นรพล ตันติมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นรพล ตันติมนตรี
ไฟล์:นรพล ตันติมนตรี.jpg
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 4
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุรพล เกียรติไชยากร
ก่อนหน้าสุรพล เกียรติไชยากร
ผณินทรา ภัคเกษม
ถัดไปสุรพล เกียรติไชยากร
ศรีเรศ โกฎคำลือ
เขตเลือกตั้งอำเภอแม่แจ่ม, อำเภอจอมทอง, อำเภอดอยหล่อ, อำเภอฮอด, อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 กันยายน พ.ศ. 2515 (51 ปี)
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ

นรพล ตันติมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และนายนรพล ยังมีศักดิ์เป็นหลานชายของนายอำนวย ยศสุข[1] อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นประธานกรรมการกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟอมก๋อย[2]

ประวัติ[แก้]

นายนรพล ตันติมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2515 ชื่อเล่น ต้น ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (รุ่น 138) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรีสาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท ด้านการตลาด จาก National Unvivesity ประเทศสหรัฐอเมริกา[3]

การทำงาน[แก้]

นายนรพล ตันติมนตรี เป็นนักธุรกิจด้านการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 สังกัดพรรคมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางผณินทรา ภัคเกษม จากพรรคไทยรักไทย ภายหลังจึงได้ลาออกจากพรรคมหาชน และเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ในกลางปี พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 4 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[4] โดยนายนรพล เป็นสมาชิกในกลุ่มของนายพินิจ จารุสมบัติ[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายศรีเรศ โกฎคำลือ จากพรรคเพื่อไทย

ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[6][7] และเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[9][10][11] ช่วยสนับสนุนงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. โพลหลายสำนักชี้ชัดแล้ว ทรท.กวาดที่นั่งภาคเหนือ 13 ที่นั่งจาก 70 ที่นั่ง[ลิงก์เสีย]
  2. ประวัติกาแฟอมก๋อย
  3. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  4. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  5. ""นรพล ตันติมนตรี" เบอร์ 10ผู้สมัครคนรุ่นใหม่ประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  6. 'พลังประชารัฐ' ขึ้นเหนือ วางยุทธศาสตร์ชิงเก้าอี้ส.ส.38ที่นั่ง
  7. พปชร.เชียงใหม่เปิดเวที อ.ฮอด คึกคัก ชาวบ้านแห่ฟังปราศรัยแน่น
  8. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย ๑. นายธวัช สุทธวงค์ ฯลฯ)
  10. ครม.แต่งตั้ง 'พล.อ.สมศักดิ์' เลขาสมช. - แบ่งเค้กส.ส.สอบตกปีกรัฐบาล นั่ง ขรก.การเมือง
  11. สนธิรัตน์ พบชาวแม่แจ่ม ย้ำ พปชร.เกาะติด เพิ่มแต้มเลือกตั้งเที่ยวหน้า
  12. "ดีป้า เหนือบน” จังหวัดเชียงใหม่ เปิดบ้านต้อนรับคณะที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]