นักบุญถือศีรษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นนักบุญเดนิส นักบุญผู้ถือศีรษะ

นักบุญถือศีรษะ (อังกฤษ: Cephalophore) ในภาษาอังกฤษ "Cephalophore" มาจากภาษากรีกโบราณที่แปลว่า "ผู้ถือศีรษะ" หมายถึงนักบุญผู้ที่มักจะแสดงเป็นภาพผู้ถือศีรษะของตนเอง ที่โดยทั่วไปหมายถึงมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่ถูกสังหารโดยการบั่นคอ เมื่อถือศีรษะอยู่ในอ้อมแขนก็ทำให้ยากต่อจิตรกรในการพยายามวาดรัศมีที่เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ศิลปินบางคนก็วาดรัศมีในบริเวณที่เคยเป็นศีรษะ หรือบางครั้งนักบุญก็จะประคองศีรษะที่มีรัศมี

ที่มาของการถือศีรษะมีด้วยกันสองแหล่ง[1] ในความเห็นเกี่ยวกับนักบุญจูเวนตินัสและแม็กซิมัส นักบุญจอห์น คริสซอสตอมกล่าวว่าศีรษะของมรณสักขีเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นที่สยดสยองแก่ปีศาจยิ่งไปกว่าเมื่อนักบุญสามารถพูดได้ และคริสซอสตอมเปรียบเทียบต่อไประหว่างทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบกับผู้พลีชีพที่ประคองศีรษะของตนเองและถวายแก่พระเยซู[2] อีกแหล่งหนึ่งมาจาก “ตำนานทอง” เกี่ยวกับประวัติชีวิตของนักบุญเดนิสผู้ก่อตั้งมุขมณฑลปารีสผู้ที่กล่าวกันว่าเป็นคนคนเดียวกับดิโอนิสิอัสผู้เป็นสมาชิกสภาอาเรโอปากัส

ฉะนั้นนักบุญถือศีรษะคนแรกที่มีชื่อเสียงที่สุดก็เห็นจะเป็นนักบุญเดนิสนักบุญองค์อุปถัมภ์ปารีส ที่ใน “ตำนานทอง” บรรยายว่าแม้ว่าหลังจากที่ถูกตัดหัวแล้วก็ยังคงเดินต่อไปได้อีกเจ็ดไมล์ไปยังที่ที่เสียชีวิตที่มงมาตร์ขณะที่ดำเนินการเทศนาไปด้วย แม้ว่านักบุญเดนิสจะมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาผู้ถือศีรษะของตนเอง แต่ก็ยังมีนักบุญอื่นอีกหลายองค์ที่อีมิล นูร์รีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำนานพื้นบ้านกล่าวว่ามีด้วยกันอย่างน้อยก็อีก 134 องค์เฉพาะในวรรณกรรมเกี่ยวกับนักบุญของฝรั่งเศสเท่านั้น[3] การที่เรลิกของนักบุญมักจะถูกโขมยกันบ่อยครั้งในสมัยยุคกลางของยุโรป ฉะนั้นการที่นักบุญเองทำการระบุสถานที่ที่ตนต้องการที่จะฝังศพจึงอาจจะเป็นการช่วยหลีกเลี่ยง “การเคลื่อนย้ายเรลิก” (furta sacra หรือ Translation of relics) ก็เป็นได้[4]

นักบุญอื่น ๆ ที่ถือศีรษะ[แก้]

นักบุญอาโฟรดิสิอุสมรณสักขีแห่งอะเล็กซานเดรียที่สักการะกันที่เมืองเบซีเยร์

นักบุญคัธเบิร์ตแห่งลินดิสฟาร์นมักจะปรากฏเป็นนักบุญที่มีศีรษะอยู่บนไหล่ และประคองศีรษะที่สองในอ้อมแขน แม้ว่านักบุญคัธเบิร์ตจะไม่ได้เป็นนักบุญถือศีรษะ ศีรษะที่สองอันที่จริงแล้วเป็นของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ทธัมเบรียผู้ที่ถูกฝังด้วยกันที่มหาวิหารเดอแรม

