ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business; เขียนแบบย่อ E-Business) คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม ในการดำเนินงานเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคมจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นั้นคือ เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจมากขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยการอาศัยแรงงานคนที่น้อยในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยให้องค์กรภายนอกและภายในมีการดำเนินงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่างๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์[แก้]

  • เพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เช่น ลูกค้าสามารถรับรู้ว่าสินค้าอยู่ตรงไหน รับรู้ข้อมูลของตัวสินค้าการจัดจำหน่าย โดยที่สามารถรับรู้ได้โดยทันทีไม่ต้องเสียเวลากับการรอคอยหรือไปดูสินค้าจริงๆ
  • เพี่มความรวดเร็วและถูกต้องในการดำเนินงานธุรกิจเช่น มีการรับส่งสินค้ารวดเร็ว ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้เลยว่าสินค้าอยู่ตรงไหน ถึงไปยังปลายทางเมื่อไหร่ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาด้วยวิธีอื่นๆ
  • เพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการทำงานขององค์กร เช่น การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีความรวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษและการใช้อิเล็กทรอนิกส์มาจัดการกับธุรกิจทำให้การทำงานของคนในองค์กรมีความถูกต้องในการจัดการเอกสารมากยิ่งขึ้น
  • ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน อาทิเช่น กระดาษ จดหมาย เป็นต้น
  • เพิ่มช่องทางในการขยายตลาด เช่น การเปิดร้านค้าออนไลน์ ซึ่งสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถขายสินค้าได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์[แก้]

  • E-Commerce : การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • Customer Relationship Management (CRM) : เป็นกลยุทธ์ในการ จัดการการบริหาร การบริการ รวมถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร
  • Supply Chain Management (SCM) : เป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้าโดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว
  • Enterprise Resource Planning (ERP) : การวางแผนทรัพยากรและบริหารธุรกิจภาพรวมภายในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทรัพยากรที่มีในองค์กร
  • Business Intelligence (BI) : เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่จัดทำรายงานอยู่ในรูปแบบต่าง ทั้งในการ จัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูล และวิเคราะห์ ดูในหลายมุมมองของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

อ้างอิง[แก้]