นางงามจักรวาล 1979

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางงามจักรวาล 1979
พิธีกรบ็อบ บาร์คเกอร์, เฮเลน โอ'คอนเนลล์ และ เจย์น เคนเนดี
สถานที่จัดPerth Entertainment Centre, เพิร์ธ, ออสเตรเลีย
ถ่ายทอดทางซีบีเอส
เข้าร่วมประกวด75
ผ่านเข้ารอบ12
เข้าร่วมครั้งแรกโบพูทัตสวานา, ฟีจี, ทรานสไก
ถอนตัวโบแนเรอ, คูราเซา, เลบานอน, เลโซโท, โมร็อกโก, นิวเฮบรีดีส, นิการากัว, อเมริกันซามัว
กลับมาเข้าร่วมแอนทีกา, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, มอริเชียส, โปรตุเกส, เซนต์คิตส์
ผู้ชนะเลิศมาริทซา ซายาเลโร
ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา
นางงามมิตรภาพยูริกะ คุโรดะ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยมอลิซาเบธ บุสตี
ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย
ขวัญใจช่างภาพแคโรลีน ซีวอร์ด
 อังกฤษ
← 1978
1980 →

นางงามจักรวาล 1979 (อังกฤษ: Miss Universe 1979) เป็นการจัดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 28 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ณ Perth Entertainment Centre, เพิร์ธ, ประเทศออสเตรเลีย ในปีนี้มีผู้เข้าประกวด 75 คน จากทั่วโลก โดยมี มาร์กาเรต การ์ดิเนอร์ นางงามจักรวาลปี 1978 เป็นผู้มอบมงกุฏให้กับ มาริทซา ซายาเลโร สาวงามวัย 18 ปีจากประเทศเวเนซุเอลา เป็นผู้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลประจำปีนี้

ผลการประกวด[แก้]

ลำดับที่[แก้]

ผลการประกวด ผู้เข้าประกวด
นางงามจักรวาล 1979
รองอันดับ 1
รองอันดับ 2
รองอันดับ 3
รองอันดับ 4
12 คนสุดท้าย

คะแนนในรอบตัดสิน[แก้]

คะแนนในรอบชุดว่ายน้ำ (รอบก่อนวันตัดสิน)[แก้]

รางวัลพิเศษ[แก้]

รางวัล ผู้ชนะ
นางงามมิตรภาพ
ขวัญใจช่างภาพ
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม

ลำดับการประกาศชื่อ[แก้]

คณะกรรมการ[แก้]

รายชื่อคณะกรรมการในวันตัดสิน ประกอบไปด้วย:

  • ไอตา บัททรอส - นักข่าว
  • ลานา แคนเทรลล์ - นักร้อง, นักแสดง
  • อีฟ คอร์นาสซิแอร์ - ศาสตราจารย์ทางด้านศิลปศาสตร์
  • ดอน แกลโลเวย์ - นักแสดง
  • อาภัสรา หงสกุล - นางงามจักรวาล 1965 จากประเทศไทย
  • จูลีโอ อิเกลเซียส - นักร้อง, นักแต่งเพลง
  • โทนี มาร์ติน - นักร้อง, นักแสดง
  • โรบิน มัวร์ - นักเขียน
  • รอซซานา โพเดสตา - นักแสดง
  • แอนน์ มารี โพห์ทาโม - นางงามจักรวาล 1975 จากประเทศฟินแลนด์
  • คอนแสตนซ์ ทาวเวอร์ส - นักแสดง

ผู้เข้าประกวด[แก้]

ในปีนี้มีผู้เข้าประกวดทั้งหมด 75 คน ดังต่อไปนี้

รายละเอียดของการประกวด[แก้]

  • ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา สาวงามจากอเมริกาใต้คนที่​ 5​ ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลเป็นคนแรกของประเทศ
  •  สหรัฐ ผ่านเข้ารอบเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ได้ตำแหน่งรองอันดับ 4 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ชนะรางวัล นางงามมิตรภาพ เป็นครั้งที่สาม
  • ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย ชนะรางวัล ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม เป็นครั้งแรก
  •  อังกฤษ ชนะรางวัล ขวัญใจช่างภาพ เป็นครั้งที่สี่
  • ในปีนี้ได้เกิดอุบัติเหตุหลังจากการประกาศผลนางงามจักรวาลคนใหม่แล้ว บรรดาเพื่อนนางงามต่างร่วมกันขึ้นมาแสดงความยินดีกับนางงามจักรวาลคนใหม่ รวมไปถึงช่างภาพที่รุมกันขึ้นมาบนเวทีเพื่อถ่ายภาพทำให้เวทีนั้นเกิดพังถล่มลง ส่งผลให้นางงามและช่างภาพบางส่วนได้ตกลงไปและบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามเนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์ได้จบการถ่ายทอดการประกวดไปแล้ว ทำให้อุบัติเหตุในครั้งนี้ไม่ได้ถูกออกอากาศออกไป

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]