ตำนานนักบุญถือศีรษะเกี่ยวกับนักบุญนิเคสแห่งแร็งกล่าวว่าในชั่วเวลาที่ถูกสังหารนิเคสกำลังอ่าน เพลงสดุดี 119 เมื่ออ่านมาถึง "Adhaesit pavimento anima mea" (บทเพลงสดุดี 119:25 ) พระองค์ก็ถูกตัดหัว แต่เรื่องราวกล่าวต่อไปว่าหัวที่ถูกตัดตกลงบนพื้น และนิคาเซียสก็อ่านเพลงสดุดีต่อไปในวรรค "Vivifica me, Domine, secundum verbum tuum"[5] เนื้อหาของหัวที่ยังคงพูดได้เล่ากันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 Passio ของนักบุญจัสตัสแห่งโบเว หลังจากที่จัสตัสผู้ที่ยังเป็นเด็กถูกตัดหัวโดยทหารโรมันแล้ว จัสตัสก็ยกหัวตนเองขึ้นมาและเทศนาต่อไป ต่อมาบิดาและน้องชายก็พบร่างของจัสตัสนั่งอยู่พร้อมด้วยศีรษะบนตัก จัสตัสมอบหัวให้บิดาและขอให้นำไปยังโอแซร์เพื่อให้เฟลิเชียผู้เป็นมารดาได้จูบ[6]

ตำนานของนักบุญอาโฟรดิซิอุสแห่งอเล็กซานเดรียได้รับการนำมาที่เมืองเบซิเยร์ในฝรั่งเศสเป็นอันดับนำของรายพระนามของพระสังฆราช ตามชีวประวัตินักบุญอาโฟรดิซิอุสเดินทางมากับอูฐ ขณะที่ทำการเทศนาอยู่ก็มีกลุ่มเพกันแทรกตัวออกมาจากกลุ่มคนที่ฟังเทศน์อยู่เข้ามาตัดหัวแอฟรอดิเซียสโดยไม่บอกไม่กล่าว แอฟรอดิเซียสยกหัวตนเองขึ้นมาและประคองเข้าไปในชาเปลที่เพิ่งได้ทำการสถาปนา ณ จุดนั้น ที่ยังคงตั้งอยู่และเรียกกันว่า "Place Saint-Aphrodise, Béziers"[7] นักบุญฮิเมริอุสแห่งบอสโทหรือนักบุญเจโมโรก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่กล่าวกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่หลังที่ถูกตัดศีณษะไปแล้ว และถือศีรษะตนเองขึ้นหลังม้า ไปพบกับลุงผู้เป็นบิชอปบนภูเขาก่อนที่จะเสียชีวิต[8]

ตำนานที่เกี่ยวกับนักบุญชีเนแห่งลาฌารากล่าวว่าหลังจากที่ถูกตัดคอที่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสแล้ว ชิเนสก็ยกหัวตัวเองขึ้นมาและโยนลงไปในแม่น้ำโรน หัวก็ลอยออกทะเลไปยังเมอร์เซีย, สเปนที่ไปได้รับการสักการะเป็นมงคลวัตถุ (เมอร์เซียเป็นศูนย์กลางของลัทธิบูชานักบุญชีเน)[9]

ใน "ตำนานทอง" เมื่อเปาโลอัครทูตถูกลงโทษพระองค์ก็ทรง "ยืดหัวออกไปเพื่อจะให้ถูกตัด และเมื่อหัวหลุดออกจากร่างก็กล่าวว่า "เยซุส คริสตุส!" ที่หมายถึงพระเยซูคริสต์ถึงห้าสิบครั้ง" เมื่อพบหัวของพระองค์ที่จะนำกลับมารวมกับร่างแล้วเป็นเรลิกแล้ว ร่างของนักบุญเปาโลก็หันมารวมกับหัวที่วางไว้ที่ปลายเท้าเพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นศีรษะของตนเองที่แท้จริง[10]

ตามตำนานเกี่ยวกับนักบุญสตรีนักบุญออสกิธยืนขึ้นหลังจากที่ถูกตัดหัว ยกหัวขึ้นมาเช่นเดียวกับนักบุญเดนิสแห่งปารีสและนักบุญถือศีรษะองค์อื่นๆ เดินต่อไปขณะที่ประคองศีรษะของตนเองไปยังประตูคอนแวนต์ก่อที่จะล้มตัวลงเสียชีวิต[11]

ในวรรณกรรม[แก้]

ใน "ดีวีนากอมเมเดีย" ดานเตผู้ประพันธ์พบทรูบาดูร์แบร์ทร็องเดอบอร์นในชั้นที่แปดของนรกภูมิ หิ้วศีรษะของตนเองจากปอยผมเหมือนโคม เมื่อเห็นดานเตและเวอร์จิลเข้าหัวของแบร์ทร็องก็เริ่มพูด[12]

