เขียว) ผู้บังคับกองตำรวจภูธร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 [40] * ทรงเขียนให้เอง
* ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๘[แก้]

ลำดับ นามสกุล (อักษรไทย) นามสกุล (อักษรโรมัน) พระราชทานแด่ วันที่พระราชทาน หมายเหตุ
1 สมันตรัฐ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) 9 มกราคม พ.ศ. 2484 [41] * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
* ขอพระราชทานเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้เป็นภาษาไทย
2 เครือขรรค์ชัย ณ เวียงจันทน์ Khru'akhanchai Na Wiangchan ท้าวอุ่น 4 เมษายน พ.ศ. 2484 [42] * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3 จุฬารัตน Chularatana ทายาท พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 [43] * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
* ขอพระราชทานเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้เป็นภาษาไทย

ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๙[แก้]

ลำดับ นามสกุล (อักษรไทย) นามสกุล (อักษรโรมัน) พระราชทานแด่ วันที่พระราชทาน หมายเหตุ
1 ณ ราชสีมา Na Rajasima พระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทโสฬศ) , พระบุคราบริรักษ์ (นาค เมนะรุจิ) , พันตรี พระพิทักษ์โยธา (พิทักษ์ อธินันทน์) , หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ พรหมนารท) , หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท) , พันตรี หลวงรามฤทธิ์รงค์ (รามฤทธิรงค์ มหาณรงค์) และ พันตรี ขุนกำแหงเสนีย์ (กำแหง อินทรกำแหง) 22 กันยายน พ.ศ. 2494 [44] * ทรงเขียนให้เอง ณ พระตำหนักวิลลาวัฒนา โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
* ขอพระราชทานใหม่ โดยรวมวงศ์ญาติผู้สืบสกุลจากเจ้าพระยานครราชสีมา ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
2 ธรรมธำรง นายเจริญ น้อยพันธ์ อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๓ จังหวัดนครราชสีมา 24 กันยายน พ.ศ. 2522 [45] * ทรงเขียนให้เอง
3 ดุรงควิบูลย์ พันตำรวจเอก พรศักดิ์ สุขเกษม 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 [46] * ทรงเขียนให้เอง
4 สิริวัฒนภักดี นายเจริญ ศรีสมบูรณานนท์ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 [47] * ทรงเขียนให้เอง
5 พิทยะ รศ.หาญณรงค์ ลำใย 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 [48] * ทรงเขียนให้เอง
6 ภักดีภูมิ พลตำรวจโท โกวิท ภู่พานิช 16 ตุลาคม พ.ศ. 2534 [49] * ทรงเขียนให้เอง
7 นรินทรภักดี นายชำเรือง คล้ายทองคำ พนักงานขับรถยนต์ สังกัดฝ่ายรถยนต์หลวง กองพระราชพาหนะ สำนักพระราชวัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2541 [50] * ทรงเขียนให้เอง
8 พิจิตรากร นายไพบูลย์ ฝั่งสาคร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 14 ตุลาคม พ.ศ. 2541 [51] * ทรงเขียนให้เอง
9 สุทธิชลวัฒน์ นายล้วน แตงขุด นายช่างชลประทาน 7 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 กันยายน พ.ศ. 2542 [52] * ทรงเขียนให้เอง

นามสกุลจากราชทินนาม[แก้]

นามสกุลจากราชทินนาม คือ นามสกุลที่ตั้งขึ้นมาโดยมีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ราชทินนาม มีความหมายคือ นามที่ได้รับพระราชทาน ราชชิต ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 [53] ว่า "ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและได้นำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ได้มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก [54] จำนวน 10 คน ดังนี้

  1. จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
  2. พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
  3. นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์
  4. พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม
  5. พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี
  6. พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
  7. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ
  8. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
  9. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ
  10. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยกเลิกบรรดาศักดิ์ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้ข้าราชการเลิกใช้บรรดาศักดิ์ คงเป็นนายเท่าเทียมกันทั้งหมด จึงทำให้บรรดาข้าราชการที่เคยมีบรรดาศักดิ์และเคยรู้จักกันทั่วไปราชทินนามต่างๆ พากันนำราชทินนามมาใช้ร่วมกับนามและนามสกุลเดิม เช่น

