ธารา ศรีอนุรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธารา ศรีอนุรักษ์
เกิด11 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (48 ปี)
อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
นามปากกาธาร ธรรมโฆษณ์
อาชีพนักเขียนอิสระ
สัญชาติไทย

ธารา ศรีอนุรักษ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน) นักเขียนเรื่องสั้นชาวนครศรีธรรมราช เจ้าของนามปากกา ธาร ธรรมโฆษณ์

ประวัติ[แก้]

ธารา ศรีอนุรักษ์ เกิดในปี พ.ศ. 2518 เป็นคนตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยกำเนิด หลังจากศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดเขาน้อย​จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทพนมเชือด อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้ศึกษาทางธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอก ในสำนักเรียนวัดธรรมโฆษณ์ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจึงได้ย้ายเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร ในสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม และสอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในสำนักวัดสุทัศนเทพวรารามในปี พ.ศ. 2538

หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2539 แล้ว จึงได้เข้าศึกษาต่อใน คณะครุศาสตร์ (เอกภาษาไทย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากจบการศึกษา (พ.ศ. 2545) จึงได้ลาสิกขาบท ในปี พ.ศ. 2547 และได้ทำงานเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์​ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2550 จึงได้ลาออกมาทำงานเป็นนักเขียนอิสระจนถึงปัจจุบัน[1]


ผลงาน[แก้]

รวมบทกวี

  • พ.ศ. 2550 เหมือนหนึ่งมนุษย์มีเลือดคนละสี สำนักพิมพ์อาร์ตบุ๊ค

รวมเรื่องสั้น

  • พ.ศ. 2550 เซาธเศร้า SOUTH SAD สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน
  • พ.ศ. 2555 ผู้อยู่เหนืออาบัติ สำนักพิมพ์รักษ์
  • พ.ศ. 2557 ลายกริช สำนักพิมพ์แพรว
  • พ.ศ. 2557 หิ่งห้อยในสวนยาง สำนักพิมพ์รักษ์

วรรณกรรมเยาวชน

รางวัล[แก้]

  • พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลชมเชยสองครั้ง การประกวดบทกวีการเมืองพานแว่นฟ้า จากรัฐสภา
  • พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดรวมเรื่องสั้นหนังสือทำมือ รางวัล MBK INDY AWARDS ครั้งที่ 2
  • พ.ศ. 2548 ได้รับรับรางวัลบทกวีดีเด่น (อันดับสอง) จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ
  • พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลเรื่องสั้นรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลวิชิตโรจนประภา นิตยสารบางกอก
  • พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด จากรวมกวีนิพนธ์ ชุด เหมือนหนึ่งมนุษย์มีเลือดคนละสี
  • พ.ศ. 2552 รางวัลเรื่องสั้นชนะเลิศประจำปี 2552 จากเรื่องสั้นเรื่อง "สัตว์ดูดเลือด" สมาคมภาษาและหนังสือ
  • พ.ศ. 2557 รางวัลชนะเลิศเรื่องสั้นมติชนอวอร์ด ครั้งที่ 3 จากเรื่องสั้นเรื่อง มายาคติ
  • พ.ศ. 2558 รางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี 2559 ประเภทหนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18ปี (บันเทิงคดี) จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. จากนวนิยายเยาวชนเรื่อง ห้องเรียนไม่มีฝา
  • พ.ศ. 2559 รางวัลนักเขียน รพีพร คนที่ 5
  • พ.ศ. 2559 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ ๑๓ ประเภทวรรณกรรมเยาวชน จากเรื่อง ห้องเรียนไม่มีฝา
  • พ.ศ. 2561 รางวัลเรื่องสั้นยอดเยี่ยมสถาบันพระปกเกล้า พลเมืองกำลังไทย
  • พ.ศ. 2561 รางวัลชมเชยวรรณกรรมการเมืองพานแว่นฟ้า ประเภทเรื่องสั้น
  • พ.ศ. 2562 รางวัลชมเชย การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2562 ประเภทหนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18ปี (บทร้องกรอง) จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. จากรวมบทกวีชื่อ สัมผัสใน
  • พ.ศ. 2562 รางวัลรองชนะเลิศบทกวีการเมืองพานแว่นฟ้า รัฐสภา จากบทกวีชื่อ ทหารต่อกลอนกับนักการเมืองให้ชาวบ้านฟัง

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัตินักเขียน ธาร ธรรมโฆษณ์. เว็บไซต์กองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.

ดูเพิ่ม[แก้]