ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
เกิดธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย เติบโตที่นครปฐม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพนักวิชาการ
มีชื่อเสียงจากวิจารณ์การเมือง

รองศาสตราจารย์ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2562 อดีตประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2524-2527 (สิงห์แดง 33) หลังจากนั้นศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปี 2530-2534) และปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2546-2550)|

ประวัติ[แก้]

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มีผลงานวิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญคือเรื่อง รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ซึ่งต่อมาจะจัดพิมพ์ในชื่อ 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ[1] อันสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 และการล้มลงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังเสนอให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ในช่วง 1 ปีหลังการปฏิวัติที่ดำเนินไปอย่างซับซ้อน และยังแสดงให้เห็นว่า การรัฐประหารครั้งแรกในการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ก็คือ การรัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกของไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ผลงานวิชาการต่อๆ มา ยังคงเป็นการศึกษาการเมืองไทย ที่เน้นศึกษาผ่านผู้นำทางการเมืองไทย เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร ฯลฯ ซึ่งผู้นำทหารการเมืองคนท้ายสุดนี้ ได้กลายเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในชื่อ “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2506-2516” ที่เน้นศึกษากระบวนการขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจโดยวิธีการต่างๆ และการจบจากอำนาจของผู้นำทหารคนนี้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ในฐานะศิษย์เก่าด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประจำปี 2554 (ครบรอบ 77 ปี) ผลงานของธำรงศักดิ์ยังแสดงความผูกผันทางด้านวิชาการและความทรงจำต่อธรรมศาสตร์ ผ่านงานสำคัญ คือ ธรรมศาสตร์การเมืองไทย: จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 และ ธรรมศาสตร์ Guidebook[2] ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้เข้าใจกำเนิดและพัฒนาการของธรรมศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางเท่านั้น หากยังช่วยให้เข้าใจสังคมการเมืองไทยได้อย่างกระชับอีกด้วย ทั้งยังมีบทบาทเป็นหนึ่งในคณะของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่สร้างและพัฒนา "ธรรมศาสตร์ TU Walking Tour" ให้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เรื่องราวธรรมศาสตร์กับการเมืองไทยให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผ่านวิธีการด้านการท่องเที่ยว

ในท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงต้นทศวรรษ 2550 ผลงานของธำรงศักดิ์ที่ได้ศึกษามาอย่างยาวนานราว 2 ทศวรรษ ก็ได้ช่วยกระตุ้นเตือนให้สังคมไทยพิจารณาปัญหานี้ให้ถ่องแท้รอบด้านและรอบคอบมากยิ่งขึ้น จากงานที่รวมพิมพ์เป็นเล่มในปลายปี 2552 ในชื่อ สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว[3] และหนังสือวิชาการที่ให้เห็นพัฒนาการรัฐชาติไทย เรื่อง "วาทกรรมเสียดินแดน" (2560)

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2562 (เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตร์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระได้ตามหลักเกณฑ์) อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (ระบบออนไลน์) ปี 2553

การทำงาน[แก้]

อดีตประธานหลักสูตรรัฐศาสตร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี 2554-2560

ด้านสังคมวิชาการ[แก้]

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปี 2546-2561 กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปี 2562-2563

การศึกษา[แก้]

ประสบการณ์[แก้]

การสอน[แก้]

คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต วิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ POL103 วิชาอาเซียนในยุคโลกาภิวัตน์ POL364 วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองไทย POL421 วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย POL441

หลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิชาการวิจัย วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองไทย วิชารัฐกับการพัฒนา

ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[แก้]

อาจารย์พิเศษ[แก้]

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[แก้]

  • วิชาประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทยร่วมสมัย
  • วิชาประวัติศาสตร์: การเข้าสู่รัฐประชาชาติจนถึงปัจจุบัน
  • วิชาพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมไทย (อศ.212)

โครงการอบรมมัคคุเทศก์[แก้]

  • โครงการอบรมมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2549

ผลงานวิชาการและอื่น ๆ[แก้]

งานศึกษาวิจัย[แก้]

  • “แนวความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (อนุมัติเผยแพร่ 2544)
  • ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯ: มติชน-ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, 2546. (หนังสือจากงานวิจัยข้างต้น)
  • “บทที่ 11: สมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (8 มีนาคม พ.ศ. 2512 ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516” ใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ รายงานผลการวิจัยเรื่อง “พัฒนาการระบบคณะรัฐมนตรีไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519.” เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2549 หน้า 480-544 (13 บท 595 หน้า)

หนังสือวิชาการ[แก้]

  • 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ</ref>[1] เก็บถาวร 2012-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544. (จากวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ เรื่อง “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476” ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2534) และพิมพ์ครั้งใหม่ใน ปฏิวัติ 2475 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547) (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552)
  • “ข้ออ้าง” การปฏิวัติ-รัฐประหาร-กบฏ ในการเมืองไทยปัจจุบัน: บทวิเคราะห์และเอกสาร. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550)
  • ธรรมศาสตร์การเมืองไทย : จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519. (กรุงเทพฯ : มติชน-ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, 2547)
  • สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552).