ศีรษะที่พูดได้ปรากฏอย่างเป็นที่น่าจดจำในวรรณกรรมโรแมนติกของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ชื่อ "Sir Gawain and the Green Knight"

ข้อเขียนเกี่ยวกับ "ศีรษะ" ใน "Motif-Index of Folk Literature" (ไทย: ต้นแบบ-ดัชนีของวรรณกรรมพื้นบ้าน) โดยสทิธ ทอมสัน[13] ให้ความเห็นว่าเรื่องราวของศีรษะที่หลุดจากร่างแล้วยังคงพูดได้เป็นเรื่องที่ปรากฏโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง อาริสโตเติลค้านว่าการที่ศีรษะที่หลุดจากร่างแล้วยังคงพูดได้อยู่เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ทางสรีรวิทยา ในเมื่อหลอดลมที่เชื่อมกับปอดถูกตัดออกไปแล้ว อาริสโตเติลกล่าวต่อไปว่า "นอกจากนั้นแล้วเมื่ออนารยชนทำการตัดหัวด้วยความรวดเร็ว เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่เคยปรากฏ"[14] ไม่เป็นที่น่ากังขาเลยว่าอาริสโตเติลจะทราบถึงเรื่องราวของศีรษะของออร์เฟอุสและภาพพจน์ของศีรษะที่ถูกตัดอย่างรวดเร็วที่ดูเหมือนจะยังคงพูดได้ของโฮเมอร์[15] และตำนานละตินต่างๆ ข้อสังเกตของความเกี่ยวข้องระหว่างกวีละตินและยุคกลางในการถ่ายทอด "ภาพพจน์เปรียบเทียบ" ของศีรษะที่ยังคงพูดได้บรรยายในข้อเขียนโดยเบียทริซ ไวท์[16] ในบทกวีละตินเกี่ยวกับสงครามทรอย "De Bello Troiano" โดยโจเซฟแห่งเอ็กซีเตอร์

เฮคเตอร์เหวี่ยงหัวของเพโทรคลัสขึ้นไปในอากาศที่ยังคงกระซิบว่า "Ultor ubi Aeacides" (ไทย: อคิลลีสผู้แก้แค้นของข้าอยู่ที่ใด?) นักประพันธ์สมัยใหม่บางคนกล่าวว่าที่มาของผู้ที่ยังคงประคองศีรษะของตนเองแล้วเดินต่อไป[11] มาจากความเชื่อในเรื่องพหุเทวนิยมของเคลต์ของลัทธินิยมเกี่ยวกับศีรษะ

ระเบียงภาพ[แก้]

นักบุญประคองหัวบางองค์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. As noted by Christopher Walter, The Warrior Saints in Byzantine Art and Tradition, 2003:143.
  2. Walter 2003:143
  3. Les saints céphalophores. Étude de folklore hagiographique, Revue de l’Histoire des Religions (Paris), 99 (1929), p. 158-231.
  4. "Kephalophoroi saints, of whom there were a hundred or so in Western tradition, usually performed this prodigy in order to indicate the emplacement of the shrine where their relics should be venerated" (Walter 2003:143).
  5. San Nicasio di Reims
  6. Scott B. Montgomery, "Mittite capud meum... ad matrem meam ut osculetur eum: The Form and Meaning of the Reliquary Bust of Saint Just Mittite" Gesta 36.1 (1997), pp. 48-64.
  7. France pittoresque: coutumes et traditions 1908
  8. Passio di San Gemolo
  9. Saint Ginés de La Jara (Getty Museum)
  10. The Golden Legend: The Life of Saint Paul the Apostle เก็บถาวร 2007-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  11. 11.0 11.1 "The stories of St. Edmund, St. Kenelm, St. Osyth, and St. Sidwell in England, St. Denis in France, St. Melor and St. Winifred in Celtic territory, preserve the pattern and strengthen the link between legend and folklore," Beatrice White observes. (White 1972:123).
  12. "E'l capo tronco tenea per le chiome
    Pesol col mano, a giusa di lanterno:
    E quei mirava noi, e dicea: "O me!".
    Dante Alighieri, The Divine Comedy, Inferno, Canto 28, 121-123. Longfellow translation, Commentaries from the Dartmouth Dante project.
  13. Copenhagen, 1957.
  14. Aristotle, De partibus animalium 3.10.
  15. Iliad 10.457, and Odyssey 22.329.
  16. White, "A Persistent Paradox" Folklore 83.2 (Summer 1972), pp. 122-131) p 123.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นักบุญถือศีรษะ