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 เป็นพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2505 [55] โดยในมาตรา 19 บัญญัติว่า "ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามของตน ของผู้บุพการีหรือของผู้สืบสันดานเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร แล้วให้นายทะเบียนท้องที่นั้นเสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาเห็นสมควร ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น และออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ"

อ้างอิง[แก้]

  1. นามสกุลพระราชทาน จากเว็ปไซต์พระราชวังพญาไท
  2. เทพ สุนทรศารทูล. นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รัชกาลที่8 รัชกาลที่9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้เลื่อนการใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ก, ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ การเลื่อนใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ก, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๔๙๓
  6. "จดหมายเหตุรายวัน เล่ม ๒ รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๗๒ พทุธสาสนายุกาล ๒๔๕๔ วันที่ ๑๓ มกราคม ถึง วันที่ ๓๑ มินาคม," ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517. 200 หน้า. หน้า 47.
  7. คณะกรรมการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ และ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2524). "นามสกุล", สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ ก-ม. จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเปิดหอวชิราวุธานุสรณ์ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์. 500 หน้า. ISBN 974-791-904-4 อ้างใน ปิ่น มาลากุล, ม.ล. บันทึกความรู้เรื่องนามสกุลถึงผู้เขียน ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๓. (ต้นฉบับตัวเขียน).
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๖๔๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ง, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๑๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๙๕
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 11.14 11.15 11.16 11.17 11.18 11.19 11.20 "นามสกุลพระราชทาน อักษร ณ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๔ (ลำดับที่ ๑๑๕๖ ถึงลำดับที่ ๑๑๘๒)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 72. 5 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ประกาศพระราชทานนามสกุลพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 832. 27 กรกฎาคม 2456.
  14. "นามสกุลพระราชทาน อักษร พ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ภ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ร". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ส". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ก". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ป". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "นามสกุลพระราชทาน อักษร ป". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๑ สุขุม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  22. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Bangkok: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 30: 648–659. 2456-06-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๒ บุนนาค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  24. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๒ มาลากุล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  25. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๓ พึ่งบุญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  26. 26.0 26.1 "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๕ ไกรฤกษ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  27. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕ - ๓๗๑ อหะหมัดจุฬา
  28. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๑ - ๙๑๓ อธินันทน์
  29. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๒๐ - ๑๕๗๘ เมนะรุจิ
  30. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๒๐ - ๑๖๐๑ อินทโสฬส
  31. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓๑ - ๒๓๐๓ บินอับดุลลาห์
  32. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๑ บริพัตร ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  33. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๒ จักรพงศ์ ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  34. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๓ มหิดล ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  35. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๔ จุฑาธุช ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  36. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๕ ยุคล ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  37. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๖ กิติยากร ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  38. "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๑๑ ฉัตรชัย ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  39. ประกาศพระราชทานนามสกุล พรหมนารท
  40. ประกาศพระราชทานนามสกุล มหาณรงค์
  41. ประกาศพระราชทานนามสกุล สมันตรัฐ
  42. ประกาศพระราชทานนามสกุล เครือขรรค์ชัย ณ เวียงจันทน์
  43. ประกาศพระราชทานนามสกุล จุฬารัตน
  44. ต้นสกุล ณ ราชสีมา
  45. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ธรรมธำรง
  46. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ดุรงควิบูลย์
  47. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล สิริวัฒนภักดี
  48. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล พิทยะ
  49. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ภักดีภูมิ
  50. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล นรินทรภักดี
  51. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล พิจิตรากร
  52. ประกาศพระราชทานชื่อสกุล สุทธิชลวัฒน์
  53. พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  54. ประกาศกระทรวงมหาไทย เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาติใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  55. พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2505 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557