หนังสือสารคดีวิชาการ[แก้]

งานแปล[แก้]

  • ทักษ์ เฉลิมเตียรณ การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 แปลจาก Thak Chaloemtiarana. Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. ร่วมแปลกับ พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และ ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3, 2548)

ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์แล้ว[แก้]

  • “การเมืองไทยในระบบสภาผู้แทนราษฎร : การเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476.” ใน ศิลปวัฒนธรรม 9 : 8 (มิถุนายน 2531), หน้า 62-85. และ 9 : 9 (กรกฎาคม 2531), หน้า 68-76.
  • “การเรียกร้องดินแดน พ.ศ. 2483 : พิจารณาปัจจัยภายในเชิงคำอธิบาย.” ใน สมุดสังคมศาสตร์ (วารสารของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) 12 : 3-4 (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2533), หน้า 23-83.
  • “1 ปีหลังการปฏิวัติ 2475.” ใน รัฐศาสตร์สาร (วารสารคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์) 17 : 2 (2535), หน้า 1-66
  • “ประวัติจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ใน จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540, หน้า (16) - (35)
  • “เรื่องชื่อ “ประเทศไทย” : วิวัฒนาการทางการเมืองไทย.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์ ม.รังสิต) 1 : 3 (กันยายน-ธันวาคม 2543), หน้า 43-55
  • “ทองเปลว ชลภูมิ์ : ชีวิตและงาน.” ใน ปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน+1 กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ หอจดหมายเหตุ

ธรรมศาสตร์, 2544, หน้า 256-306

  • “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับการเมืองไทย.” ใน วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ (สมาคมประวัติศาสตร์) ฉบับปีที่ 23 พ.ศ. 2544, หน้า 62-117
  • “แนวความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์ ม.รังสิต) 3 : 6 (มกราคม-เมษายน 2545), หน้า 80-99
  • “10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือ วันรัฐธรรมนูญ?” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ, ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ : สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475 / สถาปนา มธก. 2477. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548), หน้า 89-113.
  • “14 ตุลา “วันประชาธิปไตย” กับปัญหาเมื่อวาระครบรอบ 30 ปี.” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 3ทศวรรษ 14 ตุลา กับประชาธิปไตยไทย. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547), หน้า 131-143.
  • “เดินประชาธิปไตย : จากหมุด 2475 ลานพระบรมรูปทรงม้า – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์.” ใน รัฐสภาสัญจร : เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547), หน้า 1-12
  • “รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสและกัมพูชา” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อรอนงค์ ทิพย์พิมล, รัชกาลที่ 5: สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2547), หน้า 433-492
  • "“จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการ ‘ส้างวัธนธัมไทยใหม่’.” ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. บรรณาธิการ.

สายธารแห่งอดีต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปรวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 265-317

เอกสารวิชาการนำเสนอในที่ประชุมสัมมนา[แก้]

  • “คดีกบฏ พ.ศ. 2482: บทสรุปของการต่อสู้ทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “50 ปี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย : ทบทวนประวัติศาสตร์คณะราษฎร” จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • “1 เมษายน 2476 : รัฐประหารครั้งแรกของไทย” การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ภาษากับประวัติศาสตร์ไทยและความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย” จัดโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ร่วมกับ สมาคมประวัติศาสตร์ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก วันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
  • "“กัมพูชาในกระแสการเปลี่ยนแปลง: การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างปี 1990-2000” ในการประชุมวิชาการอินโดจีนศึกษาครั้งที่ 1 เรื่อง “อินโดจีนในกระแสการเปลี่ยนแปลง” จัดโดย ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2544, 14 หน้า
  • “รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสและกัมพูชา” ในการสัมมนาเรื่อง “รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป” (การสัมมนาวิชากาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 150 ปี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ณ ศูนย์ประชุมมานุษยวิทยาสิรินธร จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย และศูนย์ประชุมมานุษยวิทยาสิรินธร, 34 หน้า

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชีวประวัติ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-24.
  2. จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519[ลิงก์เสีย]
  3. สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว