นพดล อินนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นพดล อินนา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองรักษ์สันติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพดล อินนา (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย[1] และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา[แก้]

นพดล อินนา จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโท จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยนานาชาติประเทศไอร์แลนด์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) และปริญาเอก(เกียรตินิยมยอดเยี่ยม) จาก มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา และ จบ Post Doctorate จากที่เดียวกันนี้อีกด้วย

การทำงาน[แก้]

นพดล อินนา เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Chief Information Officer (CIO) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะลาออกจากราชการไปทำงานภาคเอกชน และเข้าสู่วงการการเมืองในที่สุด โดยทำงานใกล้ชิดกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาจึงได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย พร้อมกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแนวทางการทำงานที่ไม่ตรงกัน

นพดล อินมา ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาองค์กร (ก.ต.ช.) กรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และประธานอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (อ.ก.ต.ช) ด้านการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ

ในปี พ.ศ. 2554 นพดล อินมา ได้กลับเข้ามาทำงานการเมืองอีกครั้งโดยการเข้าร่วมงานกับพรรครักษ์สันติ ซึ่งมีร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[2] โดยลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดร.นพดล อินนา เก็บถาวร 2004-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพรรคไทยรักไทย
  2. "เปิดตัวพรรครักษ์สันติอย่างเป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
  3. "เปิด64รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์"พรรครักษ์สันติ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-20.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