นกกาน้ำปากยาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกกาน้ำปากยาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Pelecaniformes
วงศ์: Phalacrocoracidae
สกุล: Phalacrocorax
สปีชีส์: P.  fuscicollis
ชื่อทวินาม
Phalacrocorax fuscicollis
Stephens, 1826
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก

นกกาน้ำปากยาว (อังกฤษ: Indian cormorant, Indian shag; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalacrocorax fuscicollis) เป็นนกในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracida) พบตามแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดีย ออกไปทางตะวันตกถึงรัฐสินธ์ และทางตะวันออกถึงประเทศไทยและกัมพูชา ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความแตกต่างจากนกกาน้ำเล็ก (P. niger) ที่มีขนาดใกล้เคียงกันคือ ตาสีฟ้า หัวเล็ก หน้าผากลาด มีปากยาวแคบโค้งเป็นตะขอที่ปลายปาก

ลักษณะ[แก้]

คล้ายนกกาน้ำใหญ่ แต่ขนาดเล็กกว่า ปากเรียวบางกว่า หัว คอ และลำตัวด้านล่างดำ คอ ใต้คอ กลางอก และกลางท้องอาจมีสีขาวแซม หลังน้ำตาลเหลือบเป็นมัน ในขนชุดผสมพันธุ์ หัว คอ อก และลำตัวด้านล่างดำเป็นมัน หน้าผากและเหนือตามีขีดขาวเล็ก ๆ กระจาย ข้างหัวด้านท้ายมีกระจุกขนสีขาว [2]

พฤติกรรมและสถานะ[แก้]

เมื่อเวลาบินมักจะยืดคอไปตรง ๆ ว่ายน้ำและจับปลาได้เก่ง แต่เมื่อขึ้นแล้วต้องกางปีกผึ่งให้แห้ง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3] ปัจจุบัน มีแหล่งเพาะขยายพันธุ์แหล่งใหญ่ คือที่ ป่าชายเลนในตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2009). "Phalacrocorax fuscicollis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2.
  2. คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์
  3. นกกาน้ำปากยาว
  4. สัตว์และพรรณพืช : โคกขาม : แหล่งขยายพันธุ์แห่งใหม่ของนกกาน้ำปากยาวจากสารคดี[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phalacrocorax fuscicollis ที่วิกิสปีชีส์