ข้ามไปเนื้อหา

นาโอโตะ คัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นะโอะโตะ คัง)
นาโอโตะ คัง
菅 直人
ภาพถ่ายทางการ, ค.ศ. 2007
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 – 2 กันยายน ค.ศ. 2011
กษัตริย์อากิฮิโตะ
ก่อนหน้ายูกิโอะ ฮาโตยามะ
ถัดไปโยชิฮิโกะ โนดะ
หัวหน้าฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม ค.ศ. 1997 – 25 กันยายน ค.ศ. 1999
นายกรัฐมนตรีรีวตาโร ฮาชิโมโตะ
เคโซ โอบูจิ
ก่อนหน้าอิจิโร โอซาวะ
ถัดไปยูกิโอะ ฮาโตยามะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 71
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม ค.ศ. 2010 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรียูกิโอะ ฮาโตยามะ
ก่อนหน้าฮิโรฮิซะ ฟูจิอิ
ถัดไปโยชิฮิโกะ โนดะ
รองนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน ค.ศ. 2009 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรียูกิโอะ ฮาโตยามะ
ก่อนหน้าวาตารุ คูโบะ (1996)
ถัดไปคัตสึยะ โอกาดะ (2012)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน ค.ศ. 2009 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรียูกิโอะ ฮาโตยามะ
ก่อนหน้าโยชิมาซะ ฮายาชิ
ถัดไปซาโตชิ อาราอิ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน ค.ศ. 2009 – 6 มกราคม ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรียูกิโอะ ฮาโตยามะ
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปโยชิโตะ เซ็งโงกุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน ค.ศ. 2009 – 6 มกราคม ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรียูกิโอะ ฮาโตยามะ
ก่อนหน้าเซโกะ โนดะ
ถัดไปทัตสึโอะ คาวาบาตะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม ค.ศ. 1996 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996
นายกรัฐมนตรีรีวตาโร ฮาชิโมโตะ
ก่อนหน้าชูเรียว โมริอิ
ถัดไปจุนอิจิโร โคอิซูมิ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากโตเกียว
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม ค.ศ. 2017
ก่อนหน้ามาซาตาดะ สึจิยะ
เขตเลือกตั้งเขตที่ 18
คะแนนเสียง1,046 (0.44%)
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม ค.ศ. 2012 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 2017
ก่อนหน้าฮิเดฮิโระ มิตานิ
ถัดไปชุนซูเกะ อิโตะ
เขตเลือกตั้งพื้นที่เลือกตั้งระบบสัดส่วนโตเกียว
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม ค.ศ. 1996 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 2012
ก่อนหน้าสถาปนาเขตเลือกตั้ง
ถัดไปมาซาตาดะ สึจิยะ
เขตเลือกตั้งเขตที่ 18
ดำรงตำแหน่ง
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1996
ก่อนหน้าคิโยชิ โอโนะ
ถัดไปยุบเลิกเขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้งเขตที่ 7
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1946-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1946 (78 ปี)
อูเบะ จังหวัดยามางูจิ จักรวรรดิญี่ปุ่น
พรรคการเมืองCDP
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
SDF (ก่อน ค.ศ. 1993)
NPS (1993–1996)
DPJ(96) (1996–1998)
DPJ(98) (1998–2016)
DP (2016–2017)
คู่สมรสโนบูโกะ คัง (สมรส 1970)
บุตร2
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

นาโอโตะ คัง (ญี่ปุ่น: 菅 直人โรมาจิKan Naoto; เกิดวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1946 — ) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและประธานพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ถึงกันยายน ค.ศ. 2011

คังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งปีนับตั้งแต่จุนอิจิโร โคอิซูมิลาออกใน ค.ศ. 2006 โดยยูกิโอะ ฮาโตยามะ ทาโร อาโซ ยาซูโอะ ฟูกูดะ และชินโซ อาเบะ ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขา ทั้งลาออกก่อนกำหนดหรือแพ้การเลือกตั้ง จากนั้นในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2011 คังประกาศลาออก ทำให้โยชิฮิโกะ โนดะได้รับเลือกเป็นผู้สืบทอด[1][2]

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2012 พัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ประกาศให้คังเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการระดับสูงของสหประชาชาติเกี่ยวกับวาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015[3]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

คังเกิดที่อูเบะ จังหวัดยามางูจิ โดยเป็นบุตรคนโตของฮิซาโอะ คัง กรรมการบริหารบริษัทผลิตกระจก Central Glass[4] เขาจบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวใน ค.ศ. 1970 และกลายเป็นเบ็นริชิ (ตัวแทน/ทนายความด้านสิทธิบัตร) ที่มีใบอนุญาตใน ค.ศ. 1971

อาชีพสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

คังแต่งงานกับโนบูโกะใน ค.ศ. 1970 โดยโนบูโกะจากจังหวัดโอกายามะมีความสัมพันธ์กับคังที่อาศัยในโตเกียวหลังเข้าเรียนที่วิทยาลัยสึดะ[5] การหมั้นหมายครั้งนี้ถูกคัดค้านจากผู้ปกครอง[6] เนื่องจากทั้งสองเป็นลูกของลุงหรือป้า[7] ทั้งคู่มีลูกชายสองคนชื่อเก็นตาโรและชินจิโร เก็นตาโรเป็นนักรณรงค์เพื่อสิทธิพลเมืองและแพ้การเลือกตั้งสภาล่างใน ค.ศ. 2003 และ 2005 ส่วนชินจิโรเป็นสัตวแพทย์และทำงานในโรงพยาบาลสัตว์ที่เขตเนริมะ โตเกียว[8]

คังได้รับการตั้งชื่อเล่นเป็น "อิระ-คัง" ("คังผู้หงุดหงิด") เนื่องจากชื่อเสียงในด้านโมโหง่าย[9] งานอดิเรกของเขาคือโกะ โชงิ และโอริกามิ[10] คังสร้างเครื่องจักรเพื่อคำนวณระบบแต้มไพ่นกกระจอกที่ซับซ้อนและได้ยื่นจดสิทธิบัตรใน ค.ศ. 1973[11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yoree Koh (29 August 2011). "Noda, the DPJ and the Giant Snowball Problem". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 29 August 2011.
  2. รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นมาตราที่ 6
  3. Ban names high-level panel to map out 'bold' vision for future global development efforts UN News Centre. 31 July 2012. Retrieved 20 December 2013.
  4. Seijika Jinmei Jiten: Meiji-Shōwa. Nichigai Asoshiētsu (Shintei ed.). Nichigai Asoshiētsu. 2003. p. 192. ISBN 4-8169-1805-1. OCLC 54645851.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. "Japan's new first lady known as eloquent, political comrade of Kan". Japan Today. Kyodo News. 9 June 2010. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.[ลิงก์เสีย]
  6. 基礎から分かる(菅直人). Yomiuri Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 5 June 2010. สืบค้นเมื่อ 8 June 2010.
  7. Keating, Joshua (8 June 2010). "Japan's prime minister is married to his first cousin". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  8. ヒラミ動物病院 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2009. สืบค้นเมื่อ 8 June 2010.
  9. Demetriou, Danielle (4 June 2010). "Naoto Kan: profile". The Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  10. "Kan: Activist, politico, mah-jongg lover". AsiaOne News. 5 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2012. สืบค้นเมื่อ 8 June 2010.
  11. Hayashi, Yuka (4 June 2010). "Japan's Premier Aims for Longer Stay". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 8 June 2010.
  12. Amano, Tomomichi (4 June 2010). "Kan and His Amazing Mahjong Machine". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]