นักบุญสเทเฟน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเทเฟน
“นักบุญสเทเฟน” - ค.ศ. 1476 โดยการ์โล กรีเวลลี (Carlo Crivelli) แสดงหินสามก้อนและใบปาล์ม ตัดผมทรงและใส่เสื้อนักบวชและถือพระวรสาร
ดีกันและปฐมมรณสักขี
เสียชีวิตราว ค.ศ. 34
เยรูซาเลม ในประเทศอิสราเอล
นิกายโรมันคาทอลิก

แองกลิคัน
ลูเทอแรน

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
วันฉลอง26 และ 27 ธันวาคม
สัญลักษณ์หิน ชุดดัลมาติก โบสถ์จำลอง พระวรสาร ใบปาล์ม,
องค์อุปถัมภ์ช่างทำโลง ดีกัน ปวดหัว ม้า ช่างหิน และเมืองและประเทศต่างๆ
นักบุญสเทเฟนกำลังเทศน์

นักบุญสเทเฟน[1] (อังกฤษ: Saint Stephen; กรีก: Στέφανος Stephanos) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 34 ที่กรุงเยรูซาเลม ในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญสเทเฟนเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "ปฐมมรณสักขี" (อังกฤษ: Protomartyr) เพราะเป็นคนแรกสุดที่พลีชีพเพื่อเพราะศรัทธาในศาสนาคริสต์[2] ชื่อภาษากรีกของเขาแปลว่ามงกุฎใบลอเรล หรือ มงกุฎ

ชีวิต[แก้]

ตามหนังสือกิจการของอัครทูต ในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรกในกรุงเยรูซาเลม สเทเฟนเป็นหนึ่งในบุรุษเจ็ดคนซึ่งอาจจะเป็นชาวยิวหรือกรีกที่ถูกเลือกให้ช่วยในการจัดการการแจกทานของแม่ม่ายภายในพระวิหาร หน้าที่นี้มาเรียกกันภายหลังว่า "ดีกัน" (Deacon) นอกจากนั้นสเทเฟนยังมีชื่อเสียงว่าเก่งเรื่องเทศนาเกี่ยวกับพระเยซูต่อชาวเยรูซาเลม รวมทั้งต่อสมาชิกของธรรมศาลา (โบสถ์ยิว) [ต้องการอ้างอิง]

เมื่อนักบุญสเทเฟนถูกพิจารณาในศาลและถูกลงโทษโดยการขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ก่อนที่จะเสียชีวิตก็เห็นนิมิตทั้งพระเจ้าพระบิดาและพระเยซูยืนอยู่ทางขวาของพระเจ้า[3]

ลัทธิบูชานักบุญสเทเฟน[แก้]

โบสถ์คริสต์ศาสนาหลายแห่งตั้งตามชื่อนักบุญสเทเฟน แต่นักบุญสเทเฟนไม่มีที่ฝังศพอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 415 เมื่อนักแสวงบุญเดินทางไปเยรูซาเลมกันเป็นจำนวนมาก พระชื่อลูเซียนกล่าวว่าได้เห็นนิมิตหลุมศพของนักบุญสเทเฟนที่เคฟาร์ กามาลา (Caphar Gamala) ทางเหนือของเยรูซาเลม นักบุญเกรกอรีแห่งตูร์กล่าวว่าเมื่อชาวฮันมารุกรานและเผาเมืองเม็ทซ (Metz) ก็ไม่สามารถเผาชาเปลของนักบุญสเทเฟนที่เป็นที่เก็บเรลิกของท่านได้ เชื่อว่าเพราะท่านมีบารมีคุ้มกัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. กิจการ 7:2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐาน, สมาคมพระคริสตธรรมไทย
  2. กิจการ 7:60
  3. กิจการ 7:56
  4. "Historia Francorum ii.6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-21.

ดูเพิ่ม[แก้]